“ยานยนต์ไร้คนขับ” ประเด็นกฎหมายที่ต้องพิจารณา

Loading

  เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีที่คนทั้งโลกเฝ้ารอ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้ง Apple Google Sony Tesla และ Toyota ต่างกำลังแข่งขันกันพัฒนาระบบ   นอกจากความสะดวกสบายของผู้ใช้ยานยนต์ไร้คนขับแล้ว การใช้ยานยนต์ไร้คนขับอย่างแพร่หลายยังเป็นที่คาดหมายว่า จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมากอีกด้วย เนื่องจากการศึกษาของหลายสถาบัน อุบัติเหตุบนท้องถนนประมาณร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากคนขับ   นอกจากนี้ หลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะที่เข้าสู่สังคมสูงวัยยังคาดหมายว่า ยานยนต์ไร้คนขับจะเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาการขนส่งสาธารณะอีกด้วย   ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เพื่อเตรียมใช้สำหรับการขนส่งสาธารณะในภาพรวม ในปัจจุบันมีการทดลองให้บริการแล้วที่ Garden by the Bay   ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดฟุคุอิก็ให้บริการยานยนต์ไร้คนขับ ระดับ 4 (ระดับที่คนขับไม่จำเป็นต้องทำการขับขี่ยานยนต์) เป็นครั้งแรกของประเทศ   รถยนต์ไม่ต้องมีคนขับหรือบทบาทของคนขับนั้นน้อยลง เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คำถามที่ตามมาคือ หากเกิดอุบัติเหตุใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ?   หากดูเรื่องของอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบภาพรวม ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคบังคับจะยังเหมาะสมหรือไม่?   ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับ ที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกัน เป็นระบบที่มีเบื้องหลังส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุที่ว่า  …

กบฏคืออะไรในทัศนะ ‘อัลแบรต์ กามูส์’

Loading

  อัลแบรต์ กามูส์ (ปี 2456-2503) เป็นนักเขียนนวนิยาย บทละครและความเรียงเชิงปรัชญาชาวฝรั่งเศส เกิดและเติบโตในอาณานิคมแอลจีเรีย (แอฟริกา) ของฝรั่งเศส   คนไทยแปลและพิมพ์วรรณกรรมของเขาออกมาหลายเล่ม และขายได้ค่อนข้างดีด้วย นวนิยายที่เด่นที่สุดคือ เรื่อง คนนอก หรือ คนแปลกหน้า ที่มีผู้แปลเป็นไทยไว้ 2 สำนวน   มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคมแปลและพิมพ์งานของกามูส์หลายเล่ม เช่น คนแปลกหน้า และ ผู้ตกต่ำ (นวนิยาย) ผู้เที่ยงธรรม (บทละคร) และ เทพตำนานซีซีฟ (ความเรียง)   นอกจากเป็นนักเขียนนวนิยายผู้มีชื่อเสียง ได้รับรางวัลโนเบลตั้งแต่วัยหนุ่มแล้ว กามูส์ยังมีแง่คิดจากปรัชญาชีวิตและสังคมที่น่าสนใจ แนวคิดของกามูส์มีความกว้างขวาง ซับซ้อน มากกว่าน่าจะประทับตราว่าเขามีปรัชญาแบบไหน (กามูส์ปฏิเสธที่จะถูกประทับตราว่าเป็นพวกปรัชญา Existentialism มนุษย์เป็นอิสรชนที่มีเจตจำนงเสรีในการตัดสินใจเองและต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง) แม้ว่าแนวคิดในนวนิยายของเขามีแนวโน้มไปในทางนั้น   รูปจาก: คนบ้าหนังสือ – Madman Books   กามูส์เรียนมาทางปรัชญาและอ่านหนังสือมาก ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาตั้งแต่ยุคกรีกโรมันโบราณ (เช่น ปรัชญาสโตอิก)…

