ทำไม “สหรัฐ-อียู” ลงนามบังคับใช้มาตรการปกป้องโอนข้อมูล Privacy Shield 2.0

Loading

  ทำเนียบขาวประกาศว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐได้ลงนามในคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี เพื่อบังคับใช้กรอบการทำงานรูปแบบใหม่ “Privacy Shield 2.0” โดยมีเป้าหมายที่จะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่แบ่งปันร่วมกันระหว่างสหรัฐ และสหภาพยุโรป   สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า กรอบการทำงานใหม่นี้ช่วยเติมเต็มช่องว่างที่สำคัญด้านการปกป้องข้อมูลทั่วภูมิภาคแอตแลนติก นับตั้งแต่ที่ศาลยุติธรรมยุโรปยกเลิกกรอบการทำงานเดิมในปี 2563 หลังศาลพบว่า สหรัฐมีความสามารถในการสอดส่องข้อมูลของยุโรปที่ถ่ายโอนผ่านระบบก่อนหน้านี้มากเกินไป   นายเจมส์ ซัลลิแวน ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ณ เวลานั้น ได้ระบุในจดหมายเปิดผนึกสั้น ๆ ภายหลังการตัดสินใจไว้ว่า คดี “Schrems II” ได้สร้างความไม่มั่นคงใหญ่หลวงต่อความสามารถของบริษัทต่าง ๆ ในการถ่ายโอนข้อมูล ส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (EU) ไปยังสหรัฐ ซึ่งผลลัพธ์ของคดีดังกล่าวได้ทำให้บริษัทในสหรัฐต้องใช้ “กลไกการถ่ายโอนข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป” ที่แตกต่างกันในแต่ละกรณี ทำให้การทำธุรกิจเกิดความซับซ้อนมากขึ้น   กรอบการทำงาน Privacy Shield 2.0 จะให้แนวทางใหม่เพื่อผ่อนคลายความกังวลของยุโรปที่มีต่อความเป็นไปได้ในการสอดส่องข้อมูลจากหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐ กรอบการทำงานใหม่นี้จะช่วยให้บุคคลในสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอการชดใช้ผ่านทางศาลตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลอิสระ (DPRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกนอกรัฐบาลสหรัฐ และหน่วยงานดังกล่าว “จะมีอำนาจเต็มที่” ในการตัดสินข้อเรียกร้อง และออกมาตรการแก้ไขตามความจำเป็น  …

เครือโรงแรมหรู Shangri-La ยอมรับถูกแฮ็กในช่วงการประชุมระดับสูงด้านกลาโหม

Loading

  เครือโรงแรม Shangri-La Group ยอมรับว่าระบบไอทีของโรงแรมถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วออกไป   Shangri-La ระบุว่าในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีแฮกเกอร์ที่ใช้วิธีการแฮกอันซับซ้อนจนสามารถลอดผ่านระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบไอทีของเครือโรงแรมเข้าไปล้วงข้อมูลลูกค้าได้สำเร็จ   ข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบด้วย ข้อมูลวันเกิด เอกสารยืนยันตัวบุคคล หมายเลขหนังสือเดินทาง และรายละเอียดบัตรเครดิต   อสังหาริมทรัพย์ของ Shangri-La ที่ถูกโจมตีมีมากกว่า 8 แห่งทั้งใน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย ในจำนวนนี้มีทั้งโรงแรม และอพาร์ตเมนต์   การแฮกดังกล่าวยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการประชุม Shangri-La Dialogue ซี่งเป็นการประชุมระดับสูงระหว่างประเทศด้านกลาโหม ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม Shangri-La ในสิงคโปร์   ในการประชุมครั้งนั้นมีทั้งผู้นำญี่ปุ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกลาโหมจากทั้งสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส จีน เยอรมนี ออสเตรเลีย ไทย…

อดีตวิศวกร Amazon ถูกตัดสินคุมประพฤติ จากกรณีแฮ็กข้อมูลคนนับร้อยล้านราย

Loading

  เพจ ทอมป์สัน (Paige Thompson) อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Amazon ที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กธนาคาร Capital One และหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2019 ถูกศาลตัดสินคุมประพฤติเป็นเวลา 5 ปี   โรเบิร์ต เอส ลาสนิก (Robert S. Lasnik) ผู้พิพากษาประจำเขต ลงความเห็นว่าหากตัดสินให้จำคุกจะส่งผลเสียต่อทอมป์สัน เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพจิต และสถานะความเป็นคนข้ามเพศ   อย่างไรก็ดี ทางด้านอัยการ นิก บราวน์ (Nick Brown) ระบุว่าผิดหวังกับคำตัดสินที่ออกมา เพราะทางฝ่ายอัยการอยากให้ศาลตัดสินจำคุก 7 ปี บราวน์ถึงขั้นบอกว่าผิดหวังในกระบวนการยุติธรรม   สำหรับรายละเอียดการกระทำผิดนั้น ทอมป์สันได้เจาะข้อมูลส่วนบุคคลของมากกว่า 100 ล้านคน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ Capital One ต้องยอมจ่ายเงิน 190 ล้านเหรียญ (ราว 7,113 ล้านบาท) เพื่อยุติการฟ้องร้องจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ แถมยังต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 80…

