เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความพยายามลอบสังหารโดนัลด์ ทรัมป์

Loading

ภายในเวลาเพียง 2 เดือน โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความพยายามลอบสังหารไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือวันที่ 13 กรกฎาคม และ 15 กันยายน 2024 เราไปดูกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร   ความพยายามลอบสังหารที่รัฐเพนซิลเวเนีย   เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2024 โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024 รอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารขณะกล่าวสุนทรพจน์ในการชุมนุมหาเสียงกลางแจ้ง ใกล้เมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่หูขวาบน โดยผู้ก่อเหตุคือนายโทมัส แมทธิว ครูกส์ ชายวัย 20 ปีจากเมืองเบเธลพาร์ค รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งยิงกระสุนจากปืนไรเฟิลสไตล์ AR-15 จำนวน 8 นัดจากหลังคาของอาคารใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 คน ต่อมาเขาถูกหน่วยต่อต้านการซุ่มยิงของหน่วยอารักขาประธานาธิบดี ยิงเสียชีวิต   หลังจากถูกยิง…

ข่าวปลอม พายุ พยากรณ์อากาศ หากแชร์แล้วระวังอาจโดนติดคุกได้!!

Loading

    ข่าวปลอม พายุ พยากรณ์อากาศ หากแชร์ส่งต่อผ่านโซเชียล อาจเข้าข่ายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาเตือนประชาชนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอากาศเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ มีโทษจำคุกและปรับ หากผู้ใดสร้างหรือเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับสภาพอากาศ อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกและสับสนได้   กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนผู้โพสต์แจ้งเตือนภัยด้านอุตุนิยมวิทยาอันเป็นข้อมูลเท็จ เผยแพร่ข้อมูลบนสื่อ สังคมออนไลน์ต่างๆ อาจเข้าข่ายกระทำความผิด พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท   เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้มีการเผยแพร่ และส่งต่อข้อมูลการแจ้งเตือนภัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา บนสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก จากผู้ที่ไม่มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรง ผ่านหลากหลายช่องทางโดยเฉพาะช่องทางอินเทอร์เน็ต ที่มีความสะดวกในการรับและส่งข่าวสารต่อ ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการสร้างข่าวลือ ข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน ต้องการแสวงหาประโยชน์จากความตื่นตระหนกกับข่าวปลอมดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและความเข้าใจคาดเคลื่อนไปจากข้อมูลจริง เกิดความตื่นตระหนก สับสนกับสถานการณ์ และเกิดความปั่นป่วนในสังคมเป็นวงกว้าง   ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤตหรือมีภัยพิบัติ ต้องงดการส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือหากมีข้อสงสัยควรตรวจสอบข้อมูลที่มาจากแหล่งอ้างอิงของทางราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายกระทำความผิด พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกียวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา…

ความรุนแรงทางการเมืองป่วนสหรัฐ ก่อนการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง

Loading

ที่เมืองยอร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ชายคนหนึ่งได้เข้าทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่กำลังรณรงค์หาเสียงให้รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส โดยชกชายวัย 74 ปีที่ศีรษะ และด่าชายอีกคนหนึ่งว่า “คนสนับสนุนนิโกร” ก่อนจะหลบหนีไป   ในภาคเหนือของรัฐมิชิแกน ผู้โจมตีที่โกรธแค้นด้วยความเกลียดชังโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ใช้รถ ATV ขับชนและทำร้ายชายวัย 81 ปีที่กำลังติดป้ายรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของอดีตประธานาธิบดี   การโจมตีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีความรุนแรงทางการเมืองอย่างน้อย 300 กรณีที่สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุได้นับตั้งแต่ผู้สนับสนุนทรัมป์บุกเข้าทำลายอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 โดยมีเหตุการณ์อย่างน้อย 51 กรณีในปีนี้ ซึ่งในขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียงสองสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พฤศจิกายน กรณีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970   ความรุนแรงบางกรณีกลายเป็นข่าวใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามลอบสังหารทรัมป์สอง เหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจอื่นๆ รวมถึงการยิงสามครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานรณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครตสำหรับแฮร์ริสในรัฐแอริโซนา   อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ข้อพิพาทเรื่องการเลือกตั้งไปจนถึงสิทธิ LGBTQ+ และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เหตุการณ์มีตั้งแต่การทะเลาะวิวาทเล็กน้อยเรื่องป้ายการเมืองไปจนถึงการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้นและการทำลายทรัพย์สินในการหาเสียง ความรุนแรงส่วนใหญ่ในปีนี้ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต ยกเว้นระหว่างความพยายามลอบสังหารทรัมป์ในเดือนกรกฎาคม ที่มีผู้เสียชีวิตสองราย ได้แก่ ผู้เข้าร่วมรับฟังการหาเสียง และมือปืน…

ความเสี่ยงของ AI ในรถยนต์

Loading

    รถยนต์รุ่นใหม่ๆ แข่งขันกันในเรื่องระบบอำนวยความสะดวก และเติมเต็มความปลอดภัยในการขับรถ ต่างยี่ห้อต่างมีชื่อเรียกเทคโนโลยีที่ตนเองใช้เพื่อการนี้   แต่โดยรวมแล้วระบบนี้ทางเทคนิคเรียกว่า advanced driver assistance systems (ADAS) ทำงานด้วยพื้นฐานเดียวกันกับ Generative AI ที่บ้านเรากำลังตื่นเต้นกันถึงขนาดมีการตั้งกรรมการระดับกระทรวงขึ้นมาส่งเสริมการใช้งานกันขนานใหญ่   แต่การใช้ Generative AI โดยไม่รู้เรื่อง LLM อาจมีผลเสียมากกว่าผลดี พยายามส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ Generative AI เป็นเครื่องมือ โดยไม่รู้ว่ามันทำได้แค่พลิกโฉมข้อความที่มันเคยฝึกมาให้กลายเป็นข้อความตามที่เราอยากได้   มันไม่ได้สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาเลย ยิ่งใช้มากก็ยิ่งลดทอนความคิดสร้างสรรค์ลงไปเสียอีก เพราะถูก AI ตีกรอบความคิดสร้างสรรค์ให้แคบลง   ระบบอัตโนมัติ ADAS ที่มาช่วยขับรถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ “ระดับศูนย์” คือรถยนต์ธรรมดาที่ทุกอย่างคนขับดูแลเองหมด ไม่มี ADAS ระดับหนึ่งจะเริ่มมีบริการช่วยอำนวยความสะดวกในการขับ เช่น ระบบแจ้งเตือนการขับข้ามช่องจราจร ระบบล็อกความเร็ว Cruise Control   “ระดับสอง”…

‘คนไทย’ เชื่อมั่น ‘เอไอ’ มากไปหรือไม่?

Loading

  วันก่อนผมไปเห็นโพสต์ของอาจารย์สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สอนทางด้าน “เอไอ” บนโซเชียลมีเดียท่านหนึ่งเขียนว่า “ตอนนี้เป็นห่วงคนใช้เอไอ   วันก่อนผมไปเห็นโพสต์ของอาจารย์สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สอนทางด้าน “เอไอ” บนโซเชียลมีเดียท่านหนึ่งเขียนว่า “ตอนนี้เป็นห่วงคนใช้เอไอที่ 1. เชื่อว่าทุกอย่างที่เอไอบอกเป็นเรื่องจริง ไม่ตรวจสอบ เชื่อหมดใจ และ 2. นำข้อมูลส่วนบุคคลป้อนให้เอไอ” อ่านแล้วนึกถึงกระแสเอไอที่กำลังมาแรงในบ้านเรา คนไทยใช้เอไอมากขึ้นแทบทุกเรื่อง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าคนไทยมั่นใจเอไอมากเกินไปหรือไม่?   ผมค้นไปพบ “ผลสำรวจ AI Monitor 2024” ของบริษัท Ipsos ซึ่งสำรวจทัศนคติของผู้คนใน 32 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีเอไอรวมทั้งประเทศไทย การสำรวจนี้ดำเนินการโดย Ipsos ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Global Advisor ระหว่างวันที่ 19 เม.ย. – 3 พ.ค.2024 มีผู้เข้าร่วมการสำรวจทั้งสิ้น 23,685 คน จาก 32 ประเทศทั่วโลก   กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชากรประมาณ 1,000 คนในแต่ละประเทศหลักๆ เช่น…

