ล้วงลึกปั่นข่าวลวง ‘สงครามกลางเมือง’ ในเท็กซัส เป็นกระแสโซเชียลจีน

Loading

  ท่ามกลางความเห็นขัดแย้งระหว่างเท็กซัส กับทำเนียบขาวรุนแรงขึ้น ต่อปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดูเรื่องราวจะไปกันใหญ่ เมื่อมือดีปล่อยข่าวลวงในจีนว่า เมืองโลนสตาร์ประกาศสงครามเป็นทางการ หวังแยกตัวจากสหรัฐ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับจีน   Key Points : •  มีผู้อพยพข้ามแดนผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส •  กระแสในโซเชียลมีเดียจีน ระบุ แอบบอตต์กำลังตั้งตัวเป็นปรปักษ์ และวางแผนทำสงครามกับรัฐบาลกลางสหรัฐ •  สื่อจีนมักจะนำเสนอประเด็นความแตกแยกทางการเมืองของสหรัฐอยู่เป็นประจำ ประกอบกับโลกแบ่งขั้วกันมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำความเชื่อว่า สหรัฐจวนเจียนเกิดความแตกแยกภายในประเทศ   ตอนนี้เหตุการณ์ในเท็กซัส กำลังนำไปสู่ความแตกแยกที่ฝั่งรากลึก จนจะไปถึงจุดสร้างความไม่สงบในสังคมสหรัฐ   นับตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้อพยพข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งที่รุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส   ปฏิบัติการโลนสตาร์…

Synology แนะ 6 ยุทธวิธี เสริมความปลอดภัย ‘ข้อมูลองค์กร’

Loading

  ความปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ไม่ควรมองข้าม ด้วยจำนวนการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังมีความท้าทายในการจัดการข้อมูลข้ามเขตแดน และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์   Keypoints : •  ธุรกิจยุคใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล •  หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ อาจเผชิญข้อจำกัด บทลงโทษ หรือแม้แต่การกีดกันจากห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม •  ค่าปรับของการละเมิดแต่ละครั้งอาจสูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์   ผลการสำรวจโดย “ซินโนโลจี (Synology)” ผู้ให้บริการด้านการจัดการและปกป้องข้อมูล พบว่า บริษัทมากกว่า 80% ตระหนักถึงกฎหมายด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานการปกป้องข้อมูล แต่ยังขาดโซลูชันที่ครอบคลุมและการรักษาความปลอดภัยที่ปรับใช้ได้   โจแอน เวง ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ ซินโนโลจี เปิดมุมมองว่า ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้เร่งให้เกิดการร่างกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องจากรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก   บางประเทศผ่านกฎหมายการจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งระบุให้บริษัทต่าง ๆ ต้องมีระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีและมาตรการที่เหมาะสม หลายบริษัทต้องได้รับการรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล   ยิ่งไปกว่านั้น หากธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ พวกเขาอาจเผชิญกับข้อจำกัด…

“ปูติน” เปิดใจกับนักข่าวตะวันตกครั้งแรก นับตั้งแต่เริ่มสงครามยูเครน

Loading

  ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ให้สัมภาษณ์กับสื่อตะวันตกครั้งแรก นับตั้งแต่รุกรานยูเครนเมื่อปี 2022 โดยเปิดใจในหลาย ๆ เรื่อง   เรียกได้ว่าสร้างเสียงฮืออาไปทั่วโลกหลังมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดย ทักเกอร์ คาร์ลสัน นักข่าวชาวอเมริกัน อดีตนักข่าวของ Fox News ผู้ขึ้นชื่อเรื่องการสนับสนุนทรัมป์ และเข้าข้างรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   คลิปดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทาง tuckercarlson.com ซึ่งเว็บไซต์ที่คาร์ลสันเปิดตัวหลังถูก Fox News ปลด โดยคลิปถูกถ่ายทำในวันที่ 6 ก.พ. แต่นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อคืนวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา   AFP/Gavriil GRIGOROV/POOL วลาดิเมียร์ ปูติน ให้สัมภาษณ์ ทักเกอร์ คาร์ลสัน   นี่นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปีที่ประธานาธิบดีปูตินให้สัมภาษณืกับสื่อนอก และถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนอุบัติขึ้น โดยรัฐบาลรัสเซียให้เหตุผลว่า ที่ปูตินยอมให้คาร์ลสันสัมภาษณ์ เพราะเขา “ต่างจากสื่อตะวันตกอื่น…