รัฐบาลเม็กซิโกโดนแฮ็กครั้งใหญ่ ข้อมูลสุขภาพประธานาธิบดีหลุด

Loading

  รัฐบาลเม็กซิโก ถูกโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ ข้อมูลกองทัพหลุดรวมถึงรายละเอียดโรคหัวใจของประธานาธิบดีแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือน ม.ค.   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ประธานาธิบดีเม็กซิโก แถลงข่าวประจำวันเมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อท้องถิ่นรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาเรื่องการแฮกข้อมูลกระทรวงกลาโหมเป็นข่าวจริง พร้อมยืนยันข้อมูลสุขภาพของตนที่ถูกเปิดเผยเป็นของจริง แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีของกองทัพ   ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เข้าถึงข้อมูล 6 เทราไบต์จากกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยข้อมูลอาชญากร สำเนาการสื่อสาร และการจับตานายเคน เซลาซาร์ ทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ด้านสถานทูตสหรัฐยังไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์   การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) ว่า เฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งตกในเดือน ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 14 คน สาเหตุมาจากน้ำมันหมด   นายฮาเวียร์ โอลิวา นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ข้อมูลหลุดชี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในช่วงที่บทบาทของกองทัพกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรง       ——————————————————————————————————————————- ที่มา…

เอฟบีไอ ควบคุมตัวคู่สามีภรรยาแพทย์อเมริกัน ฐานเป็นสายลับรัสเซีย

Loading

  สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ รายงานการจับกุม พันตรี เจมี่ ลี เฮนรี แพทย์ทหารสหรัฐ กับแพทย์หญิง แอนนา กาเบรียลเลียน คู่สามีภรรยา LGBT อเมริกันฐานเป็นสายลับให้กับรัสเซีย   โดยในคำฟ้องที่อัยการยื่นต่อศาลบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ระบุว่า พันตรีเฮนรี วัย 39 ปี จากโรงพยาบาลทหารฟอร์ตแบรกก์ (Fort Bragg) ซึ่งเป็นฐานทัพทหารขนาดใหญ่ กับแพทย์หญิงกาเบรียลเลียน อายุ 36 ปี จากโรงพยาบาลจอห์น ฮอปกินส์ ในเมืองบัลติมอร์ วางแผนที่จะแบ่งปันข้อมูลที่เป็นความลับเกี่ยวกับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลที่ทั้งคู่ทำงานอยู่ให้กับรัสเซีย โดยบอกกับสายลับของเอฟบีไอ ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากความรักชาติของรัสเซีย จึงต้องการช่วยรัฐบาลรัสเซีย “ทำความเข้าใจสภาพทางการแพทย์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลสหรัฐฯ และกองทัพ” แม้จะหมายถึงการถูกไล่ออกหรือต้องติดคุกก็ตาม   อัยการตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดและเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคล   เมื่อหลายเดือนก่อน แพทย์หญิงกาเบรียลเลียน เคยถูกกล่าวหาว่าให้ความช่วยเหลือสถานทูตรัสเซียในกรุงวอชิงตัน ในช่วงหลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครน   ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทั้งคู่ได้รับการติดต่อจากบุคคลที่อ้างว่าทำงานให้กับสถานทูตรัสเซีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นสายลับเอฟบีไอ และบอกกับสายลับว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการฝึกทหารยูเครน…

จีนประณามสหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์มหาวิทยาลัยจีน

Loading

  นายหวาง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก และเรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกัน เพื่อต่อต้านการละเมิดอธิปไตยในโลกไซเบอร์และกฎระเบียบระหว่างประเทศของสหรัฐฯ   เมื่อวันอังคาร (27 ก.ย.) ศูนย์ตอบสนองเหตุฉุกเฉินไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติของจีน รายงานว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเข้าควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศจีนและแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายภายในของมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น โปลีเทคนิคอล ของจีนโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ในประเทศต่างๆ เช่น เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก เป็นฐานการโจมตีทางไซเบอร์ผ่าน ญี่ปุ่น เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน ทำให้สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังควบคุมผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อย 80 ประเทศ และดำเนินการดักฟังโทรศัพท์ของผู้ใช้โทรคมนาคมทั่วโลกตามอำเภอใจ   นายหวาง กล่าวว่า รายงานฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ 3 ของเดือนนี้ ที่เกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์ต่อมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ซึ่งที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องคำอธิบายจากสหรัฐฯ และขอให้ยุติการดำเนินการที่ผิดกฎหมายในทันที แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังคงนิ่งเงียบ       —————————————————————————————————————————————– ที่มา :   …