นักวิทย์ วิเคราะห์ปัจจัย โรงงาน “พลุระเบิด” จ.สุพรรณบุรี

Loading

  นักวิทย์ วิเคราะห์ปัจจัย โรงงาน “พลุระเบิด” จ.สุพรรณบุรี รู้จักสารเคมีที่บรรจุในพลุดอกไม้ไฟ ทำปฏิกิริยาทางเคมีอย่างไร สารเคมีแต่ละชนิดให้สีสันต่างกัน   เหตุโรงงานผลิต “พลุ” ระเบิด เมื่อช่วงบ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 17 ม.ค.2567 ในพื้นที่หมู่ 3 ต.ศาลาขาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ทำอาคารพังราบเป็นหน้ากลอง เหลือให้เห็นเพียงกลุ่มควันสีดำพวยพุ่งขึ้นท้องฟ้าจากระยะไกล แต่แม้จุดเกิดเหตุจะอยู่กลางทุ่งนา ไม่มี​บ้านพักอาศัยอยู่​ใกล้เคียง แต่กลับเกิดความสูญเสียที่ค่อนข้างรุนแรง   เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ที่มีการยืนยันได้อยู่ที่ 21 คน แต่มีการแจ้งผู้สูญหาย 23 คน ยังค้นหาอีก 2 คน โดยตลอดช่วงเช้าวันนี้ (18 ม.ค.) เจ้าหน้าที่ได้ตรวจที่เกิดเหตุและเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากจุดเกิดเหตุนำไปตรวจสอบเพิ่ม     จากตรวจสอบ​พบว่า โรงงานดังกล่าวได้รับอนุญาต​ถูกต้องและเป็นโรงงานเดียวกับที่เคยเกิดเหตุระเบิดมาแล้วเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2565 ครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิต 1 คน คนงานบาดเจ็บอีก 3…

เมื่ออิหร่านยิงจรวดโจมตีในอิรักและซีเรีย สะท้อนนัยอะไรบ้าง

Loading

EPA-EFE ชาวเมืองเออร์บิล ในเขตเคอร์ดิสถานของอิรัก ต่างหวั่นกลัวเนื่องจากความไม่ปลอดภัยหลังจากอิหร่านยิงขีปนาวุธโจมตี   หลายปีที่ผ่านมา กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Islamic Revolution Guard Corps – IRGC) กลายมามีอำนาจโดดเด่นมากขึ้นในระดับภูมิภาค   นอกจากนี้ พวกเขายังเคยลั่นวาจาอย่างเปิดเผยว่า ไม่ว่าจะเป็นฐานทัพสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง หรือฐานทัพอิสราเอลในกรุงเทลอาวีฟและเมืองไฮฟา ล้วนอยู่ภายในรัศมีที่ขีปนาวุธของอิหร่านยิงไปถึง   ในคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลกรุงเตหะรานได้ซ้อมรบอย่างเต็มรูปแบบเพื่อแสดงเจตจำนงของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ด้วยการยิงขีปนาวุธ 11 ลูก พุ่งเป้าไปยังเมืองเออร์บิล ซึ่งเป็นเมืองหลักของเขตกึ่งปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน   ทางการท้องถิ่นของเคอร์ดิสถานเปิดเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บอีก 6 คน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมาซรูร์ บาร์ซานี ของเคอร์ดิสถานเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น “อาชญกรรมต่อประชาชนชาวเคิร์ด”   ด้านสำนักข่าวฟาร์ส นิวส์ ที่มีความใกล้ชิดกับกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน อ้างว่า การโจมตีในครั้งล่าสุดได้ทำลายฐานที่มั่นของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของอิสราเอล หรือที่เรียกว่า ” มอซสาด” สามแห่ง   ทว่า รัฐบาลท้องถิ่นในเคอร์ดิสถานปฏิเสธการมีอยู่ของหน่วยข่าวกรองต่างชาติในผืนแผ่นดินของตนเอง ขณะที่ฝ่ายอิสราเอลยังคงไม่ปริปากต่อคำกล่าวอ้างนี้  …

เทคนิคลดความเสี่ยง จาก ‘รอยเท้าดิจิทัล’

Loading

  ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมา บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาผมได้รับข้อความจากค่ายเพลง Spotify ที่เป็นสมาชิก เพื่อสรุปรายละเอียดการใช้ Spotify ของผมในรอบปีที่ผ่านมาว่า ฟังเพลงไปกี่นาที เพลงหรือศิลปินคนไหนบ้างที่ผมฟังมากที่สุด และใช้เวลาไปกี่นาที บทสรุปมีรายละเอียดมากมายซึ่งคือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่เกิดจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ของผม   รอยเท้าดิจิทัล ที่ผมใช้บริการมีอยู่มากมายที่แอปต่าง ๆ เปิดให้ผมดูได้ ตั้งแต่การสั่งอาหาร หรือเรียกใช้บริการรถสาธารณะออนไลน์ ที่สามารถดูได้ว่าสั่งร้านใดไปเมื่อไร เดินทางไปไหน หรือ แม้แต่ว่าสั่งรายการอะไร มีข้อมูลบัตรทางด่วนที่เห็นรายละเอียดได้ว่าไปจ่ายที่ด่านไหน วันเวลาอะไร รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เช่น การใช้พร้อมเพย์ โมบายแบงกิ้ง หรือการจ่ายเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตอย่าง True Money ที่จะเห็นรายละเอียดต่างๆ   นอกจากนี้หากไปดูข้อมูลในโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ผมใช้บริการจะมีรอยเท้าดิจิทัลของผมอีกว่า ผมโพสต์ข้อมูลใดบ้าง เมื่อไร ผมไปกดไลค์ข้อความไหน ใครเป็นเพื่อนผมบ้าง…

บริการดิจิทัลหลังความตาย

Loading

  ทุกวันนี้จะทำอะไรก็ผูกติดอยู่กับบริการดิจิทัล แม้แต่จะใช้จ่ายแล้วท่านเมตตาให้ไปขอลดหย่อนภาษีเงินได้ ก็ยังต้องอาศัยบริการดิจิทัลออกใบรับเงินให้อีก สารพัดบริการดิจิทัลเหล่านี้น่าจะยุติลงเมื่อคนนั้นละสังขารไปสู่สุขคติ   แต่ในโลกยุค Genrative AI มีบางคนคิดถึงธุรกิจการให้บริการดิจิทัลหลังความตาย ตามไปขายบริการกันแม้ว่าตัวตนของคนนั้นในโลกนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่ตัวตนดิจิทัลจะอยู่ต่อไปเป็นอมตะ ชิวิตดิจิทัลที่เป็นอมตะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์กันมานานหลายปี   ใคร ๆ ก็สามารถพูดคุยกับคนที่เสียชีวิตแล้วได้ ผ่านจอภาพสามมิติ วันนี้มีนับร้อยบริษัททั่วโลกที่พยายามจะสร้างบริการดิจิทัลทำนองนี้ขึ้นมา ตอนที่คนนั้นยังมีชีวิตก็ขายบริการสะสมข้อมูลเก็บไว้ พอเสียชีวิตไปแล้วก็ขายบริการให้ลูกหลานญาติมิตรได้มีโอกาสพูดคุยกับคนนั้นในภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจ ไม่ใช่ภาพลักษณ์ตอนที่เจ็บป่วยทรุดโทรม   พูดคุยกันได้ตราบเท่าที่ยังจ่ายค่าบริการ ซึ่งอาจกลายเป็นการสร้างรายได้จากข้อมูลเดิมขยายออกไปได้อีกเป็นปีหลังจากที่เจ้าของข้อมูลนั้นไปสู่สุขคติแล้ว ขายบริการดิจิทัลกันตั้งแต่ยังไม่เกิดจนกระทั่งอีกนับปีหลังจากที่จากโลกนี้ไปแล้ว   ที่ดูเป็นธุรกิจน้อยหน่อย เป็นบริการจากโครงการวิจัยที่พยายามหาหนทางสะสมความเป็นตัวตนของคนเอาไว้ให้ใกล้เคียงกับคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นมากที่สุด   ถ้าเป็นข้อมูลทางกายภาพ ก็ไล่สะสมตั้งแต่ ดีเอ็นเอ ตามมาด้วยอีกสารพัดข้อมูลทางชีวภาพเกี่ยวกับคนนั้น สูงเท่าใด หนักเท่าใด ข้อมูลสุขภาพเป็นอย่างไร หน้าตาและรูปร่างเป็นอย่างไร ท่าเดินท่านั่งท่ายืนเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร   ซึ่งโครงการวิจัยนี้พยายามหาคำตอบว่าเก็บอะไรบ้าง เก็บมากแค่ไหน ถึงจะเพียงพอที่จะมีข้อมูลที่วันหน้าเมื่อเทคโนโลยีมีความพร้อม จะสังเคราะห์ตัวตนดิจิทัลที่มีกายภาพใกล้เคียงกับเจ้าของข้อมูลมากที่สุด แต่ที่ยุ่งยากกว่ามากคือจะต้องบันทึกข้อมูลใดไว้บ้างเพื่อที่จะเพียงพอสำหรับการสังเคราะห์ความนึกคิด จิตใจที่ใกล้เคียงกับคนนั้นขึ้นมาได้   ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เอไอมาช่วยงานนี้แน่ ๆ และเอไอจะเก่งขึ้นเมื่อได้รับการฝึกฝนจากข้อมูลจำนวนมากขึ้น หลากหลายยิ่งขึ้น เลยกลายเป็นบริการสะสมข้อมูลกายภาพ และข้อมูลจิตใจ ให้กับคนที่สนใจอยากมีตัวตนดิจิทัลที่เป็นอมตะ…

‘ทรู’ นำทัพ ‘รัฐ-เอกชน’ ถกประเด็นใหญ่ ‘AI’ จริยธรรม และ ‘การกำกับดูแล’

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่”   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่” ไม่ว่าประเด็นด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทักษะ และช่องว่างในขีดความสามารถทางการแข่งขัน   และเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา AI ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้จัดงานสัมมนา AI Gets Good โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้มั่นใจว่า AI จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย?”     กำกับดูแล = อุปสรรคหรือส่งเสริม?…

กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…