AntiFake แนวทางป้องกันไม่ให้เสียงของเราถูกเอไอปลอมแปลง

Loading

ที่ผ่านมาเราเคยได้ยินปัญหาการลอกเลียนและปลอมแปลงเสียงจากเอไอกันมาบ้าง ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ วันนี้เราจึงพามารู้จักกับ AntiFake แนวทางป้องกันไม่ให้เสียงของเราถูกนำไปใช้ในทางผิดแต่คำถามที่เกิดขึ้นมาพร้อมกัน คือ อันตรายที่อาจจะตามมาจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์

ภัยไซเบอร์ ‘AI voice chatbot’ แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปี 2024

Loading

ตามการคาดการณ์ของ WatchGuard เผยว่า ในปีหน้าจะได้เห็นพาดหัวข่าวเรื่องการโจรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Large Language Model (LLM), AI-based voice chatbots (แชทบอทที่ใช้เสียงสั่งการ), VR/MR headset สมัยใหม่ และอื่นๆ อีกมากมายเพิ่มมากขึ้น

LUCY ระบบตรวจจับเสียงด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับกู้ภัย

Loading

  การค้นหาผู้รอดชีวิตถือเป็นภารกิจสำคัญที่สุดในการกู้ภัย แต่ท่ามกลางภัยพิบัติหลายครั้งที่ผู้ประสบภัยอาจติดในซากปรักหักพังหรืออยู่ในหมอกควันหนาทึบ ยากต่อการค้นหาและเข้าช่วยเหลือ นำไปสู่การพัฒนา LUCY ระบบตรวจจับเสียงด้วยปัญญาประดิษฐ์ สำหรับค้นหาผู้รอดชีวิต   ภัยพิบัติ เรื่องที่เราต่างไม่อยากให้เกิดแต่กลายเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงได้ยากในปัจจุบัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงจากภาวะโลกร้อน แม้แนวทางแก้ไขเริ่มเป็นรูปร่างแต่ไม่สามารถทำได้ในเร็ววัน นั่นทำให้เราได้แต่ปรับตัวและพยายามหลีกเลี่ยงความเสียหายเท่าที่ทำได้   หนึ่งในแนวทางรับมือที่เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติคือ การกู้ภัย เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในพื้นที่ ค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายแรงและเร่งตรงเข้าช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการค้นหาผู้รอดชีวิตภายในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานมหาศาลซึ่งบางครั้งอาจสายเกินไป   นำไปสู่การพัฒนาระบบตรวจจับเสียงรุ่นใหม่ที่จะช่วยเพิ่มอัตราค้นหาผู้รอดชีวิตให้เพิ่มมากขึ้น     LUCY ระบบตรวจจับเสียงทรงประสิทธิภาพจากเอไอ ผลงานนี้เป็นของทีมวิจัยจากสถาบันวิจัย Fraunhofer Institute for Communication กับการคิดค้นระบบตรวจจับเสียงรุ่นใหม่ ที่สามารถตรวจจับเสียงร้องและสัญญาณเสียงขอความช่วยเหลือจากผู้รอดชีวิต และสามารถระบุตำแหน่งต้นเสียงได้ในเวลาไม่กี่วินาที   เมื่อเกิดภัยพิบัติร้ายแรงสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงย่อมเป็นชีวิตคน การค้นหา ให้ความช่วยเหลือ ไปจนอพยพจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน กระนั้นหลายครั้งการค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ภัยพิบัติก็เป็นเรื่องยาก เช่น กรณีค้นหาผู้รอดชีวิตจากตึกถล่มซึ่งต้องแข่งกับเวลา บางครั้งการค้นหาก็ทำได้ล่าช้าจนสายเกินไป   นำไปสู่การคิดค้นพัฒนาระบบตรวจจับเสียงอย่าง LUCY ที่อาศัยการพัฒนาจากชุดไมโครโฟนระดับไมโคร มีจุดเด่นด้านระดับความไวในการตรวจจับเสียง ผ่านไมโครโฟนตัวจิ๋วที่ได้รับการติดตั้งไว้ในระบบจำนวนกว่า 48 ตัว ช่วยให้ระบบนี้ตรวจจับเสียงรอบทิศทาง และนำมุมตกกระทบจากไมโครโฟนแต่ละตัวไปค้นหาแหล่งกำเนิดเสียงได้  …

GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google

Loading

  การพยากรณ์อากาศ หนึ่งในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง แต่หลายครั้งเราก็ต้องตั้งคำถามว่าสามารถเชื่อถือได้แค่ไหน เมื่อเราก็เคยเห็นพยากรณ์อากาศผิดพลาดมาหลายครั้ง แต่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปจากการมาถึงของ GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google   เมื่อพูดถึงการพยากรณ์อากาศอาจทำให้หลายท่านรู้สึกแคลงใจอยู่ไม่น้อย จริงอยู่อุตุนิยมวิทยาถือเป็นส่วนที่ช่วยคาดเดาสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้ามาหลายครั้ง ช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนมากมายจากเหตุร้ายหรือภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มาก   ในขณะเดียวกันเราเองก็ทราบดีว่าการพยากรณ์อากาศมีขีดจำกัด หลายครั้งข้อมูลที่พยากรณ์ออกมาล่วงหน้าเกิดการผิดพลาด หรือมีปัจจัยอื่นแทรกซ้อนเข้ามาจนไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงาน นำไปสู่การเกิดความเข้าใจผิดซึ่งชวนให้เรากังขาในข้อมูลที่ได้รับไม่มากก็น้อย   แต่ทุกอย่างอาจเปลี่ยนไปเมื่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ Google ได้ประการเปิดตัวสุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ     GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ ผลงานนี้มาจากบริษัท Deepmind ที่มีเจ้าของเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google กับการพัฒนาระบบ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ รูปแบบใหม่ในชื่อ GraphCast ที่สามารถพยากรณ์สภาพอากาศได้อย่างแม่นยำเป็นระยะเวลาถึง 10 วัน โดยอาศัยระยะเวลาในการประมวลผลเพียงนาทีเดียว   รูปแบบการทำงานของระบบพยากรณ์อากาศในปัจจุบันอาศัยระบบ Numerical Weather Prediction (NWP) โดยการตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศทั่วโลกในช่วงเวลานั้นๆ แล้วจึงนำข้อมูลดิบไปผ่านสมการทางฟิสิกส์เฉพาะบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงประมวลออกมาเป็นคำตอบ   ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์พวกเขาทำการป้อนข้อมูลอากาศย้อนหลังจำนวนมหาศาล GraphCast ได้รับการเทรนข้อมูลวิเคราะห์สภาพอากาศทั้งภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์ และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศทั่วโลก ข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลากว่า…

ฝ่าหลุนกง “ลัทธิชั่วร้าย” ที่รัฐบาลจีนสั่งแบน แต่เฟื่องฟูไปทั่วโลก รวมถึงไทย

Loading

GETTY IMAGES   หญิงสาวร่างดูเปราะบาง ไม่สวมรองเท้า หลบฝนอยู่ใต้ร่ม เธอยืนอยู่บนเสื่อพลาสติกผืนหนึ่ง พลางทำสมาธิกลางเสียงดนตรีและเสียงบทสวดทางจิตวิญญาณที่ดังออกมาจากเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่   หญิงคนนี้เป็นผู้ประท้วงหนึ่งเดียว ที่รณรงณ์ต่อต้านรัฐบาลจีนที่ปฏิบัติอย่างมิชอบต่อเหล่าผู้ศรัทธาในลัทธิฝ่าหลุนกง สถานที่ที่เธอกำลังประท้วงอยู่ คือหน้าตึกสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานประสานงานของรัฐบาลจีนในฮ่องกง   เดิมที จะมีประชาชนอีกหลายคนที่พร้อมใจมาร่วมประท้วงกับเธอ แต่นับแต่จีนบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ต่อฮ่องกงในปี 2020 ซึ่งทำให้ภาครัฐดำเนินคดีผู้ประท้วงได้ง่ายขึ้น สมาชิกฝ่าหลุนกงคนอื่น ๆ ก็ไม่กล้าออกมาประท้วงอย่างโจ่งแจ้ง   อันที่จริง การจะตามหาคนที่กล้าประกาศตนว่าเป็นสมาชิกฝ่าหลุนกง คุณต้องเดินทางออกนอกจีนและฮ่องกง ใกล้สุดก็คือ ไต้หวัน   ผู้ศรัทธาในฝ่าหลุนกงยังประท้วงต่อต้านจีน   ณ อาคารขนาดไม่ใหญ่นัก บริเวณชานกรุงไทเป กลุ่มผู้ปฏิบัติของฝ่าหลุนกง กำลังนั่งไขว้ขา ทำสมาธิ ภายในอพาร์ทเมนท์ที่อยู่ชั้นบนของอาคาร   พวกเขาท่องบทสวดและคำสอนของ หลี่ หงจื้อ ผู้ก่อตั้งฝ่าหลุนกง ออกมาอย่างดังกังวานและพร้อมเพรียง เหนือกำแพงขึ้นไปคือภาพของผู้นำลัทธิ   ความแตกต่างจากจีนคือ ที่ไต้หวันนั้น สมาชิกลัทธิสามารถปฏิบัติธรรมตามคำสอนของฝ่าหลุนกงได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกจับกุม   ปัจจุบัน ผ่านมา 2 ทศวรรษแล้ว นับแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สั่งห้ามลัทธิฝ่าหลุนกง…

5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 66 อาชญากรรมไซเบอร์ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้าน

Loading

  5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ที่ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี   ต้องยอมรับว่า ‘มิจฉาชีพ’ มีหลากหลายรูปแบบและสามารถเข้าถึงตัวเราได้ในหลายช่องทาง ยิ่งในยุคนี้ที่การสื่อสารเปิดกว้าง แทบจะทุกคนมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ในส่วนของข้อดีโทรศัพท์ได้ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างกันเป็นไปได้สะดวกง่ายขึ้น แต่ส่วนภัยร้ายที่แฝงมาก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียจนถึงชีวิตได้เช่นกัน   ก่อนจะพูดถึง 5 คดีความเสียหายหายที่เกิดจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ทีมข่าว TNN Online ได้สรุปตัวเลขเหตุอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาให้พิจารณา ซึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น คนไทยต้องสูญเสียทรัพย์สินให้กับการหลอกลวงรูปแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท   อ้างอิงสถิติแจ้งความออนไลน์จากเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 365,547 เรื่อง   แบ่งเป็นคดีออนไลน์ จำนวน 336,896 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 45,738,507,864 บาท ตำรวจติดตามอายัดบัญชีได้ 167,347 บัญชี…