ระทึก!! สั่งอพยพ CNN ทั้งสำนักงานใหญ่กลางนิวยอร์กด่วน หลังโดนขู่วางระเบิด

Loading

เอเจนซีส์ – เกิดเหตุไม่คาดฝันเจ้าหน้าที่และนักข่าวภายในสำนักงานใหญ่สถานีโทรทัศน์ CNN นิวยอร์กต้องถูกสั่งอพยพช่วงกลางดึกวันพฤหัสบดี (6 ธ.ค) หลังได้รับแจ้งโทรศัพท์ขู่วางระเบิด อ้างมีระเบิดถูกติดตั้งอยู่ด้านในถึง 5 เครื่อง เกิดขึ้นไม่นานก่อนเวลา 22.00 น. ล่าสุดตำรวจ NYPD นิวยอร์กยืนยันทุกอย่างปลอดภัย ทุกคนกลับเข้าตัวอาคารได้แล้ว  CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้ (7 ธ.ค) ว่า สถานการณ์ทุกอย่างกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วโดยตำรวจ NYPD นิวยอร์กเป็นผู้ยืนยัน พบทางสถานีโทรทัศน์ CNN ได้ออกอากาศแห้งจากเทปเป็นเวลาร่วม 30 นาทีก่อนที่จะตัดกลับเข้ามาสู่รายการสดอีกครั้งในคืนวันพฤหัสบดี (6)  ด้านผู้จัดชื่อดัง ดอน เลมอน (Don Lemon) เจ้าของรายการ CNN Tonight ซึ่งกำลังอยู่ช่วงพักเบรกโฆษณาได้ถูกตัดการออกอากาศอย่างกระทันหัน “พวกเราได้รับการบอกให้อพยพออกนอกอาคาร และให้ทำในทันทีเท่าที่จะทำได้ พวกเราคว้าสิ่งของที่จะเท่าที่มีและรีบวิ่งออกนอกอาคารไป และในเวลานี้พวกเรากำลังยืนอยู่นอกตัวตึก” เลมอนกล่าวให้สัมภาษณ์ และเสริมต่อว่า “พนักงานทุกคนและทุกคนที่อยู่ในตึกในขณะที่พวกเรากำลังออกอากาศสดต้องรีบวิ่งออกนอกตึกไทม์ พอร์เนอร์ เซนเตอร์ ในตอนนี้”  ทั้งนี้พบว่าทาง CNN ได้รับแจ้งว่ามีระเบิดภายในสำนักงานใหญ่ในเมืองนิวยอร์ก ซิตี ก่อนเวลา 22.00…

IOS ร่างมาตรฐานกลางสำหรับผู้ใช้โดรนทั่วโลก

Loading

มาแล้วกับความพยามยามสร้างมาตรฐานกลางผู้ใช้โดรนที่ทั่วโลกยอมรับตรงกัน โดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นก่อนนำไปปรับปรุงและประกาศใช้ภายในปี 2019 ตอนนี้มีผู้โดรนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลกแต่สิ่งที่โตตามไม่ทันก็คือกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เรียกว่าแต่ละประเทศนั้นก็ต่างกันไปตามวิจารณญาณของแต่ละพื้นที่ประเทศ ยังไม่มีใครกำหนดมาตรฐานกลางสากลที่ทุกคนบังคับใช้ตรงกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ไทยห้ามบินในรัศมี 19 กิโลเมตรรอบสนามบิน แต่ในอังกฤษห้ามบินแค่ในระยะ 1 กิโลเมตรรอบสนามบินเท่านั้น เพื่อให้ผู้ใช้โดรนมีมาตรฐานเดียวกัน ทางองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : IOS) ได้ปล่อยร่างแนวทางแรกออกมาเพื่อสร้างมาตรฐานสากลสำหรับการใช้งานทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ผลิตโดรนก่อน ร่างมาตรฐานแรกจะมีการพูดถึงเขตห้ามบินโดรน (no-fly zones) รอบสนามบินและพื้นที่หวงห้ามต่าง ๆ  ด้วยการใช้มาตรการ geofencing หรือใช้ข้อมูลพิกัด ทำเป็นรั้วที่ตาเรามองไม่เห็น ป้องกันไม่ให้โดรนบินเข้าไปในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว นอกจากนั้นยังมีมาตรฐานสำหรับผู้ให้บริการโดรนในเรื่องของการเคารพความเป็นส่วนตัวและการแทรกแซงของคนที่อาจทำให้เครื่องตกได้ ทาง IOS แนะนำว่าควรจะเพิ่มการฝึกอบรมการใช้งาน, เก็บ flight logging , มาตรฐานการซ่อมบำรุงและดูแลรักษา รวมถึงกฎในการรักษาและปกป้องข้อมูล การปรึกษาหารือเกี่ยวกับมาตรฐานนี้จะเปิดกว้างให้เสนอความคิดเห็นจนถึง 21 มกราคมปีหน้า จากนั้นก็จะหาข้อสรุปแล้วเริ่มนำมาบังคับใช้ภายในปี 2019 แม้ว่ากฎนี้ยังไม่ได้เป็นกฎแบบเป็นทางการ ทาง ISO หวังว่าน่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตและผู้ให้บริการโดรนทั่วโลก ส่วนร่างมาตรฐานต่อไปจะลงลึกในรายละเอียดของเรื่องเชิงเทคนิค…