บริการดิจิทัลหลังความตาย

Loading

  ทุกวันนี้จะทำอะไรก็ผูกติดอยู่กับบริการดิจิทัล แม้แต่จะใช้จ่ายแล้วท่านเมตตาให้ไปขอลดหย่อนภาษีเงินได้ ก็ยังต้องอาศัยบริการดิจิทัลออกใบรับเงินให้อีก สารพัดบริการดิจิทัลเหล่านี้น่าจะยุติลงเมื่อคนนั้นละสังขารไปสู่สุขคติ   แต่ในโลกยุค Genrative AI มีบางคนคิดถึงธุรกิจการให้บริการดิจิทัลหลังความตาย ตามไปขายบริการกันแม้ว่าตัวตนของคนนั้นในโลกนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่ตัวตนดิจิทัลจะอยู่ต่อไปเป็นอมตะ ชิวิตดิจิทัลที่เป็นอมตะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์กันมานานหลายปี   ใคร ๆ ก็สามารถพูดคุยกับคนที่เสียชีวิตแล้วได้ ผ่านจอภาพสามมิติ วันนี้มีนับร้อยบริษัททั่วโลกที่พยายามจะสร้างบริการดิจิทัลทำนองนี้ขึ้นมา ตอนที่คนนั้นยังมีชีวิตก็ขายบริการสะสมข้อมูลเก็บไว้ พอเสียชีวิตไปแล้วก็ขายบริการให้ลูกหลานญาติมิตรได้มีโอกาสพูดคุยกับคนนั้นในภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจ ไม่ใช่ภาพลักษณ์ตอนที่เจ็บป่วยทรุดโทรม   พูดคุยกันได้ตราบเท่าที่ยังจ่ายค่าบริการ ซึ่งอาจกลายเป็นการสร้างรายได้จากข้อมูลเดิมขยายออกไปได้อีกเป็นปีหลังจากที่เจ้าของข้อมูลนั้นไปสู่สุขคติแล้ว ขายบริการดิจิทัลกันตั้งแต่ยังไม่เกิดจนกระทั่งอีกนับปีหลังจากที่จากโลกนี้ไปแล้ว   ที่ดูเป็นธุรกิจน้อยหน่อย เป็นบริการจากโครงการวิจัยที่พยายามหาหนทางสะสมความเป็นตัวตนของคนเอาไว้ให้ใกล้เคียงกับคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นมากที่สุด   ถ้าเป็นข้อมูลทางกายภาพ ก็ไล่สะสมตั้งแต่ ดีเอ็นเอ ตามมาด้วยอีกสารพัดข้อมูลทางชีวภาพเกี่ยวกับคนนั้น สูงเท่าใด หนักเท่าใด ข้อมูลสุขภาพเป็นอย่างไร หน้าตาและรูปร่างเป็นอย่างไร ท่าเดินท่านั่งท่ายืนเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร   ซึ่งโครงการวิจัยนี้พยายามหาคำตอบว่าเก็บอะไรบ้าง เก็บมากแค่ไหน ถึงจะเพียงพอที่จะมีข้อมูลที่วันหน้าเมื่อเทคโนโลยีมีความพร้อม จะสังเคราะห์ตัวตนดิจิทัลที่มีกายภาพใกล้เคียงกับเจ้าของข้อมูลมากที่สุด แต่ที่ยุ่งยากกว่ามากคือจะต้องบันทึกข้อมูลใดไว้บ้างเพื่อที่จะเพียงพอสำหรับการสังเคราะห์ความนึกคิด จิตใจที่ใกล้เคียงกับคนนั้นขึ้นมาได้   ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เอไอมาช่วยงานนี้แน่ ๆ และเอไอจะเก่งขึ้นเมื่อได้รับการฝึกฝนจากข้อมูลจำนวนมากขึ้น หลากหลายยิ่งขึ้น เลยกลายเป็นบริการสะสมข้อมูลกายภาพ และข้อมูลจิตใจ ให้กับคนที่สนใจอยากมีตัวตนดิจิทัลที่เป็นอมตะ…

‘ทรู’ นำทัพ ‘รัฐ-เอกชน’ ถกประเด็นใหญ่ ‘AI’ จริยธรรม และ ‘การกำกับดูแล’

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่”   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่” ไม่ว่าประเด็นด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทักษะ และช่องว่างในขีดความสามารถทางการแข่งขัน   และเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา AI ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้จัดงานสัมมนา AI Gets Good โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้มั่นใจว่า AI จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย?”     กำกับดูแล = อุปสรรคหรือส่งเสริม?…

กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…

เปิดแผนลอบสังหาร “รัสปูติน” จอมตัณหา ผู้นำความเสื่อมทรามสู่รัสเซีย

Loading

กริกอรี รัสปูติน ตำนานผู้ฉาวโฉ่ แห่งรัสเซีย (ภาพจาก AFP PHOTO / HO)   วันที่ 30 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 107 ปี การจากไปของ กริกอรี รัสปูติน (Grigory Rasputin) ผู้วิเศษแห่งราชสำนักโรมานอฟ เนื่องจากเขาเสียชีวิตจากการลอบสังหารในวันที่ 30 ธันวาคม 1916 แต่บางตำราอาจจะระบุว่าเป็นวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งนั่นเป็นเพราะสมัยนู่นที่รัสเซียเขายังใช้ปฏิทินแบบจูเลียนอยู่ หลังการปฏิวัติจึงเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินเกรกอเรียนเหมือนชาวบ้านเขา   ที่บอกว่า รัสปูติน เป็นจอมตัณหา ผู้เขียนไม่ได้แต่งขึ้นเอง แต่คำว่า “รัสปูติน” ในภาษารัสเซียแปลได้ว่า “จอมตัณหา” ซึ่งเขาได้ฉายานี้มาตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ชื่อเดิมเต็มๆ ของเขาจริง ๆ แล้วคือ “Grigory Yefimovich Novykh” แต่พฤติกรรมอันลือชื่อของเขาได้กลายมาเป็นนามสกุลของเขาเองในภายหลัง   ตอนเขาอายุได้ 18 ปี…

‘สกมช.’ ร่ายแผนงานปี‘67 ปั้นนักรบไซเบอร์เพิ่มหมื่นราย

Loading

  แก้ปัญหาขาดแคลนบุลคากร จับมือกับสถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรติวเข้ม พร้อมประสาน กระทรวงแรงงานเปิดรับคนที่จบแล้วยังว่างงานมาอัพสกิล ตั้งเป้าสร้างนักรบไซเบอร์อีกหมื่นคนในปี 2567 นี้   พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 นี้ สกมช.มีแผนพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ จำนวน 1 หมื่นคน ให้เป็นนักรบไซเบอร์ช่วยงานของภาครัฐ โดยจะร่วมกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากกว่า 20 แห่ง เปิดหลักสูตรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับนักศึกษาเข้ามาเรียนในสถาบันต่าง ๆ โดยในปีนี้ จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกทั้งของรัฐและเอกชน นอกจากนี้จะมีการร่วมมือกับ กระทรวงแรงงาน และบริษัทด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ สนับสนุนให้กลุ่มคนว่างงาน นักศึกษาจบใหม่ในสาขาต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มทักษะ (อัพสกิล) และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิต ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เพื่อเข้ามาทำงานด้านนี้ ซึ่งกำลังขาดแคลนจำนวนมาก   “ไทยยังขาดแคลนคนที่มีความรู้ด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ จำนวนมาก โดยเฉพาะในองค์กรของรัฐ…

จากประเทศสงบสุข สู่ประเทศอันตราย เอกวาดอร์มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

Loading

  “มันวุ่นวายมากอย่างที่คุณคงนึกภาพออก มองไปทางไหนก็มีแต่ความสิ้นหวัง ตั้งแต่อันธพาลคนนี้หายตัวไป ทุกคนก็หวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา” แคโรไลนา วาเลนเซีย ซึ่งเดินทางจากนิวยอร์กมาเยี่ยมครอบครัวที่เมืองกวายากิล เล่าด้วยความสิ้นหวัง   เอกวาดอร์ ประเทศเล็ก ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังเกิดเหตุหัวหน้าแก๊งค้ายาเสพติดแหกคุก กลุ่มติดอาวุธสวมหน้ากากคลุมหน้าบุกยึดสถานีโทรทัศน์ พร้อมจับผู้ประกาศข่าวและเจ้าหน้าที่สถานีเป็นตัวประกันขณะกำลังออกอากาศสด นักโทษลุกฮือจับเจ้าหน้าที่เรือนจำมากกว่า 100 คนเป็นตัวประกัน   นอกจากนั้นยังมีรายงานการระเบิด การเผายานพาหนะ การปล้นสะดม และมีเสียงปืนดังในหลายเมืองทั่วประเทศ ร้านค้า โรงเรียน สถานที่ทางการ และอาคารต่าง ๆ ต้องปิดทำการ เหล่าคนทำงานต้องเร่งรีบเดินทางกลับบ้าน ทำให้การจราจรบนถนนในกรุงกีโต เมืองหลวง และในกวายากิล เมืองใหญ่ที่สุดของเอกวาดอร์นั้นติดขัดอย่างมาก   ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี เอกวาดอร์ยังเป็นประเทศหนึ่งที่ผู้สูงอายุในสหรัฐฯ หวังที่จะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้เงินบำนาญหลังเกษียณอย่างสุขสบาย เนื่องด้วยสภาพอากาศที่อบอุ่นและค่าครองชีพที่ถูกกว่า แต่ภาพฝันดังกล่าวมีอันต้องสลาย เกิดอะไรขึ้นกับเอกวาดอร์ อะไรเป็นเหตุให้ประเทศที่สงบสุขที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกลายเป็นประเทศที่วุ่นวาย เต็มไปด้วยการจลาจลและเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือด เราจะพาคุณผู้อ่านไปหาคำตอบ   แก๊งอาชญากรครองเมือง   ความรุนแรงส่วนใหญ่ในเอกวาดอร์มีสาเหตุมาจากการแข่งขันระหว่างกลุ่มแก๊งอาชญากรในท้องถิ่นที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับการหนุนหลังจาก 2 แก๊งค้ายารายใหญ่ในเม็กซิโกที่เป็นคู่แข่งกันอย่าง ซินาโลอา…