ออสเตรเลียสั่งถอดกล้องวงจรปิดจีนทั้งหมด-หวั่นด้านความมั่นคงประเทศ

Loading

    ออสเตรเลียเตรียมรื้อกล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนออกจากสถานที่ป้องกัน เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ   บีบีซี รายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมถอดกล้องวงจรปิดจากจีน หลังจากการตรวจสอบสถานที่ของรัฐบาลในประเทศ พบว่า กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยกว่า 900 ตัวที่ติดตั้งอยู่บนสถานที่ของรัฐบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะแผนกต่างประเทศและแผนกอัยการสูงสุดนั้นผลิตโดยบริษัทฮิควิชั่น (Hikvision) และบริษัทต้าหัว (Dahua) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจากจีน ตามสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา อ้างว่ากลัวรัฐบาลจีนอาจเข้าถึงข้อมูลสำคัญผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้     ด้านนายริชาร์ด มาร์เลส รัฐมนตรีกลาโหมของออสเตรเลีย ระบุว่า รัฐบาลจะถอดกล้องวงจรปิดผลิตในจีนที่ติดตั้งอยู่ตามอาคารต่าง ๆ ในสังกัดของกระทรวงออกทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกันทางรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะมีการถอดกล้องวงจรปิดจากจีนที่ติดตั้งอยู่ในอาคารอื่น ๆ อีกหรือไม่ต่อไป   ด้านบริษัทฮิควิชั่น ออกมาแย้งว่า ข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่มีข้อมูลที่เป็นความจริง บริษัทไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลวิดีโอของผู้ใช้ปลายทางได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจีนอย่างแน่นอน ส่วนบริษัทต้าหัว ยังไม่ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้   ขณะที่นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ของออสเตรเลีย กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าการถอดกล้องออกจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เราปฏิบัติตามผลประโยชน์ของประเทศอย่างโปร่งใส   ทั้งนี้ บริษัททั้ง 2 แห่งของจีนถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำ…

นักถอดรหัสพบ ‘จดหมายลับ’ ที่หายสาบสูญของ ‘ควีนแมรี่’ แห่งสกอตแลนด์

Loading

    ทีมนักถอดรหัสนานาชาติเผยข่าวที่น่าทึ่งว่า พวกเขาค้นพบจดหมายของอดีตราชินีแห่งสกอตแลนด์ จากศตวรรษที่ 16 ซึ่งหายสาบสูญไปนานหลายปี รวมทั้งยังแปลงข้อความรหัสออกมาได้ด้วย   เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ทีมนักถอดรหัสลับนานาชาติ แถลงว่า พวกเขาค้นพบจดหมายจากยุคศตวรรษที่ 16 ของสมเด็จพระราชินีแมรี่ แห่งสกอตแลนด์ ซึ่งหายสาบสูญไปนานหลายปี รวมทั้งสามารถถอดความหมายของข้อความเข้ารหัสในจดหมายได้ด้วย   ทีมงานพบจดหมายดังกล่าวซึ่งแต่เดิมมีเพียงเสียงเล่าลือถึง อยู่ในห้องสมุดดิจิทัลของฝรั่งเศสโดยจัดเก็บไว้ผิดหมวดหมู่ จดหมายฉบับนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สุดในรอบร้อยปีเกี่ยวกับราชินีแห่งสกอตผู้โด่งดังพระองค์นี้   สมเด็จพระราชินีแมรี่ สจวร์ต ได้เขียนจดหมายหลายฉบับระหว่างปี ค.ศ. 1578-1584 ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์โดนจองจำอยู่ในคุกที่อังกฤษ เนื่องจากราชินีชาวคาทอลิกพระองค์นี้ ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ราชินีผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน   ราชินีแห่งสกอตแลนด์โดนตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการบั่นพระเศียร โดยคำกล่าวหาว่า ทรงลอบวางแผนปลงพระชนม์ราชินีแห่งอังกฤษ เป็นการจบชีวิตหลากสีสันของพระองค์ ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจแก่วรรณกรรมและภาพยนตร์หลายเรื่องในยุคหลัง   สมาชิก 3 คนในทีมนักถอดรหัสนานาชาติ DECRYPT เป็นผู้ค้นพบจดหมายของพระองค์เป็นจำนวนมากกว่า 50 ฉบับ ซึ่งเต็มไปด้วยคำที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนประมาณ 50,000 คำ   พวกเขาไล่ตามดูเอกสารที่มีการนำมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลในหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศส จนกระทั่งไปเจอเอกสารเข้ารหัสลับหลายฉบับที่โดนจัดเก็บไว้ในหมวดหมู่ที่ระบุว่าเป็นเอกสารจากอิตาลี…

