การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

ดักทางโจร ฟีเจอร์ใหม่ Android ล็อคตัวเครื่องเมื่อถูกขโมย

Loading

    [เหลือเครื่องเปล่า] สิ่งสำคัญนอกจากตัวสมาร์ทโฟนเองแล้ว ก็ไม่พ้น ‘ข้อมูล’ และรวมไปถึงรหัสบัญชีต่าง ๆ ที่อาจมีค่ายิ่งกว่าซะอีก หากวันหนึ่งพลาดทำเครื่องหายหรือถูกขโมยขึ้นมา ความเสียหายคงไม่จบแค่ค่าตัวเครื่องแน่ ล่าสุดมีข่าวดีสำหรับผู้ใช้ Android หลัง Google เตรียมอัปเดตช่วยป้องกันการโจรกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะ   Google เปิดตัว 3 ฟีเจอร์ใหม่อย่าง Theft Detection Lock ใช้ AI ช่วยตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของสมาร์ทโฟน เช่น หากพบว่าตัวเครื่องถูกกระชากออกอย่างแรง หรือโดนคว้าตัวเครื่องออกจากมือด้วยกำลัง ตัวระบบจะทำการล็อกอุปกรณ์โดยอัตโนมัติทันที   ถัดมาคือ Offline Device Lock ล็อกหน้าจอโดยอัตโนมัติ หากพบว่าหัวขโมยตัดการเชื่อมต่อเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกใช้ Find My Device ของผู้เสียหายนั้นเอง   สุดท้าย Remote Lock ช่วยล็อกตัวเครื่องทันทีด้วยมือ โดยขอแค่มีหมายเลขโทรศัพท์ และตอบคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย ก็สั่งล็อกหน้าจอจากระยะไกลได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเข้าบัญชี Google เหมือนก่อนแล้ว  …

“ประชาธิปไตยแบบจีน” แตกต่างจาก “ประชาธิปไตยตะวันตก” อย่างไร

Loading

CGTN : จีนเดินบนเส้นทางของตัวเองนับตั้งแต่สถาปนาประเทศเมื่อปี 1949 และประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง แต่ชาติตะวันตกยังขาดความเข้าใจกับเอกลักษณ์ของจีน และใช้มุมมองของอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบตะวันตก โดยไม่เคารพสิทธิของจีนในการเลือกรูปแบบการปกครองของตนเอง

สังคมโลก : ความสมดุล

Loading

    นายหวัง กุงวู นักประวัติศาสตร์ชื่อดังชาวสิงคโปร์ สังเกตเห็นว่า จีนเป็นมหาอำนาจทางบกมาโดยตลอด ซึ่งสงครามฝิ่นในปี 2382 เน้นย้ำถึงจุดอ่อนด้านการรุกรานทางทะเลของจีน ส่งผลให้รัฐบาลปักกิ่ง ให้ความสำคัญกับการสร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง จนปัจจุบัน จีนกลายเป็นประเทศที่มีกองเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   ตรงกันข้าม สิงคโปร์เป็นประเทศทางทะเลมาอย่างยาวนาน โดยพัฒนาจากท่าเรือการค้าในภูมิภาค เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1400 เป็นฐานทัพเรือสำคัญของสหราชอาณาจักร ซึ่งทรัพยากรที่มีจำกัด และจำนวนประชากรน้อย การอยู่รอดของสิงคโปร์จึงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของกองทัพเรือ และตอนนี้ สิงคโปร์มีกองทัพเรือที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   จีนและสิงคโปร์ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของอำนาจกองทัพเรือ ที่มีต่อความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา กองทัพเรือสิงคโปร์ (อาร์เอสเอ็น) และกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอเอ็น) จัดการฝึกความร่วมมือทางทะเลครั้งที่สาม และครั้งใหญ่ที่สุด โดยกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ ระบุว่า การฝึกซ้อมครั้งนี้มีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศระดับทวิภาคี และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด   การฝึกซ้อมดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น จากข้อพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้ และความกังวลของสิงคโปร์ เกี่ยวกับเสรีภาพในการเดินเรือ ส่งผลให้เกิดคำถามว่า ทำไมสิงคโปร์ยังคงเข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลกับจีน และอะไรคือแรงจูงใจที่ทำให้จีนเข้าร่วมการฝึกซ้อมเหล่านี้   สำหรับสิงคโปร์ การเข้าร่วมการฝึกซ้อม…

ปัญญาประดิษฐ์ AI กับสิ่งที่คนไทยต้องรับมือ

Loading

ในที่สุด iPhone 16 ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ถึงแม้จะมีกระแสต่อต้าน Apple จากคนไทยเมื่อช่วงเดือนที่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เกินแก้ของ Apple เพราะการใส่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) เข้าไปทั้งใน Siri เวอร์ชั่นใหม่ ที่ฉลาดกว่าเดิม

1 ปี สงครามกาซา (ตอนที่ 1): สงครามที่ไม่จบของอิสราเอล

Loading

    “We are at war.” คำประกาศของ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023   เช้าวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2023 เวลา 06.30 น. โดยประมาณ เกิดเหตุโจมตีอิสราเอลโดยกลุ่มฮามาส (Hamas) อย่างไม่คาดคิด   กลุ่มฮามาสเรียกปฏิบัติการนี้ว่า ‘The Operation Al-Aqsa Flood’ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวอิสราเอลอย่างมาก โดยฮามาสเปิดปฏิบัติการด้วยการยิงจรวดประมาณ 5,000 นัดอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาราว 20 นาที และตามมาด้วยการส่งกำลังพลของฮามาสประมาณ 3,000 คน ข้ามพรมแดนเข้ามา เพื่อเปิดการโจมตีขนาดใหญ่ต่อพื้นที่ตอนในของอิสราเอลอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน   สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นต้องถือเป็น ‘ปฏิบัติการเขย่าขวัญ’ สำหรับชาวยิวเป็นจำนวนมาก หรือโดยเปรียบเทียบแล้ว การโจมตีครั้งนี้เป็นเสมือนกับ ‘9/11 ของอิสราเอล’ เช่นที่สหรัฐอเมริกาเคยต้องประสบกับการโจมตีอย่างที่คาดไม่ถึงมาแล้วในวันที่ 11 กันยายน…