เหตุการณ์ประท้วงสายการบินฯ ท่าอากาศยานนานาชาติอิสลามาบัต เมื่อ 14 พ.ย.61

Loading

  กรุงอิสลามาบัต ปากีสถาน เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2561           กลุ่มผู้โดยสารสายการบินปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (Pakistan International Airlines : PIA) เที่ยวบิน PK-607 เส้นทาง อิสลามาบัต-กิลกิท ทำการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจำท่าอากาศยานนานาชาติอิสลามาบัต ถึงสาเหตุที่เที่ยวบินดังกล่าวต้องเลื่อนการเดินทางออกไปอย่างไม่มีกำหนดเวลา โดยเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลการเลื่อนกำหนดครั้งแรกว่ามาจากปัญหาทางเทคนิค และเหตุผลในการเลื่อนกำหนดครั้งที่ 2 มาจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย โดยระหว่างการสอบถามมีทหารประจำท่าอากาศยานเข้ามาร่วมการชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ด้วย   ภาพ : บันทึกโดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์         แต่การชี้แจงของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นผล ผู้โดยสารเที่ยวบิน PK-607 บางส่วนยังคงไม่พอใจและแสดงท่าทีประท้วง เจ้าหน้าที่สนามบินจึงได้นำเครื่องดับเพลิงมาฉีดสลายการประท้วงดังกล่าว เพื่อยับยั้งไม่ให้สถานการณ์บานปลาย   ———————————————————————————————————-   จัดทำโดย : องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน

กรณีการวางเพลิงรัฐสภาที่กรุงอาซัยซีออง ปารากวัย เมื่อ 1 เมษายน 2560

Loading

จากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต่อต้านการลงมติของวุฒิสภาปารากวัย สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประธานาธิบดีแห่งปารากวัยสามารถบริหารประเทศได้หลายสมัย ส่งผลให้การชุมนุมประท้วงขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจล และกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าทำลายและวางเพลิงอาคารรัฐสภาที่กรุงอาซัยซีออง ปารากวัย ในช่วงกลางคืนของวันที่ 31 มีนาคม 2560 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ของทางการปารากวัยจากการเผยแพร่ภาพของสื่อมวลชนและจาก Social Network สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. คาดว่า หน่วยงานด้านความปลอดภัยของทางการปารากวัยประเมินสถานการณ์การชุมนุมประท้วงการลงมติของวุฒิสภาในครั้งนี้ต่ำเกินไป ต่อเมื่อขยายความรุนแรงจนกลายเป็นการจลาจลจึงไม่ได้เตรียมมาตรการรองรับที่เหมาะสมกับเหตุร้ายที่เกิดขึ้น     1.1 ปรากฎภาพกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากบริเวณภายนอกทางเข้าอาคารรัฐสภา ช่วงเย็นวันที่ 31 มีนาคม 2560 ซึ่งยังมิได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะขยายความรุนแรงเป็นการจลาจล    1.2 เมื่อปรากฏข่าวสารว่า วุฒิสภาบางส่วนทำการหารืออยู่ในอาคารรัฐสภาและลง มติลับสนับสนุนให้แก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งได้เพียงสมัยเดียว เป็นผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจอย่างยิ่ง และต้องการขัดขวางการหารือของวุฒิสภา  ผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน จึงบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาชั้นล่างแต่ยังมิได้มีการทำลายทรัพย์สินในอาคารรัฐสภา ขณะเดียวกันไม่ปรากฏรายงานข่าวสารว่าฝ่ายรัฐบาล ดำเนินการควบคุมหรือป้องกันใดๆอย่างไรก็ดี รายงานข่าวสารของสื่อมวลชนต่างชาติแจ้งว่า กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้นำเอกสารและวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงมารวมไว้ที่ด้านนอกอาคารรัฐสภา และก่อเพลิงจนลุกไหม้อาคารชั้นล่าง    1.3 การแสดงออกของผู้ชุมนุมขณะเพลิงไหม้อาคารรัฐสภา จะเห็นว่า ผู้ชุมนุมไม่มีความกังวลต่อความผิดจากการก่อการจลาจล ทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาระงับเหตุที่เกิดขึ้นอีกด้วย  …

การประเมินมาตรการรักษาความปลอดภัยจากภาพกรณีการชุมนุมประท้วงและการควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองเซนต์หลุยส์ สหรัฐฯ

Loading

รูปภาพการรายงานข่าวสารของสื่อมวลชนทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศเกี่ยวกับกรณีกลุ่มประชาชนจำนวนหลายร้อยคนออกมาชุมนุมระหว่าง 15-18 กันยายน 2560ในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรีสหรัฐฯ เพื่อประท้วงคำตัดสินของศาลยุติธรรมที่ให้ยกฟ้องคดีนายเจสัน สตอกลีย์ อดีตตำรวจเมืองเซนต์หลุยส์ จากข้อหาเจตนาฆ่านายแอนโธนี ลามาร์ สมิธ ชายผิวดำด้วยเหตุต้องสงสัยค้ายาเสพติด เมื่อเดือนธันวาคม 2554 เหตุการณ์ประท้วง 15 กันยายน 2560 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 33คนเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 นาย การเริ่มต้นเดินขบวนประท้วงของประชาชนเป็นไปโดยสงบ ช่วงบ่ายจนถึงกลางคืน/ภาพจากรอยเตอร์ ระหว่างการชุมนุมประท้วงช่วงบ่าย ปรากฎกลุ่มคนผิวดำถืออาวุธปืนหลายประเภทเข้าร่วมในกลุ่มเดินขบวน / ภาพจาก AP ข้อพิจารณา จากภาพนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการควบคุมอย่างเข้มงวดกับผู้ชุมนุมประท้วงมากขึ้น ช่วงเย็นเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอุปกรณ์ป้องกันความรุนแรงเริ่มทำการควบคุมพื้นที่ ด้วยการตั้งแถวปะทะกับผู้ประท้วงบางส่วน  / ภาพจากรอยเตอร์ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล เตรียมความพร้อมอาวุธและหน้ากากป้องกันแก๊ซพิษ เนื่องจากกลุ่มผู้เดินขบวนประท้วงเริ่มใช้ความรุนแรงทำลายสิ่งของสาธารณะและทำการขว้างปาก้อนหินใส่บ้านนายกเทศมนตรีเมืองเซนต์หลุยส์ / ภาพจากรอยเตอร์ ในช่วงเย็น เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลแจ้งว่า ควบคุมกลุ่มคนที่ก่อเหตุรุนแรงด้วยการฉีดสเปรย์พริกไทย แต่กลุ่มผู้ประท้วงอ้างว่าเป็นแก๊ซน้ำตา /ภาพจากรอยเตอร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนพลาสติก จับกุมตัวผู้ที่ใช้ก้อนหินขว้างปาอาคารพานิชย์ / ภาพจากรอยเตอร์ ข้อพิจารณา การประท้วงวันแรกจะเห็นว่า กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เพียงกระบองเป็นอาวุธควบคุมยังไม่นำปืนกลมาใช้ ภาพเหตุการณ์ประท้วง 16 กันยายน …

ฝรั่งเศสเผยเอกสารลับชี้เหตุประหาร “มาตา ฮารี” เมื่อ 100 ปีก่อน

Loading

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ปี 1917 นางมาร์คารีตา เจลเลอ (Margaretha Zelle) หญิงชาวดัตช์วัย 41 ปี ถูกศาลสั่งประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าที่ลานแห่งหนึ่งชานกรุงปารีสของฝรั่งเศส ในขณะนั้นแทบไม่มีใครรู้จักหญิงชื่อดังกล่าว แต่สาเหตุที่ทำให้เธอต้องโทษร้ายแรงกลับมาจากตัวตนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งผู้คนรู้จักกันดีภายใต้โฉมหน้าของนักเต้นระบำเลื่องชื่อผู้ทรงเสน่ห์ “มาตา ฮารี” ทางการของหลายชาติในยุโรปเชื่อว่า เธอคือสายลับตัวอันตราย ที่คอยสร้างความปั่นป่วนให้กับสมรภูมิรบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การตายของเธอยังคงเป็นปริศนาว่า ตัวตนของจารชนรหัส “H21” ซึ่งก็คือนักเต้นสาวผู้โด่งดังคนนี้ ถูกเปิดเผยขึ้นได้อย่างไร และใครคือผู้บงการให้เธอต้องจบชีวิตลงกันแน่ และที่สำคัญที่สุด มีนักประวัติศาสตร์หลายคนตั้งคำถามว่า เธอคือสายลับมือฉมังผู้อุทิศตนรับใช้เยอรมนี หรือแค่ผู้หญิงธรรมดาที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จนถูกสถานการณ์ชักนำให้ต้องจำยอมทำหน้าที่ล้วงความลับของคู่สงครามทั้งสองฝ่ายกันแน่ “เที่ยวบินสุดท้าย” ของนักบินสงครามโลกครั้งที่ 2 ครบรอบ 50 ปี เช เกวารา: 10 ข้อน่ารู้ของนักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา ในวาระที่ครบรอบหนึ่งศตวรรษมรณกรรมของมาตา ฮารี กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสได้เปิดเผยเอกสารลับจำนวนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีและการประหารสายลับสาวผู้นี้ออกสู่สาธารณะเป็นครั้งแรก ในจำนวนนี้รวมถึงบันทึกการสอบปากคำมาตา ฮารีโดยหน่วยต้านจารกรรมของฝรั่งเศส และสำเนาโทรเลขของทูตทหารเยอรมันที่เป็นต้นเหตุให้เธอถูกจับกุมอีกด้วย   เด็กหญิงมาร์คารีตา เจลเลอ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวดัชต์ที่มีฐานะ แต่ต่อมาพ่อของเธอล้มละลายและแม่ก็ตายจากไปตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้ชีวิตวัยเยาว์ของเธอต้องยากลำบาก…

คดีวอเตอร์เกต

Loading

คดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal)  กรณีอื้อฉาวทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติงานของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) และการติดตามรายงานข่าวสารของหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์จับกุมชายห้าคนที่ลักลอบโจรกรรมข้อมูลจากที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ในอาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ17 มิถุนายน 2515 คณะทำงานของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจรกรรมดังกล่าว การในคดีลักลอบโจรกรรมใหญ่พรรคเดโมแครตที่อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์FBIเข้ามาทำการสืบสวนจนเชื่อมโยงเส้นทางการเงินของคนร้ายทั้งห้าคนจนพบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มระดมทุนสนับสนุนประธานาธิบดีนิกสันในการลงแข่งขันเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2  โดยหลักฐานทั้งหมดบ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดีนิกสันทำการทุจริต  จากการสืบสวนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2516 คณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตซึ่งแต่งตั้งโดยวุฒิสภา รายงานว่าภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนิกสันมีระบบบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกการสนทนาต่างๆ เป็นจำนวนมากใจความจากเทปบันทึกเสียงนี้ชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีนิกสันเคยพยายามปกปิดการมีส่วนรู้เห็นต่อการโจรกรรมข้อมูลของพรรคเดโมแครต ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐฯ จึงมีคำสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมดแก่พนักงานสืบสวน ประธานาธิบดีนิกสันจึงต้องยอมส่งมอบเทป  จากการสืบสวนและพิจารณาในชั้นศาลส่งผลให้ประธานาธิบดีนิกสัน ต้องลาออกจากตำแหน่ง เมื่อ 9 สิงหาคม 2517 นับเป็นการลาออกจากตำแหน่งครั้งแรกของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ จากเหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้องการไต่สวนการลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันด้วย นอกจากการสืบสวนของ FBI  และการสอบสวนของคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตแล้ว  การติดตามรายงานข่าวสารคดีนี้โดยตลอด ของ เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯ  ทำให้ FBI จำเป็นต้องทำการสืบสวนพร้อมกับผลักดันให้หน่วยงานพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีนิกสัน ประธานาธิบดีนิกสันขณะเดินทางออกจากทำเนียบขาว ก่อนการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2517

ชี้สารพิษสังหารคิม จอง นัม เป็น “อาวุธทำลายล้างสูง”

Loading

ตำรวจมาเลเซียแถลงว่าจากการตรวจสอบสารพิษที่ใช้ปลิดชีวิตนายคิม จอง นัม พี่ชายต่างมารดาของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ พบว่าเป็นสารพิษต่อระบบประสาท “VX nerve agent” ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำหนดว่าเป็นอาวุธทำลายล้างสูง สิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารพิษ VX nerve agent เป็นของเหลวไม่มีรสชาติ ไม่มีกลิ่น มีสีเหลืองอัมพันใส เป็นสารเคมีที่ใช้ในสงครามซึ่งมีพิษร้ายแรงที่สุด การสัมผัสสาร VX เพียงหยดเดียวบนผิวหนังมีอันตรายถึงชีวิต และทำให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำงานโดยซึมผ่านเข้าทางผิวหนังและทำลายการถ่ายทอดกระแสประสาท สามารถแพร่กระจายด้วยการฉีดพ่น ไอระเหย หรือใช้ผสมในน้ำ อาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากการสูดดม รับประทาน สัมผัสทางผิวหรือ หรือดวงตา จะตกค้างอยู่บนเสื้อผ้าได้นาน 30 นาที หลังสัมผัสกับไอระเหยของสารพิษนี้ ซึ่งจะกระจายไปยังผู้อื่นได้ การสัมผัสกับสารพิษนี้ในปริมาณน้อยทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ปวดตา สายตาพร่ามัว น้ำลายไหลยืด และเหงื่อออกในปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจเร็ว มีปัสสาวะมาก สับสน วิงเวียน อ่อนแรง หรืออาเจียน มีชื่อเป็นทางการว่า S-2…