อันดับโซเชียลมีเดียยอดนิยม ที่มีความ “Toxic” มากที่สุด

Loading

  7 อันดับ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีความ “Toxic” ในความคิดเห็นผู้ใช้มากที่สุด แต่จะให้เลิกเล่นก็ทำไม่ได้ เพราะมันกลืนไปกับชีวิตไปแล้ว   เรื่องการ “เสพสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม” ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ทั่วโลกให้ความสนใจกับกรณีของ “มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ซีอีโอของ Meta ที่ออกมาขอโทษต่อบรรดาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดีย   ซึ่งกรณีดั่งกล่าว ทำให้เราได้เห็นว่า ความสนุกสนานในโลกออนไลน์นั้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะในส่วนที่อยู่ลึกลงไปใต้น้ำที่เรามองไม่เห็นคือความสูญเสียและความทุกข์ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์   ทั้งนี้ ถ้าจะถามว่า โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในทางลบมากที่สุด ทาง “CyberGhost VPN” ผู้ให้บริการ “VPN” ระดับโลก ได้เผยแพร่ผลสำรวจหัวข้อดังกล่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 67 ซึ่งจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวนหนึ่ง พบว่า Facebook มีความอันตรายมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย TikTok, และ X ตามลำดับ   อันดับโซเชียลมีเดียยอดนิยม ที่มีความ “Toxic” มากที่สุด   ซึ่งเหตุที่ Facebook…

ThaID ศูนย์กลางพิสูจน์ตัวตน เชื่อมความปลอดภัยสู่ทุกแอป

Loading

  สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   เมื่อสัปดาห์ก่อนผมลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งก็คิดว่าเหมือนระบบลงทะเบียนออนไลน์อื่น ๆ ที่มักจะให้ยืนยันตัวตนโดยเพียงการกรอกอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งผมเคยตั้งข้อสงสัยว่าระบบลงทะเบียนแบบนั้นจะพิสูจน์ตัวตนได้อย่างไรว่า “บุคคลที่มาลงทะเบียนบนโลกดิจิทัลกับตัวตนบนโลกจริงคือบุคคลคนเดียวกัน” เพราะใครก็สามารถใช้ชื่อของคนอื่นมาลงทะเบียนแทนได้ เช่น การสร้างอีเมลขึ้นมา และอ้างว่าเป็นบุคคลผู้นั้น   แต่สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   หากระบบออนไลน์ใดของภาครัฐหรือภาคเอกชนมีการพัฒนาใช้แอป ThaID ในการยืนยันตัวตน ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบผ่านแอป ThaID ได้เลย โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลให้เสียเวลา ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น   กรณีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนที่ต้องการลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่า จะต้องทำการดาวน์โหลดแอป…

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาอยู่ตรงไหน

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 โดยวาระสำคัญคือการหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาที่เป็นปัญหาคาราคาซังมากว่า 50 ปี   ปมปัญหาจากข้อพิพาทนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2515 ก่อนที่ไทยจะประกาศในปี 2516 ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ขีดเส้นล้ำเข้ามาทับเส้นของอีกฝ่าย ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงส่งผลต่อสิทธิสัมปทานที่ทั้งไทยกับกัมพูชาได้ให้กับบริษัทเอกชนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้   เนื้อที่ทางทะเลที่มีข้อพิพาทนี้มีการประเมินกันว่า มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ไม่แพ้แหล่งในอ่าวไทย หากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย     ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย บทความโดย  ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …