‘Deepfakes’ หลอกพนักงานบัญชีโอนเงิน ’25 ล้านดอลล์’ ให้นักต้มตุ๋น
การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่า 30% ของบริษัทต่างๆ จะสูญเสียความเชื่อมั่นในโซลูชันการตรวจสอบสิทธิ์ไบโอเมตริกซ์ใบหน้าภายในปี 2026 เนื่องจากการโจมตีแบบ Deepfake
การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่า 30% ของบริษัทต่างๆ จะสูญเสียความเชื่อมั่นในโซลูชันการตรวจสอบสิทธิ์ไบโอเมตริกซ์ใบหน้าภายในปี 2026 เนื่องจากการโจมตีแบบ Deepfake
สัญญาณบอกเหตุว่ากองทัพพม่ากำลังอ่อนแอลงอย่างสุดขีด และความพยายามรักษาอำนาจหลังรัฐประหารปี 2021 มาถึงทางตันแล้ว คือการประกาศแผนการบังคับเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 18-35 ปี สำหรับผู้ชาย และ 18-27 ปี สำหรับผู้หญิง การประกาศในลักษณะนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก เพราะรัฐบาลทหารในยุคก่อนหน้านี้เคยออกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารในช่วงบ้านเมืองเจอศึกสงครามและทหารขาดแคลน แต่การต่อสู้ของ SAC หรือคณะรัฐประหารพม่าในครั้งนี้ไม่ใช่ “สงคราม” เพื่อปกป้อง “ชาติ” หากแต่เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าอื่นใด
สถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (The International Institute for Strategic Studies : IISS) ในอังกฤษออกมาเตือนว่า โลกที่กำลังเผชิญกับความขัดแย้งที่กระจายไปทั่ว แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเผชิญกับทศวรรษอันตราย
มีรายงานพบการรั่วไหลของก๊าซมีเทนในปริมาณมากถึง 127,000 ตัน ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังเกิดการระเบิดที่หลุมสำรวจก๊าซแห่งหนึ่งในคาซัคสถาน ซึ่งทำให้เพลิงลุกไหม้เป็นเวลายาวนานกว่า 6 เดือน “ขนาดและระยะเวลาของการรั่วไหลนั้นไม่ธรรมดา” มันเฟรดี คัลตาจิโรเน หัวหน้าหอสังเกตการณ์การปล่อยก๊าซมีเทนระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ กล่าว “มันใหญ่มาก” การรั่วไหลเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2023 เมื่อเกิดการระเบิดระหว่างการขุดเจาะที่หลุมสำรวจแห่งหนึ่งในแคว้นมังกิสตาอู (Mangistau) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาซัคสถาน ทำให้เกิดเพลิงไหม้ต่อเนื่องยาวนานไปจนถึงสิ้นปี รายงานระบุว่า มีความพยายามควบคุมเพลิงอย่างต่อเนื่อง แต่สามารถควบคุมได้เพียงวันเดียวคือในวันที่ 25 ธันวาคม 2023 และขณะนี้ทางการท้องถิ่นอยู่ระหว่างดำเนินการปิดผนึกหลุมด้วยปูน ตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร ก่อผลกระทบต่อโลกแค่ไหน เทียบเท่ารถ 7 แสนคันปล่อยควันเสียรวมกัน 1 ปี มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการคำนวณหาค่าเทียบเท่าก๊าซเรือนกระจกโดย Greenhouse Gas Equivalency Calculator ขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ พบว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการรั่วไหลของก๊าซมีเทนครั้งนี้เทียบได้กับการขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า 717,000 คันใน 1…
พาวเวอร์แบงก์ หรือ แบตเตอรี่สำรอง กลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคเทคโนโลยี ยิ่งถ้าต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ยิ่งจำเป็นต้องรู้เลยว่า “พกขึ้นเครื่องเท่านั้น” ห้ามโหลดลงใต้เครื่องเด็ดขาด แต่จะพกได้มากน้อยกี่อัน ต้องเป็นไปตามกฎมาตรฐานความปลอดภัยที่ กพท. กำหนด พาวเวอร์แบงก์ หรือ แบตเตอรี่สำรอง กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเดินทางในยุคเทคโนโลยีขณะนี้แล้ว ถือเป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้ผู้เดินทางบ่อยๆ สะดวกสบายมากขึ้น แต่หากการเดินทางนั้น ต้องโดยสารด้วยเครื่องบิน การพกพาวเวอร์แบงก์ก็จะมีข้อบังคับใช้เข้ามากำกับเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อบังคับนี้เป็นไปตามกฎมาตรฐานความปลอดภัยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “พาวเวอร์แบงก์ต้องพกติดตัวขึ้นเครื่องเท่านั้น ห้ามใส่กระเป๋าโหลดใต้เครื่องเด็ดขาด” ไม่มีคนดับไฟในห้องเก็บกระเป๋า เหตุผลสำคัญที่ไม่ให้นำพาวเวอร์แบงก์ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โหลดไปกับกระเป๋าใต้เครื่อง เพราะแบตเตอรี่ที่อยู่ในนั้น หากเกิดการระเบิดหรือไหม้ ขึ้นมา “จะไม่สามารถดับไฟได้” เพราะห้องเก็บกระเป๋าใต้เครื่องบินไม่มีผู้โดยสารอยู่รวมถึงไม่มีการปรับความดันอากาศในนั้น แล้วใครจะมาดับไฟให้ได้ล่ะ ? แต่สำหรับกรณีที่ขนส่งสัตว์ เช่น สุนัข แมว จะถูกเก็บไว้ในห้องที่สามารปรับความดันอากาศได้ น้องหมาน้องแมวก็จะยังสามารถหายใจได้ตามปกติเหมือนในห้องโดยสารของผู้โดยสารด้านบน พกได้กี่เครื่องต้องดูที่ปริมาตรความจุ พาวเวอร์แบงก์ที่สามารถใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องบินได้ ต้องมีขนาดความจุไฟฟ้าไม่เกิน 32,000 mAh…
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2023 ของไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เกือบ 13 ล้านรายการ ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 12,923,280 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าปีที่แล้ว 25.28% (17,295,702 รายการ) การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (ไดรฟ์บายดาวน์โหลด) รวมถึงวิศวกรรมสังคม เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการเจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตีแบบออฟไลน์จำนวน 22,268,850 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว 4.36% (22,268,850 รายการ) โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความถี่ที่ผู้ใช้ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ USB แบบถอดได้ ซีดี…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว