คนร้ายปาระเบิดแบบ Molotov cocktail ใสไนท์คลับใกล้กรุงไคโร

Loading

คนร้ายปาระเบิดแบบ Molotov cocktail ใสไนท์คลับใกล้กรุงไคโร อียิปต์ เมื่อ 5 ธ.ค.58 เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 16 บาดเจ็บ 5 ทางการอียิปต์แจ้งว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายเป็นเพียงอาชญากรรม Molotov cocktail เป็นระเบิดเพลิง ที่สามารถผลิตได้เองและเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก ไม่ต้องใช้ดินระเบิด เมื่อนำมาใช้กับสถานที่ที่ปิดทึบและทางเข้า-ออกแคบจะสร้างความเสียหายได้ดียิ่ง ที่มา : CNN Updated 1846 GMT (0246 HKT) December 4, 2015 Link : http://www.newsjs.com/url.php?p=http://www.cnn.com/2015/12/04/middleeast/egypt-nightclub-molotov-cocktail-attack/  

การคุกคามด้วยวัตถุระเบิด

Loading

เหตุผลในการคุกคามด้วยวัตถุระเบิด การคุกคามด้วยวัตถุระเบิดพิจารณาได้ 2 สาเหตุ ผู้ทำกระทำเพราะ ต้องการสร้างความเสียหายให้แก่เป้าหมายตามที่ตนกำหนดหรือคาดการณ์ไว้ ผู้ทำกระทำเพื่อ ให้เกิดความตื่นตระหนก หวาดกลัว จนฝ่ายปกครองไม่สามารถควบคุมความตื่นตระหนก หวาดกลัวที่เกิดขึ้นได้ การเตรียมการเพื่อเผชิญกับการลอบวางระเบิด ต้องมีการประเมินพื้นที่ที่เอื้อหรืออาจเอื้อต่อการลอบวางระเบิดไว้ก่อน เช่น ที่จัดเก็บน้ำมัน/แก๊ซ พื้นที่จัดเก็บสารเคมี เป็นต้น การเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวและผลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต้องจัดทำแผนผังบริเวณโดยรอบและอาคารที่ตั้งที่มีรายละเอียดชัดเจน และตรงกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น พิมพ์เขียวของอาคาร ตำแหน่งในอาคารที่มีการปรับปรุง/แก้ไขไปจากแบบแปลนเดิม เป็นต้น เมื่อใดที่ต้องเผชิญเหตุ แผนผังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อค้นหาจุดที่เอื้อต่อการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะที่ซุกซ่อนระเบิด และกำหนดเส้นทางอพยพออกจากพื้นที่เพื่อให้เกิดความเสียหายที่น้อยที่สุด การจัดทำแผนผังมีข้อพิจารณาคือ 2.1 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบธรรมดา การจัดทำแผนผังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนพื้นที่ที่ใช้ในการสนับสนุน เช่น สวนพักผ่อน ห้องน้ำ ทางเดิน ระเบียง เป็นต้น กับส่วนพื้นที่ที่ใช้ทำงาน พื้นที่นี้มีการติดตั้งหรือจัดเก็บทรัพย์สิน 2.2 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบซับซ้อน การจัดทำแผนผังดำเนินการเช่นเดียวกับแบบธรรมดา แต่จำเป็นต้องเชิญผู้แทนที่รับผิดชอบพื้นที่จากทุกส่วนของอาคารมาร่วมจัดทำแผนผัง เพื่อ ให้ทราบรายละเอียดภายในตรงตามความเป็นจริงให้มากที่สุด เช่น อาคารหลายชั้น หรือมีเส้นทางเชื่อมโยงกับอาคารอื่น การปรับ-กั้นพื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นการภายใน การจัดทำแผงควบคุมวงจรไฟฟ้าเพิ่ม เป็นต้น กำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนและต้องเป็นที่รับทราบ-ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับควบคุมการเผชิญเหตุในชั้นต้น ก่อนถ่ายโอนให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง

วัตถุระเบิด

Loading

ลักษณะของการระเบิด ลักษณะของการระเบิดนับเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนการเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุระเบิด เพราะการระเบิดคือผลลัพธ์ที่เกิดกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการทำลาย การระเบิด หมายถึง แรงอัดที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ณ จุดหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อสสารที่อยู่ตรงจุดนั้นและที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สสารนั้นเกิดการแตกหรือปริออกจากกัน ทั้งยังครอบคลุมถึงแรงอัดที่เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ของสสารอีกด้วย ซึ่งการเผาไหม้มาจาก 2 องค์ประกอบ คือ การทำปฏิกิริยาระหว่างสสารด้วยกัน และระหว่างสสารกับออกซิเจนอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นความร้อน ในบางกรณียังก่อให้เกิดก๊าซที่มีแรงดันขึ้นด้วย พลังงานที่เกิดจากการระเบิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านพาณิชย์และการทหาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 2.1 การระเบิดในลักษณะของ explosion คือ การเพิ่มความดันอย่างรุนแรงและรวดเร็วในพื้นที่จำกัด สาเหตุที่เกิดมาจากสารที่มีคุณสมบัติในการระเบิดตีกระทบกัน หรือได้รับพลังงานกระตุ้นจากภายนอก เช่น ความร้อน หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมีอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้เกิดความร้อนจากภายในออกมา และอาจให้ก๊าซที่มีปริมาณมาก การระเบิดในลักษณะนี้จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่าการระเบิดในลักษณะของ detonation 2.2 การระเบิดในลักษณะของ detonation คือ การสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดความกดดันและอุณหภูมิสูง ซึ่งการสลายตัวของสารภายใต้ความดันสูง และเมื่อความดันถูกปล่อยผ่านวัตถุต่างๆ ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของเสียง จะสามารถทำลายวัตถุเหล่านั้นได้ การระเบิดในลักษณะนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนช่วยการลุกไหม้ รูปแบบการจุดระเบิด แบ่งออกเป็น 3.1 การจุดระเบิดที่เกิดจากปฏิกิริยาจากการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว(deflagrated) การระเบิดรูปแบบนี้เกิดจากการเผาไหม้ ส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุระเบิดแรงต่ำ…

วัตถุประสงค์ของการก่อวินาศกรรม

Loading

คำว่า ”วินาศกรรม” หรือ Sabotage ตามความหมายของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 คือ “การกระทำใดๆ เพื่อทำลาย ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร อาคาร สถานที่ ยุทธปัจจัย ที่สงวนสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรบกวน ขัดขวาง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆ รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคล ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือความเสียหายทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง” อย่างไรก็ดี การก่อวินาศกรรมควรมีความหมายให้ครอบคลุมถึงพัฒนาการที่แปรเปลี่ยน ในแง่ของการกระทำใดๆ ที่กระทำเพื่อทำลาย สร้างความชะงักงัน หรือสร้างความเสียหายทั้งหมดหรือบางส่วนทั้งต่อวัตถุ ข้อมูลข่าวสาร ระบบการทำงานใดๆ รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคล ซึ่งผลของการวินาศกรรมนี้จะกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย ผลประโยชน์ หรือความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาล องค์กร กลุ่มชน หรือแม้แต่ตัวบุคคล ด้วย คำว่า “วินาศกร” หรือ Saboteur คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายตรงข้ามทั้งในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และขวัญกำลังใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ แบ่งออกเป็น วินาศกรอาชีพ…