ความเป็นมาของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

Loading

     การรักษาความปลอดภัยสถานที่ คือ มาตรการป้องกันหรือป้องปรามที่กำหนดไว้ โดยมุ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะดำเนินการได้และมีความพร้อมต่อการเผชิญกับเหตุร้าย      ความจริงการรักษาความปลอดภัยสถานที่มาจากสามัญสำนึกและสัญชาติญาณของมนุษย์ในการระวังภัยอันตราย นับแต่ยุคหินที่อาศัยอยู่ตามถ้ำ มนุษย์ยุคหินที่อยู่เป็นกลุ่มรวมกันภายในถ้ำเดียวกันจะร่วมมือกันปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย ไม่ให้มนุษย์ต่างกลุ่มหรือสัตว์ป่าเข้ามาหรือเข้าใกล้พื้นที่อาศัยของกลุ่มตน วิธีป้องกัน เช่น ก่อกองไฟไว้ที่ปากถ้ำ มียามเฝ้าทางเข้า และเมื่อรู้จักเลี้ยงสุนัข ก็ใช้สุนัขช่วยเฝ้าระวัง เป็นต้น ต่อมาเมื่อเจริญขึ้น จึงรู้จักประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงสำหรับปกป้องพื้นที่อาศัย เช่น ทำรั้วแบ่งอาณาเขตไปพร้อมกับการป้องกันภัยจากการรุกล้ำ จากกองไฟบนพื้นดินกลายเป็นคบไฟ และเป็นแสงไฟจากโคมส่องสว่างหรือไฟฉาย การประดิษฐ์เครื่องมือประเภทต่าง ๆ มาช่วยหรือเสริมการเฝ้าระวัง สังเกตการณ์ และการป้องกันจึงมีพัฒนาการเรื่อยมาพร้อมกับมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น      ถึงแม้จะเกิดการพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออุปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมาย แต่จุดมุ่งหมายในการใช้งานยังคงเดิม คือ การเฝ้าระวังและตรวจตรามิให้เกิดการบุกรุก กับแจ้งเตือน ป้องกัน และขัดขวางการลุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ในครอบครอง อย่างไรก็ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถานที่ตั้งในปัจจุบันมีทั้งขนาดที่ใหญ่และมีความสลับ ซับซ้อนของอาคารมากขึ้น จากสภาพนี้จึงต้องมีการวางแนวทางป้องกันมากยิ่งกว่าถ้ำในยุคหิน ดังนั้น ระบบการป้องกันจึงมีความซับซ้อนตามไปด้วย มาตรการการรักษาความปลอดภัยจึงมีการกำหนดขอบเขตมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่รองรับกับความซับซ้อนเหล่านั้น ได้แก่ ต้องมีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการรักษาความปลอดภัย ต้องมีการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยเช่น จัดทำรั้ว/กำแพงแบ่งพื้นที่ จัดทำแสงส่องสว่าง จัดทำเครื่องกีดขวาง…

ตัวอย่างการทำแผนฉุกเฉินเตรียมการเผชิญเหตุรุนแรงจากการชุมนุมประท้วง

Loading

หลักการ สืบเนื่องจากเหตุการณ์และสภาพที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงต่อต้านการบริหารงานของหน่วยงานรัฐบาล หลักการที่ต้องคำนึงถึง 1. สาเหตุที่ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการดำเนินการแก้ไขของหน่วยงาน เช่น การจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจารับทราบสาเหตุ-พยายามแก้ไปัญหาให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วง 2. ผลและสภาพภายหลังดำเนินการเจรจา เช่น ลดความรู้สึกเผชิญหน้าระหว่างกันลงได้ หรือเพิ่มความรู้สึกขัดแย้งให้ทวียิ่งขึ้น 3. ประเมินสภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น 3.1 ในชั้นต้นเป็นเพียงการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงขนาดย่อย 3.2 ต่อมากลุ่มผู้นำการประท้วงมีเป้าหมายและพยายามเคลื่อนไหวในรูปแบบการปลุกระดมและประกอบกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณที่ทำการประท้วง เพื่อกดดันหน่วยงาน 3.3 ผลจากข้อ 3.2 ทำให้มีประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมและยิ่งขยายตัวออกไป 3.4 การชุมนุมมีท่าทีที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ 3.5 ประเมินได้ว่าอาจกลายเป็นการเข้ายึดพื้นที่ตั้งหน่วยงาน หรือสถานที่ราชการ ในบริเวณใกล้เคียง หรือทำการปิดเส้นทางการจราจรโดยรอบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเปรียบได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การก่อจลาจล ที่มุ่งทำลายชีวิตและทรัพย์สินของส่วนราชการ 4. ประเมินพื้นที่ตั้งของหน่วยงาน บริเวณโดยรอบ และพื้นที่ใกล้เคียงว่า ใกล้กับสถานที่สำคัญประเภทใดบ้างที่อาจเป็นหรือเป็นเป้าหมายของการชุมนุม ประท้วงต่อไปหรืออาจได้รับความเสียหาย ในกรณีที่การประท้วงขยายตัว เช่น พื้นที่ตั้งใกล้ทำเนียบรัฐบาล ตั้งใกล้กับโบราณสถาน เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าว หน่วยงานของรัฐจึงต้องเผชิญกับการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำ เพื่อก่อกวน กดดัน หรือโจมตี รวมถึงการมุ่งทำลายล้าง การวางมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่เป็นการเฉพาะเพิ่มขึ้นจึงเป็นความจำเป็น เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินที่มีสาเหตุจากการชุมนุมประท้วง เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันสถานที่จากการโจรกรรม…

วิธีการเตรียมแผนฉุกเฉินเตรียมการเผชิญเหตุรุนแรงจากการชุมนุมประท้วง

Loading

หลักการ สืบเนื่องจากเหตุการณ์และสภาพที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงต่อต้านการบริหารงานของหน่วยงานรัฐบาล หลักการที่ต้องคำนึงถึง 1. สาเหตุที่ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการดำเนินการแก้ไขของหน่วยงาน เช่น การจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจารับทราบสาเหตุ-พยายามแก้ไปัญหาให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วง 2. ผลและสภาพภายหลังดำเนินการเจรจา เช่น ลดความรู้สึกเผชิญหน้าระหว่างกันลงได้ หรือเพิ่มความรู้สึกขัดแย้งให้ทวียิ่งขึ้น 3. ประเมินสภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น 3.1 ในชั้นต้นเป็นเพียงการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงขนาดย่อย 3.2 ต่อมากลุ่มผู้นำการประท้วงมีเป้าหมายและพยายามเคลื่อนไหวในรูปแบบการปลุกระดมและประกอบกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณที่ทำการประท้วง เพื่อกดดันหน่วยงาน 3.3 ผลจากข้อ 3.2 ทำให้มีประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมและยิ่งขยายตัวออกไป 3.4 การชุมนุมมีท่าทีที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ 3.5 ประเมินได้ว่าอาจกลายเป็นการเข้ายึดพื้นที่ตั้งหน่วยงาน หรือสถานที่ราชการ ในบริเวณใกล้เคียง หรือทำการปิดเส้นทางการจราจรโดยรอบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเปรียบได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การก่อจลาจล ที่มุ่งทำลายชีวิตและทรัพย์สินของส่วนราชการ 4. ประเมินพื้นที่ตั้งของหน่วยงาน บริเวณโดยรอบ และพื้นที่ใกล้เคียงว่า ใกล้กับสถานที่สำคัญประเภทใดบ้างที่อาจเป็นหรือเป็นเป้าหมายของการชุมนุม ประท้วงต่อไปหรืออาจได้รับความเสียหาย ในกรณีที่การประท้วงขยายตัว เช่น พื้นที่ตั้งใกล้ทำเนียบรัฐบาล ตั้งใกล้กับโบราณสถาน เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าว หน่วยงานของรัฐจึงต้องเผชิญกับการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำ เพื่อก่อกวน กดดัน หรือโจมตี รวมถึงการมุ่งทำลายล้าง การวางมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่เป็นการเฉพาะเพิ่มขึ้นจึงเป็นความจำเป็น เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินที่มีสาเหตุจากการชุมนุมประท้วง เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันสถานที่จากการโจรกรรม…

ระเบียบปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยสถานที่

Loading

การกำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อรักษาความปลอดภัยสถานที่ของแต่ละหน่วยงานของรัฐย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ความจำเป็นที่เผชิญอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การวางระเบียบปฏิบัติในแต่ละหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างเหมาะสม ครอบคลุมสภาพการณ์ และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามได้จริง หน่วยงานของรัฐควรพิจารณาจาก ภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย งบประมาณสำหรับการรักษาความปลอดภัยและการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ข่าวสาร สิ่งบอกเหตุ และการแจ้งเตือนภัย การติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน และกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ รายงานผลการสำรวจหรือการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยที่ได้เคยกระทำมา   ระเบียบปฏิบัติสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ยามรักษาการณ์ – ดูแล สอดส่อง และตรวจตราความปลอดภัยภายในพื้นที่ของหน่วยงาน เพื่อให้พ้นจากการโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การจารกรรม และอุบัติภัย ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความเสียหายแก่อาคารสถานที่ ทรัพย์สินต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะการดูแล ป้องกันการลุกล้ำ บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ควบคุม – ประจำการอยู่ที่ทางเข้า-ออกหลัก เพื่อตรวจสอบและอำนวยความสะดวกแก่บุคคล ยานพาหนะ และการนำสิ่งของต่างๆ เข้า-ออกในพื้นที่ควบคุมของหน่วยงาน – ในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ ถ้ามีเหตุเป็นที่น่าสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำวันของหน่วยงานทราบ – การรับ-ส่งหน้าที่ของยามรักษาการณ์ ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรในสมุดรับส่งเวรประจำวัน ยามรักษาการณ์จะเข้าแทนหน้าที่กันโดยพลการมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานเสียก่อน หากยามรักษาการณ์ไม่สามารถรับหน้าที่ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่งได้…

ความจำเป็นในการสำรวจสถานที่เพื่อการรักษาความปลอดภัย

Loading

เป้าหมายที่ต้องกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยขึ้นก็เพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำของบุคคลที่อาจเป็นภัยหรือเป็นภัย ดังนั้น ในส่วนของเป้าหมายการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ จึงเป็นการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ เพื่อดำเนินการป้องกันบุคคลที่จะก่อให้เกิดภัย อันตราย และการกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติให้บุคคลยึดถือและกระทำตาม เพื่อป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งจากคนหรือธรรมชาติ จากสภาพสังคมในปัจจุบัน การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ได้กลายเป็นมาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยบุคคล ประกอบกับการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิทยาการสมัยใหม่มาเสริมการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถป้องปราม หน่วงเหนี่ยว และป้องกันภัยอันตรายและการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการวางแนวทางและกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานที่นั้นๆ ฉะนั้น ก่อนที่จะการกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัยสถานที่ จึงต้องทำการสำรวจและตรวจสอบข้อเท็จจริงของสถานที่ตั้ง บริเวณโดยรอบ และสภาพแวดล้อม เพื่อหารายละเอียดเกี่ยวกับจุดอ่อน-จุดแข็งของที่ตั้งเหล่านั้น ตลอดจนสภาพแวดล้อมและข้อแม้ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่จะดำเนินการ จุดมุ่งหมายในการกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดสถานที่ เพื่อควบคุมบุคคลที่อาจเป็นหรือเป็นภัยมิให้ล่วงล้ำเข้ามาในบริเวณพื้นที่ตั้ง รวมทั้งอาคารสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่ตั้ง แบ่งออกเป็น ป้องปรามและป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยความประมาท เลินเล่อ ความบกพร่อง หรือด้วยความตั้งใจทำลายต่อสถานที่และบริเวณโดยรอบของที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐ   เช่น อาคารสำนักงาน สถานที่จ่ายหรือที่ตั้งถังจัดเก็บเชื้อเพลิง โรงเก็บวัสดุและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ โรง เก็บสารเคมี โรงผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น หรือพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ เช่น ที่ตั้งสำนักงานของหน่วยงานของรัฐ โดยเช่าพื้นที่อาคารของเอกชน ซึ่งอาจจะใช้ทั้งอาคารหรือบางส่วนของอาคาร ทั้งนี้ให้พิจารณารวมถึงภัยธรรมชาติที่อาจสร้างความเสียหายอีกด้วย ป้องกันอุบัติภัยและปกป้องจากการคุกคามทุกรูปแบบต่อบุคคลสำคัญ ที่เข้าสู่พื้นที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐหรือสถานที่ซึ่งหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ เช่น อาคารของหน่วยงานของรัฐหรือ…