Tim Cook เผยความกังวล เก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลา อาจส่งผลเสียระยะยาว

Loading

  เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ทิม คุก (Tim Cook) ซีอีโอของ Apple กล่าวในงานประชุม TIME100 Summit 2022 ถึงความกังวลของเขาเกี่ยวกับการที่บริษัทต่าง ๆ เก็บข้อมูลของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมได้ในระยะยาว   เดิมซีอีโอของ Apple เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยเรื่องการติดตามข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว และมักจะวิจารณ์บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ในเรื่องนี้อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงให้ความสำคัญด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างมาก เขากล่าวว่าการเก็บข้อมูลลูกค้าตลอดเวลาอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในอนาคต และทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันเปลี่ยนไป   “เมื่อเรารู้สึกว่าโดนจับตาอยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนไป เราจะลงมือทำอะไรน้อยลง คิดน้อยลง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และหักห้ามตัวเองมากขึ้น” ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล   มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พูดถึงพฤติกรรมผู้คนที่เปลี่ยนไป เมื่อพวกเขารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามอง เช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2018 แสดงให้เห็นว่า มีคนโกงข้อสอบน้อยลงอย่างมาก เมื่อรู้ว่ามีกล้องวงจรปิด และผลการสำรวจในปี 2019 พบว่าคนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในที่ทำงาน ถ้ารู้ตัวว่ากำลังถูกจับตามองอยู่   นอกจากนี้…

อย. สหรัฐฯ ออกมาเตือนว่า DNA-Sequencing Machines อาจจะถูกแฮ็ก

Loading

                                          Credit: ShutterStock.com   หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ เตือนผู้ให้บริการด้านสุขภาพเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ด้วยเครื่อง DNA-sequencing machines ของ Illumina Inc. ซึ่งอาจส่งผลต่อข้อมูลผู้ป่วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ของประเทศสหรัฐฯ ระบุไว้ในจดหมายปิดผนึกเกี่ยวกับเครื่องรุ่นต่อไปของ Illumina หลายเครื่องมีช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ซึ่งอาจอนุญาตให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาควบคุมระบบได้จากระยะไกลและสามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าหรือข้อมูลการวินิจฉัยทางคลินิกของผู้ป่วยหรือเข้าถึงข้อมูลทางพันธุกรรมที่ละเอียดอ่อนได้ ข้อมูลทางพันธุกรรมมีความละเอียดอ่อนและมีความสำคัญเป็นพิเศษ DNA นั้นเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางด้านข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ บุคลิกภาพ และประวัติทางครอบครัว ปัจจุบันกระบวนการทดสอบทางพันธุกรรมบนมนุษย์ได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นทั้งทางการแพทย์และผู้บริโภคเอง จึงเรียกร้องให้มีการปกป้องข้อมูลนี้อย่างเข้มงวดยิ่งกว่าตู้เซฟในธนาคาร Illumina ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับสูง ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการแจ้งรายงานผลกระทบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว Illumina ก็ไม่รอช้าที่จะพัฒนาแพทช์ซอฟต์แวร์สำหรับปิดช่องโหว่และกำลังดำเนินการแก้ไขอย่างถาวรต่อไป Illumina, Inc. เป็นบริษัทอเมริกัน…

รัฐบาลแคนาดา เผยร้านกาแฟ Tim Hortons สอดแนมลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อวิเคราะห์คู่แข่ง

Loading

  ทิม ฮอร์ตันส์ (Tim Hortons) ร้านกาแฟและโดนัทชื่อดังจากแคนาดา ถูกหน่วยงานของรัฐบาลแคนาดา สอบสวนในประเด็นการใช้ข้อมูลลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน สำหรับการวิเคราะห์คู่แข่ง คณะกรรมการธิการความเป็นส่วนตัวของแคนาดาเปิดเผยว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา ร้านทิม ฮอร์ตันส์ ได้ใช้แอปพลิเคชันของพวกเขา เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่เป็นจำนวนมากจากผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกค้าของร้านได้เข้าไปใช้บริการร้านกาแฟที่เป็นคู่แข่งกับทิม ฮอร์ตันส์ ในประเด็นข้างต้น คณะกรรมการธิการความเป็นส่วนตัวของแคนาดา ได้เรียกร้องให้ลบข้อมูลและการรวบรวมข้อมูลจากในแอปพลิเคชันทั้งหมด ซึ่งทางด้าน ทิม ฮอร์ตันส์ ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว รายงานฉบับเต็มของคณะกรรมการธิการความเป็นส่วนตัว เปิดเผยว่า การเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็นเก็บข้อมูลเพื่อดูพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า สำหรับใช้การกำหนดโฆษณา แต่บริษัทไม่ได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อจุดประสงค์นั้น ในปี 2019 ทิม ฮอร์ตันส์ ได้มีการอัปเดตแอปพลิเคชันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการอัปเดตที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลตำแหน่งการใช้งาน เพื่อคาดเดาว่า ผู้ใช้งานอยู่ในบริเวณใด ทำงานอยู่ในพื้นที่ไหน เดินทางเมื่อใด ซึ่งสิ่งนี้ขัดกับวัตถุประสงค์การขอข้อมูล เพราะควรจะเก็บข้อมูลได้เฉพาะยามที่ผู้ใช้งานเปิดแอปพลิเคชันเท่านั้น ตามบันทึกของคณะกรรมาธิการความเป็นส่วนตัว ตรวจสอบพบว่า แอปพลิเคชันของทิม ฮอร์ตันส์ ได้ขอข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ว่า ลูกค้ามีโอกาสที่จะย้ายไปใช้บริการของร้านกาแฟคู่แข่งหรือไม่ อีกด้วย ตามด้วยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็มีการติดตามว่า ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่จากที่อยู่เดิม ไปยังที่อยู่อื่นหรือไม่อย่างไร รวมถึงการตรวจสอบเวลาที่ลูกค้าที่ติดตั้งแอปพลิเคชันว่ามีการเข้าไปรับชมการแข่งขันกีฬาใดบ้าง…

