ว่าด้วยการเผยแพร่เอกสารราชการของสื่อมวลชน

Loading

จากกรณี น.ส.พ.ข่าวสด (www.khaosod.co.th/politics/news_3056014) รายงานข่าวหัวข้อ “บิ๊กตู่ ไอเดียบรรเจิด สั่งหามาตรการ ดึงเงินประกันสังคมปล่อยกู้” : วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 – 15:36 น. ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูลราชการของสื่อมวลชนต่อสาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรัฐบาล รายละเอียด คือ “บิ๊กตู่ – เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือ ด่วน ที่ นร 0505/ว 459 แจ้งถึงข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้ส่วนราชการรับทราบว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 พ.ย. นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการหลัก ๆ 3 ประเด็น โดยข้อที่น่าสนใจ นั้นคือ สั่งให้กระทรวงแรงงาน…

ว่าด้วยความสำคัญของบัตรประจำตัว

Loading

การติดบัตรประจำตัวนับเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ เนื่องจากเป็นวิธีการควบคุมบุคคลที่จะผ่านเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่หวงห้ามของหน่วยงาน และเป็นการพิสูจน์ทราบตัวบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสิทธิผ่านเข้า-ออกพื้นที่ของหน่วยงานเหล่านั้นได้จริง อย่างเช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน กลุ่มผู้มาติดต่อ  กลุ่มผู้ร่วมประชุม เป็นต้น อีกทั้งรูปแบบหรือสีของบัตรประจำตัวที่กำหนดไว้ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานสามารถแบ่งแยกเบื้องต้นได้ว่า กลุ่มผู้ติดบัตรประจำตัวอยู่ในกลุ่มใด หรือสังเกตเห็นได้ว่าผู้ติดบัตรประจำตัวล่วงล้ำเข้าสู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต  ขณะนี้มาตรการติดบัตรประจำตัวนี้ไม่กำหนดชัดเจนในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ มีเพียงระบุไว้ในคู่มือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยหน่วยงานภาครัฐฝ่ายพลเรือน ซึ่งจัดทำเมื่อปี 2553 โดยสำนักข่าวกรองแห่งชาติในฐานะองค์การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติฝ่ายพลเรือน สำหรับให้หน่วยงานของรัฐและองค์การอิสระฝ่ายพลเรือน นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกแล้ว เป็นระเบียบที่ให้ความสำคัญต่อบัตรประจำตัวและกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจน โดยถือว่า บัตรประจำตัวเป็นเอกสารราชการที่ใช้แสดงฐานะเจ้าของบัตรต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ถึงสิทธิในการผ่านเข้า-ออกพื้นที่ส่วนราชการ ขณะผ่านจุดตรวจหรือช่องทางเข้า-ออก เพื่อเข้าสู่เขตที่มีการรักษาความปลอดภัย ทั้งยังใช้เป็นหลักฐานควบคุมบุคคลทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะต่อกรณีที่พบการกระทำความผิดหรือละเมิดกฎระเบียบที่กำหนดไว้ในหน่วยงานรัฐ ตลอดจนยังเป็นเอกสารเฉพาะตัวบุคคลที่ยืนยันถึงการได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงและระดับชั้นที่ให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับหรือมีความสำคัญของราชการ หรือแสดงถึงการได้รับอนุญาตให้ผ่านหรือเข้าไปปฎิบัติงานในพื้นที่ควบคุมหรือเขตหวงห้าม รวมทั้งในพื้นที่ที่จัดการประชุมลับอีกด้วย  แม้ว่าในปัจจุบันมาตรการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวจะยังกำหนดใช้ภายในหน่วยงานของรัฐ แต่ก็มิได้สร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของบัตรประจำตัวหรือมิได้เข้มงวดในการถือปฏิบัติมากนัก เช่น บัตรประจำตัวต้องติดที่อกเสื้อ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน และให้ติดไว้ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ถึงแม้ขณะนี้ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรประจำตัวจะไม่มีความชัดเจนในระเบียบราชการว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนก็ตาม แต่หากหน่วยงานของรัฐเห็นถึงความสำคัญก็สามารถกำหนดขึ้นเป็นระเบียบภายใน เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ครอบครองของหน่วยงานของรัฐนั้น ถือปฏิบัติตามตลอดระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ก็ได้ ตัวอย่างหน่วยงานของรัฐที่กำหนดเป็นระเบียบภายใน ได้แก่ รัฐสภาเรียกว่า ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา พ.ศ.2559 ระบุถึงเช่นนี้ ข้อ 5 ในระเบียบนี้…

ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…

ว่าด้วยเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ

Loading

  จากวิทยาการสมัยใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลต่อรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ เช่น ข้อมูลข่าวสารในหนังสือ กับข้อมูลข่าวสารที่จับต้องไม่ได้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่บันทึกด้วยสัญญาณ ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์แปลงสัญญาณนั้นก่อน จึงจะสื่อความเข้าใจได้ เช่น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากการนำมาใช้งานของส่วนราชการ ข้อมูลข่าวสารทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวจึงถูกแบ่งลักษณะออกเป็นข้อมูลข่าวสารทั่วไป และข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับหรือมีความสำคัญ จากลักษณะการใช้งานนี้จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดระเบียบราชการ เพื่อเป็นแนวทางบริหารและปฏิบัติ กับเป็นแนวทางดูแล คุ้มครองและป้องกันการสูญหาย ถูกปรับเปลี่ยน แก้ไขเนื้อความไปจากเดิม หรือถูกนำไปเปิดเผยก่อนเวลาอันควร หรือรั่วไหลไปสู่ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ สำหรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ปฏิบัติงานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารบันทึกบนกระดาษ นับเป็นประเภทหนึ่งของข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ จำเป็นต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับเอกสารราชการ เพื่อให้หน่วยงานทุกประเภทของรัฐอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน ที่สำคัญคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ซึ่งเป็นแนวทางบริหารจัดการงานเอกสารราชการ สำหรับการดูแล คุ้มครอง และป้องกันนั้น แต่เดิมถือปฏิบัติตามบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 แต่ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และเพื่อให้รองรับมาตรา 16 และมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งเนื้อความของระเบียบการรักษาความลับของทางราชการนั้นปรับมาจากบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517…

กฎหมายและระเบียบราชการเกี่ยวกับข้อมูลประวัติการกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษ

Loading

          ความชัดเจนของข้อมูลประวัติส่วนบุคคลนับว่ามีส่วนสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากพบข้อมูลประวัติว่าเคยกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของประวัติในแง่ใดแง่หนึ่ง เมื่อต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณา อย่างเช่น การบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหลักการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน ถึงแม้จะมีการเอื้อโอกาสในทางกฎหมายและระเบียบราชการสำหรับผู้มีประวัติฯ ก็ตาม        กฎหมายและระเบียบราชการที่สำคัญ ซึ่งเอื้อโอกาสสำหรับผู้มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายหรือถูกพิพากษาให้ได้รับโทษ ได้แก่         1. พระราชบัญญัติล้างมลทิน จากขบวนการกระทำความผิดกฎหมาย วินัยทางราชการ จนกระทั่งได้รับการพิจารณา พิพากษาลงโทษนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ         ส่วนแรก คือ การกระทำความผิดจนถูกพิจารณาลงโทษ         ส่วนหลัง คือ การได้รับโทษตามกฎหมายหรือพ้นโทษมาแล้ว หรือถูกลงโทษจากความผิดต่าง ๆ…