20 ปีไฟใต้ ตาย-เจ็บเกือบ 2 หมื่น พิการเฉียดพัน เยียวยา 4 พันล้าน!

Loading

  4 มกราคม 2567 เป็นวันครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ปล้นปืนครั้งมโหฬารที่สุดครั้งหนึ่งของเมืองไทย   เหตุปล้นปืนครั้งใหญ่เกิดขึ้นที่ค่ายทหาร กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ “ค่ายปิเหล็ง” อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547   คนร้ายได้อาวุธปืนไปมากถึง 413 กระบอก ล้วนเป็นอาวุธปืนสงคราม   หลายคนเรียกวันที่ 4 มกราคม 2547 ว่าเป็น “วันเสียงปืนแตก” ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะนับจากวันปล้นปืน ก็มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นรายวัน ยืดเยื้อยาวนานถึง 20 ปีแล้ว   แม้ในทศวรรษหลังมานี้ เหตุร้ายรูปแบบต่าง ๆ จะลดระดับลงบ้าง และมีความพยายามตั้งคณะพูดคุยเจรจา เพื่อหาทางออกโดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่กระบวนการสันติภาพก็ไม่มีความคืบหน้า   ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา มีเหตุรุนแรงที่ก่อความสูญเสียเกิดขึ้นมากมาย “ทีมข่าวอิศรา” รวบรวมโดยนับเฉพาะเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย…

‘ค้าปลีก’ ในเอเชียแปซิฟิก เหยื่อถูกโจมตีหนัก เหตุขาดงบความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ชี้ อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกโดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ขณะที่ องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ‘น้ำมัน และก๊าซ’ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด   จากการศึกษาล่าสุดของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) สำหรับสถิติระดับโลก พบว่า องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสม (25%) อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากที่สุดในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา   การสำรวจล่าสุดยังเผยให้เห็นว่าบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 19% ประสบปัญหาทางไซเบอร์ เนื่องจากการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เพียงพอในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงเรื่องการเงินของบริษัท เกือบหนึ่งในห้า (16%) ยอมรับว่า ไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ   แคสเปอร์สกี้ ได้ทำการศึกษา เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่ทำงานให้กับ SME และเอ็นเตอร์ไพรซ์ต่าง ๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในบริษัท การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยพิจารณาทั้งพนักงานภายในและผู้รับเหมาภายนอก นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ผลกระทบที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแง่ของการจัดสรรงบประมาณ มีการสำรวจผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด 234 ราย…

เปิดโผ ‘วายร้ายไซเบอร์’ ไทยเผชิญ ‘ฟิชชิ่ง-แรนซัมแวร์’ พุ่งสูงขึ้น

Loading

  ไทย เผชิญภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้น ระบุเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในไทยขยายเพิ่มถึงสองเท่าตัวในปี 2023 เมื่อเทียบปี 2022 ขณะที่ ‘ฟิชชิ่ง’ และ ‘การขโมยข้อมูลส่วนตัว’ คือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด องค์กร 50% จัดอันดับให้เป็นภัยคุกคามที่สร้างความกังวลใจอันดับต้น ๆ   ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เผยผลสำรวจใหม่ ที่จัดทำโดย IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of Security Operations (SecOps) ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เน้นถึงบทบาทของ AI และระบบอัตโนมัติ ที่เข้ามาช่วบจัดการภัยไซเบอร์ ได้ในหลายแง่มุม   โดยภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบมากที่สุด ฟิชชิ่ง และการขโมยข้อมูลส่วนตัวคือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด ซึ่งองค์กรเกือบ 50% จัดอันดับให้ภัยคุกคามดังกล่าวเป็นความกังวลใจอันดับต้น   โดยภัยคุกคามห้าอันดับแรก ได้แก่ •  ฟิชชิ่ง •  การขโมยข้อมูลส่วนตัว •  แรนซัมแวร์ •  ช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข • …

เหตุใดสงครามกาซาถึงทำให้โลกออนไลน์น่าเชื่อถือน้อยลง

Loading

  ในช่วง 2-3 เดือนมานี้ การถกเถียงบนโซเชียลมีเดียในเรื่องความขัดแย้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสดูจะตึงเป็นพิเศษ   หลายคนกังวลว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้ผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าอิสราเอลทำถูกแล้วเพราะเป็นการป้องกันตัวเอง ขณะที่บางส่วนก็เห็นใจชาวปาเลสไตน์และประณามอิสราเอล   ท่ามกลามความเห็นเหล่านี้ มีบางส่วนที่โพสต์เนื้อหาที่เป็นการบิดเบือนความจริง ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ     ข่าวที่กลุ่มชาวนาฝรั่งเศสนำมูลวัวมาทิ้งหน้าร้าน McDonald’s ถูกนำเสนอว่าเป็นการประท้วงอิสราเอล   ตั้งแต่การบิดเบือนตัวเลขผู้เสียชีวิต การโจมตีเนื้อหาข่าวด้วยข้อมูลเท็จ ใช้เนื้อหาจากเหตุการณ์ในอดีต หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาปะปน หรือแม้แต่การ ‘สร้าง’ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น   สงครามกาซาทำให้ข้อมูลเท็จเพิ่มขึ้น   ภายหลังจากที่สงครามกาซาเริ่มขึ้น การปล่อยเท็จก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในจำนวนนี้มีทั้งการใช้ภาพจากวิดีโอเกมมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ และยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI เข้ามาบิดเบือนร่วมด้วย       Bohemia Interactive ผู้สร้าง ARMA 3 อธิบายว่าภาพจากเกมถูกนำไปบิดเบือนอย่างไรบ้าง   นี่ไม่ใช่คำกล่าวลอย ๆ แต่ยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง พิปปา แอลเลน คินรอสส์ (Pippa Allen-Kinross) บรรณาธิการข่าวของ…

ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น สู่ ‘ไทย’ ที่ยังมีโอกาสเกิดสึนามิ

Loading

  นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เตือนไทยประมาทไม่ได้ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 แนะซักซ้อมเหตุการณ์เป็นระยะ ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้อยู่ในสภาพให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา   ศ.อมร พิมานมาศ นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ   ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย   “ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได…

ทำความรู้จัก “เสมิร์ฟ (SMuRF)” กองทัพหุ่นยนต์รื้อถอนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

Loading

  นักวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักร พัฒนาหุ่นยนต์สเมิร์ฟ (SMuRF) กองทัพหุ่นยนต์ที่แต่ละตัวมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์   นักวิทยาศาสตร์กำลังเสนอให้ใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีชื่อว่าระบบสเมิร์ฟ (SMuRFs หรือ Symbiotic Multi-Robot Fleet) เพื่อช่วยในการรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต   สเมิร์ฟพัฒนาโดยทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยกลาสโกลว (สก็อตแลนด์) มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ) ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์บริสตอล (สหราชอาณาจักร) และมหาวิทยาลัยเฮเรียต-วัตต์ (สก็อตแลนด์)   แดเนียล มิทเชล (Daniel Mitchell) หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่าสเมิร์ฟตัวต้นแบบแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติและข้อจำกัดที่เป็นเอกลักษณ์ รวมไปถึงมีระบบปฏิบัติการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย บางตัวสามารถบินได้ บางตัววิ่ง บางตัวก็วิ่งเหยาะ ๆ แต่ทุกตัวสามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์   ระบบที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้คือระบบไซเบอร์กายภาพ (Cyber-Physical System หรือ CPS) ซึ่งเป็นระบบที่มีความซับซ้อนพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยทีมนักวิจัย ซึ่งระบบนี้ทำให้หุ่นยนต์สามารถสื่อสารกันแบบเรียลไทม์ได้ด้วยหุ่นยนต์และเซ็นเซอร์รวมกันมากกว่า 1,600 ชิ้น หุ่นยนต์แต่ละตัวจะแบ่งปันข้อมูลเซ็นเซอร์ และรวมความสามารถกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์งานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าทำตัวเดียว นอกจากนี้ การควบคุมการทำงาน ยังสามารถทำได้โดยมนุษย์เพียงคนเดียว   ทั้งนี้ทีมวิจัยได้นำหุ่นยนต์ไปสาธิตภาคปฏิบัติที่โรงงาน Robotics…