แบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1) และหลักฐานที่ยื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Loading

ดาวน์โหลดแบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1)    คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ รปภ.สขช.1 ออกมากรอกรายละเอียดด้วยลายมือให้ครบถ้วน (ยังไม่ต้องลงลายมือชื่อใน รปภ.สขช.1) เขียนตำแหน่งที่สอบพร้อมเลขประจำตัวสอบไว้ที่มุมขวาบนของ รปภ.สขช.1 (เฉพาะหน้าแรก) นำ รปภ.สขช.1 ที่กรอกรายละเอียดแล้วมายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์)   – คำแนะนำในการกรอกแบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1) – คำแนะนำการวาดแผนที่ ในแบบประวัติบุคคล (รปภ.สขช.1)     ผู้เข้าสอบจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์) 1.ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 1 ปี ขนาด 1×1.5 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวสอบหลังรูป) ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน 2.สำเนาปริญญาบัตร และ/หรือ สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร (วันปิดรับสมัครสอบ คือ…

ปลอมตัวได้สมจริงอย่าง Mission Impossible ด้วยหน้ากากซิลิโคนที่ใครก็แยกไม่ออก

Loading

By  Sila Wongchareon นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์กในอังกฤษและมหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น ได้สร้างหน้ากากซิลิโคนที่เลียนแบบทุกอย่างตั้งแต่ตีนกา กระ และผมเพื่อหลอกใคร ๆ ให้คิดว่านี่คือหน้าคนจริง ๆ ดังนั้นเมื่อคุณสวมหน้ากากใบนี้แล้วปลอมตัวเดินไปยังที่ต่าง ๆ เชื่อหรือไม่ว่าไม่มีใครสามารถจับผิดได้เลย อารมณ์เหมือนการปลอมตัวในภารกิจลับจากภาพยนตร์เรื่อง Mission: Impossible การศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ: หลักการและการสืบสวน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นักวิจัยได้นำภาพถ่ายคู่หนึ่งออกมาแสดงแก่ผู้เข้าร่วมงานจากอังกฤษและญี่ปุ่น ซึ่งภาพคนหนึ่งเป็นคนปกติและอีกคนหนึ่งได้ปลอมตัวโดยการสวมหน้ากากซิลิโคน จากนั้นนักวิจัยได้ทดลองให้ผู้เข้าร่วมงานทายดูว่าคนใดที่ใส่หน้ากากปลอมตัว แต่ปรากฏว่ามีคนทายผิด 20% จากจำนวนครั้งที่มีการเลือก การศึกษาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานมีความได้เปรียบมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตประจำวันบนท้องถนนทั่วไป เพราะพวกเขาได้ดูตัวอย่างของหน้ากากก่อนที่จะเริ่มการทดสอบโดยให้ทายว่าในภาพแต่ละคู่ ภาพใดคือหน้ากาก? แต่พวกเขาก็ยังทายผิด ดังนั้นนักวิจัยจึงคาดว่าเมื่อมีการนำหน้ากากใช้ปลอมตัวในโลกแห่งความเป็นจริงก็จะมีอัตราความผิดพลาดสูงขึ้น สรุปง่าย ๆ ว่าคนทั่วไปแทบจะไม่รู้ว่าเป็นหน้ากาก ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีคนสวมหน้าปลอมตัวเป็นรัฐมนตรีของฝรั่งเศสก่ออาชญากรรมมาแล้ว ต่อไปคุณจะได้เห็นกรณีการก่ออาชญากรรมแบบนี้เพิ่มมากขึ้น เพราะหน้ากากเหล่านี้ราคาแค่ชิ้นละ 39,121.68 บาท (1,000 ปอนด์) และเมื่อมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายยอดผลิตมากขึ้นราคาก็จะถูกลง แล้วคุณล่ะคิดหรือยังถ้ามีโอกาสจะปลอมตัวไปทำอะไรดี ————————————————— ที่มา : Beartai / 21 พฤศจิกายน 2562 Link : https://www.beartai.com/news/sci-news/380907

จำคุก 1 ปีหญิงออสเตรเลีย โกหก’resume’เพื่อให้ได้งานดีๆ

Loading

ซีเอ็นเอ็น – ผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งให้ข้อมูลเท็จใน Resume (เอกสารสรุปข้อมูลส่วนตัว และประวัติการทำงานของผู้สมัครงานเพื่อใช้ประกอบการสมัครงาน) เพื่อให้ได้งานที่มีค่าตอบแทนระดับสูงในรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 1 ปี เวโรนิกา ฮิลดา เทริโอ ถูกพิพากษาเมื่อวันอังคาร (3 ธ.ค.) ว่ามีความผิดฐานหลอกลวง, ไม่ซื่อสัตย์และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในคดีที่เธอยื่นใบสมัครในตำแหน่งหัวหน้ากองสารสนเทศของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเงินเดือนปีละ 270,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 5.5 ล้านบาท) ทรูโด ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นเวลากว่า 1 เดือนและรับเงินราวๆ 33,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 6.8แสนบาท) ก่อนถูกไล่ออก ทั้งนี้เธอยอมรับผิดทุกข้อกล่าวหาและต้องชดใช้โทษด้วยการถูกจำคุกเป็นเวลา 25 เดือน โดยจะไม่มีสิทธิ์ได้รับทัณฑ์บนเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลได้รับฟังว่าเธอยื่นเรซูเมฉบับปั่นแต่งไปยังกระทรวง โดยให้ข้อมูลปลอมๆเกี่ยวกับการศึกษาและประวัติการทำงานที่ผ่านมา และหลังจากถูกเรียกไปสัมภาษณ์แล้ว เธอยังแอบอ้างเป็นอดีตนายจ้างของตนเองระหว่างถูกตรวจสอบประวัติการทำงานจากบุคคลอ้างอิงอีกด้วย (reference check) ซึงเธอให้การรับรองผลงานของตนเองว่า “ยอดเยี่ยม” อย่างไรก็ตามการโกหกไม่จบแค่นั้น ศาลยังได้รับฟังอีกว่า เทริโอ…

แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 4 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อ 24 – ข้อ 32 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการสำหรับใช้ปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญ หรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (2) รับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเอง ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) 1.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือส่งให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร 1.3…

กฎหมายและระเบียบราชการเกี่ยวกับข้อมูลประวัติการกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษ

Loading

          ความชัดเจนของข้อมูลประวัติส่วนบุคคลนับว่ามีส่วนสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากพบข้อมูลประวัติว่าเคยกระทำความผิดหรือเคยได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของประวัติในแง่ใดแง่หนึ่ง เมื่อต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณา อย่างเช่น การบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหลักการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน ถึงแม้จะมีการเอื้อโอกาสในทางกฎหมายและระเบียบราชการสำหรับผู้มีประวัติฯ ก็ตาม        กฎหมายและระเบียบราชการที่สำคัญ ซึ่งเอื้อโอกาสสำหรับผู้มีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายหรือถูกพิพากษาให้ได้รับโทษ ได้แก่         1. พระราชบัญญัติล้างมลทิน จากขบวนการกระทำความผิดกฎหมาย วินัยทางราชการ จนกระทั่งได้รับการพิจารณา พิพากษาลงโทษนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ         ส่วนแรก คือ การกระทำความผิดจนถูกพิจารณาลงโทษ         ส่วนหลัง คือ การได้รับโทษตามกฎหมายหรือพ้นโทษมาแล้ว หรือถูกลงโทษจากความผิดต่าง ๆ…