เว็บไซต์กระทรวงกลาโหมยูเครนและธนาคาร 2 แห่ง ถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  หน่วยงานการสื่อสารพิเศษและปกป้องข้อมูลแห่งรัฐของยูเครน (SSSCIP) รายงานว่า เมื่อวันอังคาร (15 ก.พ.) ที่ผ่านมา มีผู้ไม่ประสงค์ดีใช้การโจมตีทางไซเบอร์จู่โจมเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหมและกองทัพของยูเครน และเว็บไซต์ธนาคารยูเครน 2 แห่ง   วิกเตอร์ โซรา รองผู้อำนวยการ SSSCIP กล่าวว่า ยังไม่มีความไม่ชัดเจนว่าใครหรือฝ่ายไหนเป็นผู้โจมตี โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว “ยังเร็วเกินไปที่จะระบุตัวคนทำและเหตุผลที่ทำ”   เหตุการณ์ดังกล่าเกิดขึ้นขณะที่ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังไม่ดับมอดไปซะทีเดียว โดยล่าสุดแม้รัสเซียประกาศว่าสั่งถอนกำลังทหารออกจากชายแดนยูเครนไปจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ทางการยูเครนยังไม่ปีกใจเชื่อ 100% ว่ารัสเซียถอนกำลังไปจริง   ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน และเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ เตือนว่า การรุกรานของรัสเซียครั้งใหม่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ขณะที่รัสเซียก็ออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้วางแผนที่จะบุกยูเครน   SSSCIP ระบุว่า เหตุการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นการโจมตีเพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (DDoS) โดยทำให้เว็บไซต์มีปริมาณการใช้ข้อมูลปลอมจำนวนมากเพื่อทำให้เว็บไซต์เข้าถึงไม่ได้ การโจมตีแบบ DDoS นั้นค่อนข้างง่ายต่อการดำเนินการ ไม่มีความซับซ้อน และเป็นการก่อกวนที่พบเห็นได้บ่อย   เจ้าหน้าที่ยูเครนบอกว่า การโจมตีแบบ DDoS เป็นเรื่องยากที่จะติดตามหาแหล่งที่มาหรือตัวคนทำ เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถปลอมแปลงตำแหน่งของตนเพื่อให้ดูเหมือนว่าอยู่ในประเทศใดก็ได้  …

“มาครง” ปฏิเสธไม่ตรวจโควิดในรัสเซีย หวั่นโดนเก็บข้อมูลดีเอ็นเอ

Loading

  แหล่งข่าวในคณะผู้ติดตามประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ปธน.มาครงปฏิเสธคำขอของรัสเซียที่ให้ตรวจโควิด-19 เมื่อเดินทางมาถึงประเทศ ก่อนเข้าพบกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เนื่องจากกังวลว่ารัสเซียจะลักลอบเก็บข้อมูลดีเอ็นเอของตนเอง   ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ ปธน.มาครงต้องเว้นระยะห่างจาก ปธน.ปูติน ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งมีภาพระหว่างการประชุมเมื่อวันจันทร์ (7 ก.พ.) ออกมาให้เห็นว่า ปธน.มาครงนั่งอยู่อีกปลายด้านหนึ่งของโต๊ะที่มีความยาวถึง 4 เมตรซึ่งคั่นกลางระหว่างเขาและผู้นำรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระบุว่า ในการประชุมดังกล่าว ปธน.มาครงมีทางเลือก 2 ทาง คือยอมรับการตรวจ PCR โดยทางการรัสเซียเพื่อให้สามารถนั่งใกล้ชิดกับ ปธน.ปูตินได้ หรือปฏิเสธเข้ารับการตรวจหาเชื้อ แต่ต้องเว้นระยะห่างอย่างเข้มงวดแทน         ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    /   วันที่เผยแพร่ 11 ก.พ.65 Link : https://www.infoquest.co.th/2022/173339

ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์

Loading

  ไมโครซอฟท์เตรียมสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลสิงคโปร์   ไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงกับ Home Team Science and Technology Agency (HTX) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีภายใต้ Ministry of Home Affairs หรือ Home Team กระทรวงดูแลความมั่นคงภายในของสิงคโปร์ เตรียมพัฒนาคลาวด์ภาครัฐ (sovereign cloud) ให้เป็นการเฉพาะ   ไม่มีรายละเอียดว่าคลาวด์นี้จะมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วการสร้างคลาวด์เฉพาะสำหรับรัฐบาลเช่นนี้มักให้สิทธิ์ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น ห้ามนำข้อมูลออกนอกเขตแดนที่กำหนด ทางด้านไมโครซอฟท์ระบุว่าคลาวด์นี้จะสร้างบนพื้นฐานของ Microsoft Azure   นอกจากการสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลแล้ว ข้อตกลงนี้ยังรวมการฝึกบุคลากรของ HTX พร้อมการสอบใบรับรองอีกปละ 600 ตำแหน่ง   ที่มา – Microsoft     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone by Lew           …

Apple อัปเดต AirTag แก้ปัญหาความปลอดภัยให้ผู้ใช้ ระบุถ้าศาลสั่ง จะชี้ตัวสตอล์กเกอร์ที่แอบตามได้

Loading

  หลังจากเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ที่แอปเปิ้ล (Apple) มีการเปิดตัว AirTag อุปกรณ์ติดตามสิ่งของส่วนบุคคล และถึงแม้ว่าแอปเปิ้ลจะมีการเตรียมตัวเรื่องรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานแล้ว เช่น การส่งเสียง หรือการแจ้งเตือนไปที่ iPhone แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องต่าง ๆ ตามมาอยู่เรื่อย ๆ     ล่าสุดในวันนี้แอปเปิ้ลได้ออกแถลงการณ์อัปเดตฟีเจอร์ให้กับ AirTag เพื่อป้องกันผู้ใช้จากการถูกติดตามที่ไม่พึงประสงค์ (สตอล์กเกอร์ – Stalker) ดังนี้   ผู้ที่ถูกติดตามเมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่ามี AirTag ที่ไม่รู้จักติดตามอยู่ ผู้ใช้ iPhone 11 ขึ้นไปจะสามารถใช้ฟีเจอร์ตำแหน่งที่ตั้งจริงได้ เพื่อหาตำแหน่ง ระยะห่าง และทิศทางของ AirTag เหมือนกันกับเจ้าของ AirTag เพื่อให้ระบุตำแหน่งของ AirTag ได้ง่ายขึ้น หาก AirTag เริ่มส่งเสียงดังและหากตรวจจับได้ว่ามีการเคลื่อนไหวไปกับ iPhone, iPad, หรือ iPod ของผู้ใช้ จะมีการส่งแจ้งเตือนไปบนหน้าจอให้ผู้ใช้รู้ตัวด้วย และสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้เหมือนกับเจ้าของเพื่อหาตำแหน่งที่แท้จริงของ AirTag…

ปักกิ่งเรียกร้อง “อังกฤษ” ส่งมอบ “เกาะฟอล์คแลนด์” คืนอาร์เจนตินา แต่รายงานลับโผล่ “เนปาล” แอบส่งทีมพิสูจน์จีนเข้าฮุบพื้นที่พรมแดน

Loading

  เอเจนซีส์ – สถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอนวันนี้ (8 ก.พ.) แถลงย้ำจุดยืนผู้นำประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เรียกร้องให้อังกฤษส่งมอบหมู่เกาะฟอล์คแลนด์กลับคืนให้อาร์เจนตินาเกิดขึ้นระหว่างที่รายงานลับรัฐบาลกาฐมาณฑุรั่วพิสูจน์ข้อสงสัยปักกิ่งกำลังยึดพื้นที่เนปาลบริเวณแนวพรมแดน   หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่าโพสต์รายงานวันนี้ (8 ก.พ.) ว่า สถานทูตจีนประจำอังกฤษในกรุงลอนดอนออกแถลงการณ์ในวันอังคาร (8) ยืนยันอีกครั้งต่อจุดยืนของรัฐบาลปักกิ่งที่ยืนเคียงข้างอาร์เจนตินา เรียกร้องให้อังกฤษส่งมอบหมู่เกาะฟอล์คแลนด์คืนให้อาร์เจนตินาสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษเป็นอย่างมาก   ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของทางสถานทูตจีนที่เรียกเกาะฟอล์คแลนด์ (Falklands) ในภาษาสเปนว่า เกาะมาลวินาส (Malvinas) มีใจความว่า   “เราสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งต่อการอ้างสิทธิการถือครองอย่างชอบธรรมต่อการมีอำนาจการปกครองโดยสมบูรณ์หมู่เกาะมาลวินาส จีนสนับสนุนเสมอมาที่ว่าดินแดนพิพาทระหว่างประเทศสมควรที่ได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาสันติภาพเพื่อเป็นไปกับเป้าหมายและหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ”   และเสริมต่อว่า “พวกเราหวังว่าอังกฤษจะออกมาในทางบวกต่อคำขอของอาร์เจนตินาโดยเร็วที่สุด และค้นพบทางออกที่ยั่งยืน มีเหตุผล และสันติเพื่อเป็นไปตามมติที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ”   ทั้งนี้ พบว่าประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนและประธานาธิบดีอาร์เจนตินา อัลเบร์โต เฟร์นันเดซ (Alberto Fernandez) ได้หารือร่วมกันเมื่อสุดสัปดาห์ที่กรุงปักกิ่ง   เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเพิ่มเติมว่า ในสนธิสัญญาที่มีการลงนามร่วมกันระหว่างผู้นำทั้งสองในระหว่างการแข่งกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ยังรวมไปถึงการสนับสนุนจีนในการอ้างสิทธิเหนือไต้หวัน   ทั้งนี้…

โฆษก Meta ยันไม่ปิด FB-IG ในยุโรป ถูกฟาดกลับทันควันอย่าแบล็กเมล์ ย้ำจะสูญเสียเอง

Loading

  โฆษกของเมต้า บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กและอินสตรแกรม (ไอจี) ออกมาชี้แจงว่าบริษัทยังไม่มีแผนที่จะยุติการให้บริการในยุโรป พร้อมกับเรียกร้องให้มีการจัดทำกฎเกณฑ์ระดับโลกที่ชัดเจน เพื่อปกป้องการโอนถ่ายข้อมูลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติดใหม่ในระยะยาว   “แน่นอนว่าเราไม่มีความปรารถนาและไม่มีแผนที่จะถอนตัวออกจากยุโรป แต่ความจริงง่ายๆ ก็คือ เมต้าและธุรกิจ องค์กร รวมถึงบริการอื่นๆ จำนวนมาก ต้องพึ่งพาการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐฯ เพื่อการให้บริการทั่วโลก”โฆษกเมต้ากล่าว   ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าเมต้าอาจต้องยุติการให้บริการเฟซบุ๊กและไอจีในยุโรป หากหน่วยงานกำกับดูแลไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการถ่ายโอนข้อมูลแบบถาวรได้ เนื่องจากขณะนี้เจ้าหน้าที่ของอียูและสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำข้อตกลงถ่ายโอนข้อมูลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกใหม่ หลังศาลยุติธรรมของอียูได้ยกเลิกข้อตกลงที่มีก่อนหน้านี้ เพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลของชาวยุโรปเมื่อถูกส่งไปยังสหรัฐฯ   ในเอกสารที่เมต้ายื่นระบุว่า หากไม่นำกรอบการถ่ายโอนข้อมูลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกใหม่มาใช้ และเราไม่สามารถพึ่งพาข้อสัญญามาตรการได้อีกต่อไป หรือไม่สามารถพึ่งพาวิธีอื่นในการถ่ายโอนข้อมูลจากยุโรปไปยังสหรัฐฯ เราน่าจะไม่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญที่สุดของเรา ซึ่งรวมถึงเฟซบุ๊กและอินสตราแกรมในยุโรป และการปิดแพลตฟอร์มดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ และยังส่งผลในทางลบต่อธุรกิจอีกด้วย   อย่างไรก็ดีมีผู้แสดงความไม่พอใจต่อการกระทำของเมต้า โดยอาเซล วอสส์ สมาชิกรัฐสภายุโรปทวีตว่า เขาเรียกร้องให้มีการหาทางเลือกอื่นๆ ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของอียูจากสหรัฐ เพื่อหาข้อตกลงที่สมดุลระหว่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับความยืดหยุ่นในการใช้ GDPR อย่างไรก็ดีเมต้าไม่สามารถแบล็กเมล์อียูให้ยกเลิกมาตรฐานในการปกป้องข้อมูลได้ และการถอนตัวออกจากอียูจะเป็นความสูญเสียของเมต้าเอง   ทั้งนี้ GDPR หรือ General Data Protection Regulation เป็นกฏหมายของยุโรปที่มีจุดประสงค์ในการดูแลข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่ถูกบริษัทหรือภาคธุรกิจเก็บรวบรวมไป…