“การลักพาตัวไซเบอร์” สแกมรูปแบบใหม่ ที่นักศึกษาจีนในหลายประเทศกำลังตกเป็นเหยื่อ

Loading

GETTY IMAGES   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตัน ออกประกาศเตือนพลเมืองชาวจีนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะนักศึกษา ว่าให้ระมัดระวัง “การลักพาตัวเสมือนจริง”   สถานทูตออกแถลงการณ์ดังกล่าวหลังจาก ไค จวง นักศึกษาชาวจีนวัย 17 ปี ที่ถูกรายงานว่าหายตัวไป ถูกพบอย่างปลอดภัยภายในแคมป์ชั่วคราวในเขตรกร้างห่างไกลผู้คนของรัฐยูทาห์ เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ที่ผ่านมา   พ่อแม่ของไคบอกกับเจ้าหน้าที่โรงเรียนว่า พวกเขาได้รับข้อความพร้อมภาพถ่ายที่ระบุว่า ลูกชายถูกลักพาตัวพร้อมกับคำเรียกร้องเงินค่าไถ่   จากข้อมูลของตำรวจ ระบุว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อของการลักพาตัวทางไซเบอร์ มักถูกโน้มน้าวให้แยกตัวออกมาอยู่ลำพัง พร้อมกับถ่ายภาพให้ดูเหมือนว่ากำลังถูกจับ ถึงแม้ว่าผู้ก่อการลักพาตัวจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม โดยเหยื่อจะถูกติดตามผ่านเฟซไทม์หรือสไกป์แทน   ทั้งเหยื่อและครอบครัวต่างถูกทำให้เชื่อว่าอีกฝ่ายจะได้รับอันตราย หากพวกเขาไม่ยอมทำตาม   ครอบครัวของไคถูกหลอกให้จ่ายเงินค่าไถ่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.8 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศจีน จากข้อมูลของตำรวจท้องถิ่น   การลักพาตัวเสมือน (virtual kidnapping) คืออะไร   RIVERDALE POLICE DEPARTMENT ไค…

เปิดการคาดการณ์ ‘Network Security’ ปี 2024

Loading

  เปิดการคาดการณ์ Network Security ปี 2024 ที่จะมาถึงในอีก 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ ซึ่งองค์กรต้องเตรียมการรับมือให้ดี   Enterprise Strategy Group ได้เปิดการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มทิศทางความปลอดภัยของระบบเครือข่าย 5 อันดับแรกในปี 2024 โดยเริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยของ SaaS และการโจมตี DDoS ที่เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการรวมระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) ดังนี้   1.การละเมิดข้อมูลจำนวนมาก หลายครั้งเกิดจากแอปพลิเคชัน SaaS ที่กำหนดค่าไม่ถูกต้อง : มีการใช้งาน SaaS กันอย่างแพร่หลาย แต่หลายองค์กรยังคงประสบปัญหาด้านความปลอดภัยของ SaaS   การวิจัยของ TechTarget เรื่อง The Cloud Data Security Imperative พบว่า 39% ขององค์กรสูญเสียข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนในระบบคลาวด์   ขณะที่ อีก 20% สงสัยว่าอาจมีการสูญหายของข้อมูลแต่ยังไม่แน่ใจ และจากองค์กรต่างๆ…

10 ผลสำรวจ GenAI ต่อมุมมองด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจในปี 2023

Loading

  Generative AI เป็นนวัตกรรมชั้นแนวหน้าในปัจจุบันที่เข้ามาพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่ Cybersecurity บทความนี้ได้รวบรวมผลการสำรวจและผลการศึกษาด้าน Generative AI ในปี 2023 ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ด้าน Cybersecurity ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น   1. SMB นำ GenAI เข้ามาใช้ แต่มองข้ามประเด็นด้าน Cybersecurity ผลสำรวจผู้บริหารด้าน IT มากกว่า 900 คนทั่วโลกโดย Zscaler พบว่าร้อยละ 89 ทราบดีว่าเครื่องมือ Generative AI อย่าง ChatGPT อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่ 95% ก็ยังคงนำเครื่องมือเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ   2. ความนิยมของ ChatGPT เป็นตัวจุดกระแสการลงทุนด้าน GenAI ให้พุ่งทะยานขึ้น รายงานจาก IDC พบว่า แม้หลายบริษัทจะมีการลงทุนด้าน Predictive และ Interpretive…