ExpressVPN จะย้ายเซิร์ฟเวอร์ออกจากอินเดีย หลังกฎหมายบังคับให้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้

Loading

  ผู้ให้บริการ VPN เจ้าดัง “ExpressVPN” แถลงผ่าน Blog ของเว็บไซต์ว่า กำลังจะนำเซิร์ฟเวอร์ออกจากอินเดีย เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายอินเดียที่ให้เปิดข้อมูลตัวตนและการใช้งานของผู้ใช้ได้   ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ด้วยหลักการทำงานและการให้บริการ VPN ที่จะปกปิดข้อมูลของผู้ใช้ ทำให้ ExpressVPN ไม่สามารถที่จะตามข้อบังคับของรัฐบาลอินเดียได้ เพราะว่าพวกเขาไม่เคยเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการเอาไว้ในระบบ และตัวกฎหมายยังขัดกับหลักการพื้นฐานของ VPN อีกด้วย   นอกจากนี้ ExpressVPN ยังระบุอีกด้วยว่า จะไม่ร่วมกับการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลต่อเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต   ผู้ใช้งาน ExpressVPN ในอินเดียยังสามารถใช้งานเซิร์ฟเวอร์อินเดียได้ตามเดิม แต่จะเปลี่ยนที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์เป็น สิงคโปร์ และ อังกฤษ แทน     ที่มา – The Register, Blog ของ ExpressVPN       —————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

Meta เผย บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ แต่มันหมายความว่าอย่างไร?

Loading

บริษัท Meta ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการให้บริการ (Term of Service) ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Meta ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม Meta ระบุว่า บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ (in new ways) อ้างอิงจาก Meta การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการให้บริการที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Meta ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในตอนนี้ศูนย์ความเป็นส่วนตัว (Privacy Center) ของ Meta ก็มีอินเตอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น แต่คำถามก็คือ ที่ Meta บอกว่า ‘จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ในวิธีการใหม่’ มันหมายความว่าอะไร? อันดับแรกเลย Meta ก็ยังคงเป็น Facebook อยู่วันยังค่ำ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังอะไรมากในเรื่องความเป็นส่วนตัวจาก Meta ทั้งนี้ The Verge ได้เปรียบเทียบนโยบายเก่าและนโยบายใหม่ของบริษัท ซึ่งยืนยันแล้วว่า Meta จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ด้วยวิธีการใหม่จริง แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า…

ทวิตเตอร์เสียค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้โดยมิชอบ

Loading

  หน่วยงานสหรัฐฯ ประกาศให้ทวิตเตอร์จ่ายค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน   เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหรัฐฯ ประกาศว่า ทวิตเตอร์จะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.1 พันล้านบาท) และกำหนดมาตรการป้องกันใหม่ เพื่อยุติข้อกล่าวหาที่ว่า ทวิตเตอร์ปล่อยให้ผู้โฆษณาเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยมิชอบ   ทั้งสองหน่วยงานเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2013 ถึง ก.ย. 2019 ทวิตเตอร์ได้แจ้งแก่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มว่า จะขอข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์และอีเมลของผู้ใช้ไปด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของบัญชี     แต่กลายเป็นเรื่อง เมื่อทวิตเตอร์กลับไม่แจ้งผู้ใช้ว่า จะให้ข้อมูลเหล่านั้นแก่บริษัทต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ “ยิงแอด” ส่งโฆษณาออนไลน์ไปยังผู้ใช้ได้   กระทรวงฯ และคณะกรรมาธิการฯ ยังบอกว่า ทวิตเตอร์ได้อ้างว่า ปฏิบัติตามข้อตกลงความเป็นส่วนตัวของสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งานไปใช้ในลักษณะที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ที่แจ้งหรือได้รับอนุญาตจากผู้ใช้   โดยโทษปรับ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้อกำหนดใหม่ภายใต้ข้อตกลง ต้องได้รับการอนุมัติจากศาลรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนียด้วย…