อันดับโซเชียลมีเดียยอดนิยม ที่มีความ “Toxic” มากที่สุด

Loading

  7 อันดับ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีความ “Toxic” ในความคิดเห็นผู้ใช้มากที่สุด แต่จะให้เลิกเล่นก็ทำไม่ได้ เพราะมันกลืนไปกับชีวิตไปแล้ว   เรื่องการ “เสพสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม” ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ทั่วโลกให้ความสนใจกับกรณีของ “มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ซีอีโอของ Meta ที่ออกมาขอโทษต่อบรรดาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดีย   ซึ่งกรณีดั่งกล่าว ทำให้เราได้เห็นว่า ความสนุกสนานในโลกออนไลน์นั้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะในส่วนที่อยู่ลึกลงไปใต้น้ำที่เรามองไม่เห็นคือความสูญเสียและความทุกข์ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์   ทั้งนี้ ถ้าจะถามว่า โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในทางลบมากที่สุด ทาง “CyberGhost VPN” ผู้ให้บริการ “VPN” ระดับโลก ได้เผยแพร่ผลสำรวจหัวข้อดังกล่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 67 ซึ่งจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวนหนึ่ง พบว่า Facebook มีความอันตรายมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย TikTok, และ X ตามลำดับ   อันดับโซเชียลมีเดียยอดนิยม ที่มีความ “Toxic” มากที่สุด   ซึ่งเหตุที่ Facebook…

ThaID ศูนย์กลางพิสูจน์ตัวตน เชื่อมความปลอดภัยสู่ทุกแอป

Loading

  สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   เมื่อสัปดาห์ก่อนผมลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งก็คิดว่าเหมือนระบบลงทะเบียนออนไลน์อื่น ๆ ที่มักจะให้ยืนยันตัวตนโดยเพียงการกรอกอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งผมเคยตั้งข้อสงสัยว่าระบบลงทะเบียนแบบนั้นจะพิสูจน์ตัวตนได้อย่างไรว่า “บุคคลที่มาลงทะเบียนบนโลกดิจิทัลกับตัวตนบนโลกจริงคือบุคคลคนเดียวกัน” เพราะใครก็สามารถใช้ชื่อของคนอื่นมาลงทะเบียนแทนได้ เช่น การสร้างอีเมลขึ้นมา และอ้างว่าเป็นบุคคลผู้นั้น   แต่สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   หากระบบออนไลน์ใดของภาครัฐหรือภาคเอกชนมีการพัฒนาใช้แอป ThaID ในการยืนยันตัวตน ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบผ่านแอป ThaID ได้เลย โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลให้เสียเวลา ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น   กรณีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนที่ต้องการลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่า จะต้องทำการดาวน์โหลดแอป…

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาอยู่ตรงไหน

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 โดยวาระสำคัญคือการหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาที่เป็นปัญหาคาราคาซังมากว่า 50 ปี   ปมปัญหาจากข้อพิพาทนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2515 ก่อนที่ไทยจะประกาศในปี 2516 ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ขีดเส้นล้ำเข้ามาทับเส้นของอีกฝ่าย ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงส่งผลต่อสิทธิสัมปทานที่ทั้งไทยกับกัมพูชาได้ให้กับบริษัทเอกชนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้   เนื้อที่ทางทะเลที่มีข้อพิพาทนี้มีการประเมินกันว่า มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ไม่แพ้แหล่งในอ่าวไทย หากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย     ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย บทความโดย  ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

เปิดโปรไฟล์ ฮุน มาเนต ก่อนเยือนไทย คุยประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เตรียมเดินทางเยือนไทยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 เพื่อหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดน รวมถึงวาระสำคัญอย่างเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทกันมายาวนานกว่า 50 ปี   THE STANDARD พาไปทำความรู้จักกับผู้นำคนล่าสุดของกัมพูชา บุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน กันให้มากขึ้น   หนุ่มนักเรียนนอก ฮุน มาเนต เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1977 เป็นบุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน อดีตผู้นำกัมพูชาที่ปกครองประเทศมาเกือบ 40 ปี   ฮุน เซน ปูเส้นทางชีวิตให้ ฮุน มาเนต มาอย่างดี เขามีประวัติทั้งด้านการศึกษาและเส้นทางอาชีพที่เพียบพร้อมตั้งแต่วัยเยาว์จนเติบใหญ่ ชายผู้นี้เติบโตและได้รับการศึกษาในกรุงพนมเปญ ก่อนเข้ารับราชการในกองทัพกัมพูชาในปี 1995 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเขาได้เข้าโรงเรียนทหารสหรัฐอเมริกาที่เวสต์พอยต์ และเป็นชาวกัมพูชาคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้   ส่วนทางด้านวิชาการ ฮุน มาเนต จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก…

จีนเกี่ยวอะไร? ทำไมยูเครนต้องเหมารวม

Loading

  ปักกิ่งส่งเสียงโวยวายไปยังยูเครนเรื่องบัญชีผู้สนับสนุนสงคราม ส่วนซาอุดีอาระเบียย้ำหลายครั้งถึงสถานะตนเองใน BRICS ด้านผู้บริหาร IMF ให้ความเห็นเรื่องลดอัตราดอกเบี้ย   ปักกิ่งจี้ยูเครนถอน บ.จีนพ้นลิสต์หนุนสงคราม   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวกับรอยเตอร์ เมื่อวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) จีนไม่เห็นด้วยกับการที่ยูเครนรวมรายชื่อบริษัทจีนเข้าไว้ในบัญชี “ต่างชาติผู้สนับสนุนสงคราม” ขอให้ยูเครนแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ทันทีและขจัดผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้น โดยไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นผลกระทบใด   ความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังรอยเตอร์รายงานว่า เดือนก่อนเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงเคียฟได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลยูเครนว่า การรวมบริษัทจีนเข้าไว้ในลิสต์ดังกล่าวอาจทำลายความสัมพันธ์ทวิภาคี   ซาอุดีอาระเบียย้ำยังไม่เป็นสมาชิก BRICS   แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ซาอุดีอาระเบียรายหนึ่งเผยกับรอยเตอร์ว่า ซาอุดีอาระเบียยังคงไม่ได้ตอบรับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ตามที่ได้รับเชิญมาเมื่อปีก่อน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา   ความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายนาเลดี แพนดอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอฟริกาใต้ กล่าวเมื่อวันพุธ (31 ม.ค.) ว่า ซาอุดีฯ เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว   IMF แนะธนาคารกลางไม่ควรลดดอกเบี้ยเร็วเกินไป   นางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (1 ก.พ.) ตามเวลาสหรัฐ เศรษฐกิจโลกจะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นถ้าธนาคารกลางเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปเมื่อเทียบกับการลดดอกเบี้ยช้าไป…

ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…