ลดความขัดแย้งคนกับช้าง ด้วยระบบ AI เตือนภัยล่วงหน้า

Loading

  ทรูคอร์ปอเรชั่น ชวนตระหนักปัญหาความขัดแย้ง “คนกับช้าง” ใช้เทคโนโลยี AI เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้าลดการสูญเสียของคนและช้างป่า   “ช้าง” สัตว์ประจำชาติไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงจากการนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่อาศัยและทำการเกษตรของคนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อพื้นที่ป่าลดลงแหล่งหากินของช้างก็ลดตาม ทำให้ช้างป่าบุกรุกสู่พื้นที่ของชุมชนทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน   ส่งผลให้มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หรือ Human-Elephant Conflict (HEC) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของทั่วโลกที่มีช้างป่า รายงานจากบีบีซีพบว่า ช้างทำให้มนุษย์เสียชีวิต 600 คนต่อปี และถือเป็นสัตว์อันตรายที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดอันดับ 8 ของโลก   อย่างไรก็ตาม วันที่ 13 มี.ค. ของทุกปี เป็น “วันช้างไทย” ทาง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี นำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G, 4G และ AI เป็นเครื่องมือช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง   ผ่านโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Elephant Smart Early Warning System)…

สหรัฐฯ กังวลเรื่องอะไร เหตุใดจึงจะออกกฎหมายแบน “ติ๊กตอก”

Loading

    แอปพลิเคชันเล่นคลิปวิดีโอ “ติ๊กตอก” (TikTok) ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ทั่วโลก แต่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชันนี้ต้องเผชิญกับกระแสความระแวงสงสัย อันเนื่องมาจากบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของกิจการมีสัญชาติจีน ทำให้เกิดความกังวลต่อประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน รวมทั้งสายสัมพันธ์ที่ติ๊กตอกอาจมีกับรัฐบาลจีนด้วย   ขณะนี้บรรดานักการเมืองชาวอเมริกัน กำลังอภิปรายร่างกฎหมาย ที่จะบังคับให้บริษัทแม่ของติ๊กตอกต้องขายกิจการแอปพลิเคชันดังกล่าวให้กับสหรัฐฯ มิฉะนั้นอาจต้องถูกแบนไม่ให้มีการใช้งานในสหรัฐฯ ได้ต่อไป แต่ล่าสุดอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว แม้จะเคยสนับสนุนให้แบนการใช้งานติ๊กตอกมาก่อนก็ตาม “ติ๊กตอก” ได้รับความนิยมแค่ไหน ติ๊กตอกเป็นแอปพลิเคชันเล่นคลิปวิดีโอขนาดสั้น มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับยูทิวบ์ (YouTube) คือเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาโพสต์หรือลงเผยแพร่คลิปวิดีโอ รวมทั้งแชร์และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอนั้นได้   คลิปวิดีโอขนาดสั้นในติ๊กตอกมีความยาวตั้งแต่ 3 วินาที ไปจนถึง 3 นาที ผู้ใช้งานสามารถตัดต่อคลิปวิดีโอบนติ๊กตอกได้อย่างง่ายดาย โดยใช้งานตัวกรองหรือฟิลเตอร์ รวมทั้งแปะสติ๊กเกอร์ เพิ่มดนตรีประกอบ และใส่เอฟเฟกต์ที่เป็นเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ลงไปได้   ในตอนแรกที่ติ๊กตอกเริ่มโด่งดังขึ้นมา แอปพลิเคชันนี้มีชื่อเสียงในฐานะแหล่งรวมคนหนุ่มสาว ที่พากันรวมกลุ่มมาแสดงความสามารถด้านการเต้น บ้างก็ขับร้องหรือไม่ก็ลิปซิงก์ตามบทเพลงที่กำลังฮิต รวมทั้งทำกิจกรรมตามคำท้าทายหรือแชลเลนจ์ต่าง ๆ     นอกจากนี้ ผู้ใช้งานติ๊กตอกที่มีอายุถึงเกณฑ์และอยู่ในภูมิภาคที่ได้รับอนุญาต สามารถจะสตรีมวิดีโอของตนในรูปแบบไลฟ์สดไปยังผู้ติดตามจำนวนมากได้ ซึ่งผู้ชมเหล่านี้สามารถจะสมัครเป็นสมาชิกของช่องติ๊กตอกดังกล่าว…

เปิดสถิติป่วนใต้ 1 เดือน ก่อนนับ 1 รอมฎอนสันติสุข

Loading

“ทีมข่าวอิศรา” สรุปสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบ ที่สรุปเบื้องต้นแล้วว่าเป็นเหตุความมั่นคง ในห้วงเวลา 1 เดือนก่อนเข้าสู่เดือนรอมฎอน

โครงการ ” แมวสายลับ ” ของ CIA ที่จบลงด้วย “ความตาย”

Loading

สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ ทุ่มเงินกว่า 20 ล้านดอลลาร์ (ค่าเงินในขณะนั้น) เพื่อฝึก แมวสายลับ ที่พร้อมออกไปสอดแนมข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ทว่าสุดท้ายแล้ว สายลับสัตว์ที่ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จและนำข้อมูลสำคัญจากกองทัพนาซีกลับมาได้กลับไม่ใช่แมว แต่เป็นนกพิราบ

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร ไทยเตรียมใช้งานจริงภายในปี 2567

Loading

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร จากที่เมื่อปี 2566 เกิดเหตุการณ์กราดยิงพารากอนของเด็กวัย 14 ปี และยังมีเหตุอันตรายอย่างต่อเนื่อง จนเรียกร้องให้มีบริการ เตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือเหมือนที่ญี่ปุ่น เกาหลี หรือประเทศอื่นๆมี ล่าสุด กสทช. เผยระบบ Cell Broadcast Service ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ ของไทยเผยโฉมออกมาแล้ว โชว์สาธิตทดสอบการแจ้งเตือนในไทยในวันนี้ โดย กสทช. ร่วมกับ AIS สาธิตการทดสอบระบบในครั้งนี้เพื่อให้เห็นว่าระบบ Cell Broadcast Service ของไทย ทำงานอย่างไร

วิธีป้องกันการแฮ็กบัตร ATM พร้อมวิธีสังเกตข่าวปลอม

Loading

วิธีป้องกันการแฮ็กบัตร ATM แม้ว่าจะมีการกดถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรแล้ว แต่หลายท่านอาจมีบัตรเดบิตไว้สำหรับแตะรถไฟฟ้า ขึ้นรถเมล์ หรือชำระสินค้าออนไลน์อยู่ ในบางครั้งก็ใช้บัตรนี้ถอนเงินสดได้เช่นกัน และยังมีอยู่เกี่ยวกับการขโมยข้อมูลด้วยการ skimming หรือการดักข้อมูล และดักรหัสบัตร โดยนำเครื่องอ่านบัตรปลอมประกบทับกับอุปกรณ์ของจริงบนตัวเครื่อง