ภาพปลอม “เทย์เลอร์ สวิฟต์” ว่อนเน็ต กระตุ้นให้สหรัฐฯ เร่งออก ก.ม.ปราบปราม Deepfake

Loading

  ภาพลามกอนาจารปลอมของนักร้องสาวชื่อดัง “เทย์เลอร์ สวิฟต์” กำลังถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ ทำให้นักร้องสาวคนนี้ตกเป็นเหยื่อคนดังรายล่าสุด และโด่งดังที่สุดของภัยพิบัติโลกไซเบอร์ ที่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีและกลุ่มต่อต้านการละเมิดต่างกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไข   ทางด้านทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ระบุว่า กรณีการเผยแพร่ภาพที่โจ่งแจ้งทางเพศที่สร้างโดย AI ล่าสุดนี้ “น่าตกใจ” อย่างมาก และยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข   ขณะเดียวกันมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่สร้างโดย AI เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนหลายพันล้านคนจะต้องลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งในปีนี้ทั่วโลก ขณะที่สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน robocall ปลอมที่อ้างว่ามาจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของ   สหรัฐฯ ได้จุดชนวนให้เกิดการสอบสวน ภาพลามกอนาจารปลอมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ถูกแชร์อย่างกว้างขวางในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ในขณะที่บริษัท X ได้ลดทีมงานตรวจสอบเนื้อหาลงอย่างมาก นับตั้งแต่นายอีลอน มัสก์ เข้ามารับตำแหน่งแพลตฟอร์มในปี 2022   กรณีที่เกิดขึ้นพบว่ากลุ่มแฟนคลับ “สวิฟตี้” ของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้ร่วมมือกันเข้ามาจัดการด้วยตนเอง โดยระดมพลอย่างรวดเร็วและเปิดฉากการตอบโต้บนแพลตฟอร์ม X ด้วยแฮชแท็ก #ProtectTaylorSwift เพื่อเติมเต็มภาพลักษณ์เชิงบวกของป๊อปสตาร์รายนี้ และช่วยกันรายงานบัญชีที่แชร์ภาพ Deepfakes…

เปิดชีวิต “แฝดลิ้นดำ” จอห์นนี่-ลูเธอร์ อดีตผู้นำกองกำลัง “ก็อดอาร์มี่”

Loading

  เปิดชีวิต “แฝดลิ้นดำ” จอห์นนี่-ลูเธอร์ อดีตผู้นำ “ก็อดอาร์มี่” กองกำลังกะเหรี่ยงต่อสู้กับรัฐบาลพม่า (เมียนมาร์) ตอนนี้อยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่   โรงพยาบาลราชบุรี   ย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีที่แล้ว วันที่ 24 ม.ค.2543 เกิดเหตุการณ์สร้างความตื่นตระหนก ให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะชาวราชบุรี   ในช่วงเช้ากองกำลังทหารกะเหรี่ยง “ก๊อดอาร์มี่” หรือ “กองกำลังพระเจ้า” ที่มีผู้นำคือ “แฝดลิ้นดำ” จอห์นนี่ และ ลูเธอร์ ที่มีอายุเพียง 10 ขวบ ส่ง นายเบดาห์ หรือ ปรีดา พร้อมกองกำลัง 10 คน อาวุธครบมือ บุกยึด โรงพยาบาลราชบุรี ที่มีผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่นับพันคน เบื้องต้นได้ยื่น 2 ข้อเรียกร้อง คือ   ขอแพทย์และพยาบาลไปรักษาชาวกะเหรี่ยง…

‘ความปลอดภัยทางไซเบอร์’ ปมท้าทายผู้นำโลกปี 2024

Loading

  การประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) 2024 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค.นี้ ประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถในการรับมือ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อดำรงภาวะที่เป็นปกติ เป็นหนึ่งในประเด็นหารือที่สำคัญในการประชุม   รายงานว่าด้วยเรื่อง แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2024 (Global Cybersecurity Outlook 2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การประชุม WEF 2024 ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ ที่บรรดาผู้นำโลกต้องเผชิญ ท่ามกลางความพยายามในการเตรียมตัวหาแนวทางป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความทนทานต่อการบุกรุกและการโจมตีระบบ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ หรือที่เรียกโดยรวมว่า Cyber Resilience   ความท้าทายที่กล่าวมานี้ จะมาในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ไปจนถึงการมีบทบาทมากขึ้นของ Generative AI ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์สุดอัจฉริยะที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ จากผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เคยทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และอื่น ๆ แต่ความฉลาดของ Generative AI…

นักวิเคราะห์ห่วง ‘ดีพเฟค’ สื่อลวงลึก อาวุธร้ายทำลายงานข่าวสาร

Loading

แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP)   การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์   การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้   การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา   ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน   พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…

ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…