สงครามใต้พิภพ (2) สงครามอุโมงค์ในยุคสมัยใหม่

Loading

“สงครามใต้พิภพมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ จนกลายเป็นเทคนิคสำหรับการลดค่าของประสิทธิภาพในการใช้กำลังทางอากาศ” Major Donald M. Heilig (US. Army)   การทำสงครามใต้พื้นผิวของโลก (Subterranean Warfare) ที่มีนัยถึงการทำสงครามใต้ดินในทางกายภาพนั้น เป็นสิ่งที่เกิดมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ และสงครามอุโมงค์เป็นตัวอย่างรูปธรรมของสงครามในแบบแผนเช่นนี้ สงครามในบริบทของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เช่นนี้เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยของการสงคราม และพัฒนาไปสู่การเป็น “ทฤษฎีการสงครามใต้ดิน”   สาเหตุส่วนหนึ่งแห่งการกำเนิดของสงครามชุดนี้ อาจเป็นผลจากประสบการณ์ของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ที่เคยอาศัยถ้ำทางธรรมชาติเป็นที่พักพิง และ/หรือหลบภัย อันเป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชีวิตประจำวันเป็นเครื่องมือของการปกป้องตัวมนุษย์เอง เช่น ถ้ำหรือโพรงดินต่างๆ เป็นต้น   ซึ่งสภาพของเหล่านี้เอื้อประโยชน์โดยตรงต่อการทำเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังใช้ในการป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่า หรือจากมนุษย์ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามได้อีกด้วย   อุโมงค์ในบริบททางทหาร ฉะนั้น ถ้าหรืออุโมงค์ในเบื้องต้นจึงถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะของการป้องกันเป็นด้านหลัก แต่เมื่อมีวิวัฒนาการยาวนานขึ้น ถ้ำเหล่านี้อาจถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของการโจมตีได้ด้วย เช่น การขุดอุโมงค์ไปใกล้เป้าหมายที่ต้องการจู่โจม การใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขทางธรรมชาติเช่นนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในเรื่องของ “สงครามใต้พิภพ” ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อของการสงครามทางบก   ว่าที่จริงแล้ว นักการทหารในแต่ละยุคมีประสบการณ์กับสงครามในลักษณะเช่นนี้มาโดยตลอด แม้ในโลกสมัยใหม่ก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่ง สงครามใต้พิภพเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในทางการทหารแต่อย่างใด   บันทึกใน “สงครามยุคคลาสสิค” ของโพลิบิอุส ( Polybius)…

สงครามใต้พิภพ (1) สงครามอุโมงค์จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Loading

“สงครามอุโมงค์เอื้อให้กองทหารที่เผชิญหน้ากับข้าศึกที่มีความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีนั้น มีหนทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการใช้กำลังทางอากาศที่เหนือกว่า” The Jerusalem Center for Public Affairs (2014)   เรื่องของอุโมงค์ในฉนวนกาซาไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างแน่นอน หากแต่เดิมนั้นอุโมงค์ไม่ได้ทำหน้าที่ในทางทหาร หากเป็นอุโมงค์ถูกจัดทำเพื่อใช้ในการลักลอบนำสิ่งของต่างๆ ผ่านการปิดพรมแดนของรัฐบาลอียิปต์ที่ด่านราฟาห์ (Rafah) การลักลอบเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แล้ว และยิ่งเมื่อเกิดการปิดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทั้งทางอียิปต์และอิสราเอลในปี 2007 อุโมงค์เช่นนี้ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกับชีวิตที่ดำเนินไปในกาซา   กล่าวคือ อุโมงค์กลายเป็นเส้นทางของการลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่ของกาซ่า และโดยนัยคืออุโมงค์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ   พร้อมกันนี้อุโมงค์ดังกล่าวก็มีพัฒนาการมากขึ้น ทั้งในเรื่องของขนาด ความซับซ้อน และความแข็งแรง จนในเวลาต่อมา อุโมงค์เริ่มถูกใช้ในอีกภารกิจหนึ่งคือ อุโมงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร จนทำให้นักการทหารในโลกปัจจุบันต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องราวเก่าแก่ในวิชาประวัติศาสตร์สงคราม คือ สงครามอุโมงค์ (Tunnel Warfare) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามใต้พิภพ” (Subterranean Warfare) เพราะเป็นสงครามที่ทำในระดับใต้พื้นผิวของโลก (Underground Warfare) [คำว่า “subterranean” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวที่เรามองไม่เห็น]   คำอธิบายที่น่าสนใจของตัวประกันหญิงอาวุโสชาวอิสราเอลชื่อ Yocheved Lifshitz…

กบฏฮูตีเป็นใคร ทำไมมายุ่งในสงครามอิสราเอล-โจมตีเรือในทะเลแดง

Loading

  •   กลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน ยกระดับการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง เพื่ออ้างว่าต่อต้านอิสราเอล ที่สังหารผู้คนมากมายในฉนวนกาซา •   การโจมตีของฮูตีทำให้บริษัทขนส่งรายใหญ่เริ่มเลี่ยงเส้นทางทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป •   ขณะเดียวกัน นานาชาติก็เริ่มถูกดึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งครั้งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจ 10 ประเทศ เพื่อคุ้มครองการเดินเรือในทะเลแดงแล้ว   ฮูตี กลุ่มกบฏในเยเมนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศอิหร่าน ยกระดับการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงมากขึ้นตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อ้างว่า ทำเพื่อล้างแค้นอิสราเอลที่มีปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซา ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ต้องสูญเสียชีวิตไปมากกว่า 18,000 ศพ   กลุ่มกบฏฮูตี เป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งในสงครามกลางเมืองเยเมนที่ดำเนินมานานเกือบ 10 ปี ยึดภาคเหนือของประเทศ และบางส่วนของเมืองหลวงเอาไว้ได้สำเร็จ ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ฮูตีโจมตีอิสราเอลหลายครั้ง โดยแสดงตัวว่าสนับสนุนกลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มอักษะต่อต้านตะวันตกของพวกเขา   ขณะที่การโจมตีเรือในทะเลแดงกำลังสร้างความปวดหัวอีกแบบให้แก่อิสราเอลและชาติพันธมิตร นั่นคือผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ตอนนี้บริษัทขนส่งทางเรือยักษ์ใหญ่ และบริษัทน้ำมันบางเจ้า เริ่มระงับการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบในทะเลแดง อันเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดของโลกแล้ว   ความเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกก็กำลังดึงหลายประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้ง เพราะล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจ 10 ประเทศ เพื่อคุ้มกันน่านน้ำทะเลแดง ส่วนฝ่ายกบฏฮูตีก็ยืนกรานว่า พวกเขาจะไม่หยุดโจมตีจนกว่าอิสราเอลจะยุติสงครามในฉนวนกาซา  …

‘พรรณนภา จันทรารมย์’ ทูตไทยในอิสราเอลตอบทุกประเด็น ภารกิจพาตัวประกันไทยกลับบ้าน

Loading

พรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล   ‘พรรณนภา จันทรารมย์’ ทูตไทยในอิสราเอลตอบทุกประเด็น ภารกิจพาตัวประกันไทยกลับบ้าน   ๐ อยากให้เล่าถึงสถานการณ์ในวันเกิดเหตุจับตัวประกันว่าเป็นอย่างไร กว่าที่เราจะได้ทราบว่ามีคนไทยที่ได้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกัน สถานทูตทราบเรื่องการจับตัวประกันคนไทยจากภาพที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ และจากการที่เพื่อน ๆ แรงงานแจ้งว่าเพื่อนของพวกเขาถูกจับตัวไป และจากการที่ครอบครัวแรงงานไทยหลายคนไม่สามารถติดต่อแรงงานไทยได้ก็ได้แจ้งชื่อมายังสถานทูค ทางสถานทูตจึงได้จัดทำรายชื่อคนที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกัน และรายชื่อคนสูญหายเบื้องต้นและประสานแจ้งทางการอิสราเอลให้ช่วยสืบหา ซึ่งใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์กว่าที่สถานทูตจะได้รับรายชื่อบุคคลรายแรกที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกันจากทางการอิสราเอล และได้มีการทยอยแจ้งเป็นระลอก ๆ   ในส่วนคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บ สถานทูตได้รับแจ้งจากนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในช่วงต้นที่สถานทูตกำลังมีภารกิจอพยพคนไทย ก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายแรงงานของสถานทูตไปเยี่ยมและติดตามสิทธิประโยชน์จากทางการอิสราเอล   ขณะที่ในส่วนของผู้เสียชีวิตคนไทยเป็นการแจ้งจากองค์กรตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) มายังสถานทูต ซึ่งระยะเวลาการได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการมีความแตกต่างกัน ทั้งจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และจากการที่สภาพศพต้องรอ DNA จากญาติของบุคคลที่คาดว่าจะเสียชีวิตมาตรวจสอบก่อนที่จะยืนยันอย่างเป็นทางการ   ๐ ระหว่างนั้นนอกจากตัวประกันที่ถูกจับไปแล้ว ยังมีภารกิจในการอพยพแรงงานไทยกลับบ้านด้วย การทำงานภายใต้ข้อจำกัดมากมายและภาวะสงครามเป็นอย่างไร ภารกิจอพยพในช่วงต้นมีปัญหาเรื่องการเดินทาง อุปสรรคใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการที่แรงงานยังไม่สามารถออกจากพื้นที่สีแดงได้ เนื่องจากมีจรวดโจมตีเป็นระลอก ส่งผลให้การเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยจะต้องประสานผ่านกองทัพอิสราเอลเพื่อขออนุญาตเข้าพื้นที่ และเพื่อให้มีการคุ้มกันเพื่อความปลอดภัย อุปสรรคต่อมาคือสถานทูตจำเป็นต้องหาบริษัทเพื่อเช่ารถรับ-ส่งแรงงาน…