เปิดปมบริษัทใหญ่ถูกแฮ็ก หลังพลาดไปจ้างงานอาชญากรไซเบอร์จากเกาหลีเหนือ

Loading

  บริษัทใหญ่ของชาติตะวันตกแห่งหนึ่ง ถูกแฮ็กเกอร์เจาะระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมยข้อมูลและเรียกเงินค่าไถ่ หลังพลาดไปจ้างงานอาชญากรไซเบอร์คนหนึ่งจากเกาหลีเหนือเข้าโดยบังเอิญ   บริษัทที่ตกเป็นเหยื่อดังกล่าวไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ แต่ได้ระบุว่ามีการจ้างช่างเทคนิค เพื่อดูแลระบบเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารหรือไอทีของบริษัทตน โดยเป็นการทำงานจากระยะไกลทางออนไลน์   บริษัทแห่งนี้ตัดสินใจจ้างพนักงานไอทีคนดังกล่าว หลังได้รับประวัติการทำงานและรายละเอียดส่วนบุคคลที่ปลอมแปลงขึ้น และในทันทีที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ แฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือผู้นี้ก็เริ่มดาวน์โหลดข้อมูลที่เป็นความลับและมีความอ่อนไหวสูง ก่อนจะส่งข้อความเรียกค่าไถ่เป็นเงินสูงลิ่ว   เหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งล่าสุดที่มีการเปิดเผยว่า พนักงานในบริษัทของชาติตะวันตกซึ่งทำงานจากระยะไกลทางออนไลน์หลายคน ที่แท้เป็นชาวเกาหลีเหนือ โดยก่อนหน้านี้เคยมีเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง   มีรายงานว่าบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อแฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือรายล่าสุด อาจมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร หรือออสเตรเลีย โดยบริษัทแห่งนี้ได้ยินยอมเปิดเผยเรื่องดังกล่าว ผ่านผู้ตรวจสอบเฝ้าระวังภัยทางไซเบอร์ของบริษัท Secureworks เพื่อเตือนภัยและสร้างความตระหนักต่อปัญหาดังกล่าวแก่สังคมในวงกว้าง   ด้านผู้แทนของ Secureworks เปิดเผยว่า แฮ็กเกอร์ที่แฝงตัวเข้ามาเป็นพนักงานไอทีของบริษัทดังกล่าว ได้รับการจ้างงานเมื่อช่วงฤดูร้อนหรือประมาณเดือนก.ค. ถึง ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นการทำสัญญาจ้างชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง แต่พนักงานผู้นี้กลับใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับทำงานระยะไกลของบริษัท ล็อกอินเข้าสู่เครือข่ายภายในและลักลอบดาวน์โหลดข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูงไปเป็นจำนวนมาก ในทันทีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว   พนักงานผู้นี้ได้ปฏิบัติหน้าที่และรับเงินเดือนตามปกติอยู่นานราว 4 เดือน ซึ่งนักวิจัยคาดว่าเงินจำนวนนี้อาจถูกส่งกลับไปยังเกาหลีเหนือผ่านกระบวนการฟอกเงินที่ซับซ้อน เพื่อหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก   ต่อมาทางบริษัทได้ปลดพนักงานคนนี้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากประสิทธิภาพในการทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่หลังจากนั้นทางบริษัทก็ได้รับอีเมลข่มขู่เรียกเงินค่าไถ่ โดยข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่พนักงานคนดังกล่าวส่งมา มีข้อมูลที่ถูกขโมยไปบางส่วน และข้อความเรียกร้องให้จ่ายเงินค่าไถ่ก้อนโตในรูปของเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซี จำนวน…