Nightshade อุปกรณ์ใหม่ของศิลปินป้องกัน AI นำภาพไปใช้งาน

Loading

  ความก้าวหน้าของ AI นำไปสู่การเกิดข้อถกเถียงโต้แย้งในหลายด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มศิลปินที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกละเมิดลิขสิทธิ์ จากการที่ภาพของตนถูกนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปสู่การคิดค้น Nightshade ระบบป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพไปใช้งาน   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างแนวโน้มความเป็นไปได้ในการพัฒนาอันไร้ขีดจำกัด ความสะดวกสบายในการใช้งานไปจนขีดความสามารถเป็นสิ่งที่ผู้คนต่างยอมรับ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในหลายด้าน   หนึ่งในกลุ่มที่เกิดข้อถกเถียงมากที่สุดคือ กลุ่มศิลปิน โดยเฉพาะเอไอที่สามารถสร้างภาพขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการป้อนคำสั่งตัวอักษร เสียง หรือแม้แต่เสียงดนตรี แต่ด้วยความคลุมเครือในด้านข้อมูลที่นำไปใช้งานตลอดจนลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจจนมีการฟ้องร้องตามกฎหมาย   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการรับมือกับการสร้างภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ     Nightshade และ Glaze ระบบป้องกันเอไอนำภาพไปใช้งาน   ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology(MIT) กับการคิดค้นระบบป้องกันชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือเอไอ โดยจะทำการเติมส่วนประกอบขนาดเล็กเพื่อทำให้ภาพเกิดการบิดเบือน ป้องกันไม่ให้เอไอนำภาพดังกล่าวไปใช้เทรนหรือเป็นต้นแบบในการผลิตภาพใหม่ต่อไป   เอไอกับศิลปะยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงด้วยความคลุมเครือและช่องโหว่ของกฎหมาย ศิลปินจำนวนมากต่างรู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบ เมื่อผลงานพวกเขาถูกใช้เป็นฐานข้อมูลสร้างภาพขึ้นมาใหม่ นำไปสู่การฟ้องร้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเอไอเชิงศิลปะอย่าง DALL-E, Midjourney และ Stable Diffusion   ปัจจุบันการฟ้องร้องยังคงไม่ยุติแม้มีการประกาศว่าภาพจากเอไอไม่มีลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันปัญหา แต่ข้อถกเถียงนี้เองนำไปสู่แนวคิดในการพัฒนาแนวทางป้องกัน…

ลูกเรือสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ อพยพทุกคนออกจากเครื่องบินอย่างปลอดภัยและรวดเร็วได้อย่างไร

Loading

ผู้โดยสารต่างเร่งไปที่ประตูทางออกฉุกเฉินของเครื่องบินที่กำลังลุกไหม้โดยที่ไม่ถือสัมภาระอะไรติดตัว ตามคำแนะนำของพนักงานบนเครื่องบิน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การไม่นำสิ่งของมีค่าหรือสัมภาระส่วนตัวไปด้วย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การอพยพทั้ง 379 คนบนเครื่องเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ส่องมาตรการรับมือภัยฉุกเฉินของญี่ปุ่น ช่วยชีวิตคนได้ยกลำใน 2 นาที

Loading

  •  เหตุระทึกอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันที่สนามบินฮาเนดะ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมาตรการรับมือภัยฉุกเฉินของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ รวมทั้งสนามบินฮาเนดะได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนเกือบ 400 ชีวิต ออกมาจากเครื่องได้อย่างปลอดภัยในเวลาเพียง 2 นาที   •  แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากต่างชี้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงระบบฉุกเฉินของเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดปาฏิหาริย์ท่ามกลางเรื่องเลวร้ายขึ้นได้   •  การถอดบทเรียนจากเหตุการณ์จึงนับเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ ทั่วโลก ยึดถือเป็นแนวทาง เพื่อให้สามารถช่วยชีวิตคนให้ได้มากที่สุดในยามที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ขึ้นอีก   ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับเหตุการณ์อุบัติเหตุ ภัยพิบัติรุนแรงตั้งแต่ต้นปี ซึ่งถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ใหญ่ แต่กลับพบว่าญี่ปุ่นยังคงสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที จนเกิดความสูญเสียน้อยกว่าที่คาด โดยเฉพาะกับเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ชนกับเครื่องบินของหน่วยยามฝั่งที่สนามบินฮาเนดะแบบไม่คาดคิด แต่การอพยพผู้โดยสารเกือบ 400 คน บนเครื่องที่กำลังไฟลุกไหม้ สามารถทำได้รวดเร็วในเวลาเพียง 90 วินาที หรือไม่เกิน 2 นาทีเท่านั้น จนทำให้ทั้งผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องทั้งหมดรอดชีวิตมาได้ราวปาฏิหาริย์ แม้ว่าจะมีผู้บาดเจ็บราว 14 คน แต่ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บรุนแรง ขณะที่มีผู้เสียชีวิตบนเครื่องบินของหน่วยยามฝั่ง 5 ศพ และรอดชีวิตมาได้เพียง 1 คน  …