ส.ส. สกอตแลนด์ ออกมาเตือนภัยการแฮ็กข้อมูลสำคัญ หลังเจ้าตัวเผลอให้ข้อมูลสำคัญกับแฮ็กเกอร์

Loading

    สจวร์ต แม็กโดนัลด์ (Stewart McDonald) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักร จากพรรคชาติสกอต (SNP) เผยว่าอีเมลส่วนตัวถูกแฮ็กโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์จากรัสเซีย   แม็กโดนัลด์เล่าว่าในเดือนมกราคม เขาเผลอไปกดเอกสารรายงานสถานการณ์ทางทหารในยูเครนปลอมพร้อมใส่รหัสผ่านของเขาเข้าไปเพื่อพยายามปลดล็อกไฟล์ เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นอีเมลที่มาจากทีมงานของเขาเอง   ที่แม็กโดนัลด์ออกมาเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้และเตือนให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะผู้ไม่หวังดีใช้วิธีการที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น   ก่อนหน้านั้น ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSC) เคยออกคำเตือนว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์จากรัสเซียและอิหร่านมุ่งเป้าขโมยข้อมูลจากนักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร   โดยมีการระบุว่ากลุ่ม SEABORGIUM จากรัสเซีย และกลุ่ม TA453 จากอิหร่านมีความเคลื่อนไหวอย่างมากในปี 2022         ที่มา  REUTERS         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                   …

สหรัฐฯ ชี้แจงทูต 40 ประเทศ ยันบอลลูนจีนคือ ‘เรือเหาะสอดแนม’ ที่กองทัพจีนควบคุม

Loading

    สหรัฐฯ เชิญนักการทูตจาก 40 ประเทศทั่วโลกร่วมรับฟังการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และกรุงปักกิ่ง โดยชี้แจงกรณี “บอลลูนสอดแนมจีน” ที่รุกล้ำเข้าน่านฟ้าสหรัฐฯ และถูกเครื่องบินขับไล่ยิงตกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (4 ก.พ.)   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงสรุปสถานการณ์ต่อบรรดานักการทูตเกือบ 150 คนจาก 40 ประเทศเมื่อวันจันทร์ (6) ส่วนที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง ได้มีการเชิญทูตต่างชาติเข้ารับฟังข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเมื่อวันจันทร์ (6) และวันอังคาร (7)   “เราต้องการแชร์ข้อมูลที่เรามีอยู่ให้มากที่สุดกับประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจเสี่ยงเผชิญภัยคุกคามจากปฏิบัติการในลักษณะนี้เช่นกัน” เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าว   ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังได้ส่งข้อมูลไปยังคณะทูตอเมริกันทั่วโลก เพื่อนำไปแชร์ต่อให้ชาติพันธมิตรและหุ้นส่วน   การพบเห็นบอลลูนสอดแนมจีนเหนือท้องฟ้าสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้กระพือเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในวอชิงตัน และยังทำให้ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต้องยกเลิกกำหนดการเยือนจีน ซึ่งเดิมทีเขาควรจะเดินทางถึงปักกิ่งในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ.   กองทัพอากาศสหรัฐฯ…

นักวิจัยพบ OnePlus, Xiaomi, Realme ที่ขายในจีน เก็บและส่งข้อมูลผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

Loading

    นักวิจัยในสกอตแลนด์ 3 ราย เผยแพร่งานวิจัยที่ชื่อว่า Android OS Privacy Under the Loupe — A Tale from the East ที่ชี้ว่า สมาร์ทโฟน OnePlus, Xiaomi และ Oppo/Realme ที่ขายในจีน มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้รวมถึงส่งข้อมูลออกไปเป็นจำนวนมาก แม้มือถือเครื่องนั้น จะไม่ได้อยู่ในจีนก็ตาม   นักวิจัยเน้นทดสอบไปที่แอปที่ถูกติดตั้งมากับเครื่องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแอปของแบรนด์เองหรือแอป third-party เช่น Baidu Input, Baidu Navigation แอปข่าว แอปสตรีมมิ่ง หรือแอปช็อปออนไลน์ ซึ่งนักวิจัยก็พบว่า ทั้ง 3 แบรนด์ มีการส่งข้อมูลที่ระบุตัวตนออกไปอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งส่งไปให้ทั้งแบรนด์มือถือ ผู้ให้บริการแอปอย่าง Baidu หรือโอเปอเรเตอร์ แม้มือถือนั้นจะไม่ได้ใส่ซิมจีน ไม่ได้อยู่ในจีน หรือแม้กระทั่งไม่ใส่ซิมเลยก็ตาม   ตัวอย่างข้อมูลที่มีการส่งออกก็ เช่น…

เดินตามสหรัฐฯ! ส.ส.อังกฤษแนะประชาชนเลิกเล่น TikTok อ้างเป็นภัยความมั่นคง

Loading

ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ แนะนำประชาชนเมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.พ.) อย่าใช้แอปพลิเคชันวิดีโอสั้น TikTok สื่อสังคมออนไลน์ของจีน สืบเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นหลังจากปลายเดือนที่แล้ว จอห์น ฮอว์ลีย์ วุฒิสภาสหรัฐฯ จากรีพับลิกัน เปิดเผยว่า เขาจะนำเสนอร่างกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งจะแบนแอปพลิเคชันวิดีโอสั้น TikTok จากการใช้งานในสหรัฐฯ กล่าวหาเป็นภัยความมั่นคงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็ก ๆ อลิเซีย เคียร์นส์ รองหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสกายนิวส์ ว่า “มีเหตุผลหนึ่งว่าทำไมจะต้องมีแอปนี้ ข้อมูลของเรามีช่องโหว่ และจีนกำลังสร้างรัฐเผด็จการเทคโนโลยี ฉวยประโยชน์จากข้อมูลของเรา ดังนั้น เราจำเป็นต้องจริงจังเกี่ยวกับการปกป้องตัวเราเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก” ในการกล่าวอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องจริงจังในเรื่องนี้ เคียร์นส์ พูดพาดพิงเหตุการณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่สหรัฐฯ ยิงร่วงบอลลูนจีนลูกหนึ่งนอกชายฝั่งแอตแลนติก ในขณะที่จีนปฏิเสธคำกล่าวหาของอเมริกาที่ระบุว่ามันถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์จารกรรม เคียร์นส์ บอกว่าความกังวลใหญ่หลวงที่สุดคือ “การเจาะข้อมูล” ผ่านบริษัทจีน และแนวทางที่ปักกิ่งจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ข่มขู่ “บุคคลที่ต้องการลี้ภัยในสหราชอาณาจักรและทั่วโลก” เมื่อถูกถามว่าประชาชนควรลบ TikTok ออกจากโทรศัพท์มือถือของตนเองหรือไม่ เธอตอบว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลย มันไม่คุ้มค่ากับการมีช่องโหว่บนโทรศัพท์มือถือของคุณ” ทั้งนี้ เคียร์นส์…