ทอท.ป่วน! เว็บไซต์ 6 สนามบินล่ม เหตุเลิกสัญญาเอกชนแต่ไม่มีมาตรการรองรับ

Loading

  รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ได้เกิดปัญหาระบบอินเทอร์เน็ต www.airportthai.co.th ของบริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ล่ม ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเข้าระบบ Log in internet สนามบินทั้ง 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงราย ได้ ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถตรวจเช็กตารางเที่ยวบินของสนามบินทั้ง 6 แห่งได้แล้ว ผู้โดยสารยังไม่สามารถใช้งาน Wi-Fi ภายในสนามบินได้อีกด้วย ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุเกิดจาก นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ได้เห็นชอบในการยกเลิกสัญญาสัมปทานบริษัทที่ดูแลหน้า page การเข้า log in Wi-Fi ของ ทอท.โดยไม่มีการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไว้ก่อน จึงส่งผลให้ ระบบอินเทอร์เน็ตของ ทอท.ไม่สามารถ log in เข้าได้ทุกสนามบิน ขณะที่ช่วงค่ำ ทอท.ออกประกาศแจ้งต่อผู้โดยสารว่า ขณะนี้เว็บไซต์ www.airportthai.co.th ของ…

เบาะแสจาก แอปเปิลวอทช์ อาจช่วยไขคดีฆาตกรรม

Loading

  ตำรวจออสเตรเลียได้ยื่นข้อมูลจากนาฬิกา แอปเปิลวอทช์ เป็นหลักฐานต่อศาลในการไต่สวนคดีฆาตกรรม เมอร์นา นิลส์สัน วัย 57 ปี สวมใส่นาฬิกาดังกล่าวในขณะที่เธอถูกฆ่าเมื่อปี 2016 ลูกสะใภ้ของเธอ แคโรไลน์ นิลส์สัน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดฉากการบุกเข้าทำร้ายครั้งนั้น หลังจากอ้างว่าตัวเองถูกจับมัดมือเอาไว้โดยชายกลุ่มหนึ่งที่บุกเข้ามาในบ้านของพวกเธอ แต่ข้อมูลจากนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ ชี้ให้เห็นว่าเธอถูกลอบทำร้ายขณะที่เธอเพิ่งก้าวเข้าบ้าน และเสียชีวิตเร็วกว่าในคำให้การของลูกสะใภ้ของเธอถึง 1 ชั่วโมง       “การซุ่มทำร้าย” ตามการรายงานของ เอบีซี นิวส์ นิลส์สันบอกกับตำรวจว่า แม่สามีโต้เถียงกับชายกลุ่มหนึ่งอยู่ข้างนอกบ้านประมาณ 20 นาที แต่นิลส์สันไม่ได้ยินเสียงขณะที่เธอถูกทำร้ายเพราะอยู่ในห้องครัวซึ่งประตูปิดอยู่ เพื่อนบ้านโทรแจ้งตำรวจในเวลาต่อมา เมื่อเห็นนิลส์สันเดินออกมาจากบ้านหลังเวลา 22:00 น. โดยถูกปิดปากและมีท่าทางไม่สู้ดี นิลส์สัน บอกว่าผู้ร้ายได้มัดเธอเอาไว้และเธอหนีออกจากบ้านมาได้ทันทีที่พวกเขาจากไปแล้ว แต่ คาร์เมน มัตเตโอ อัยการของคดีนี้ กล่าวว่าหลักฐานจากนาฬิกาของเหยื่อบ่งชี้ว่า นิลส์สัน เป็นผู้จัดฉากการบุกรุกบ้านของเธอเอง ร่างของหญิงวัย 57 ปีถูกพบในห้องซักรีดในบ้านย่านวัลเลย์ วิว ของเธอในบริเวณชานเมืองของแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย    …

เอสโตเนียตรวจสุขภาพถึงระดับดีเอ็นเอให้ประชาชนฟรีแห่งแรกของโลก

Loading

รัฐบาลเอสโตเนียเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพพลเมือง โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมฟรีแล้วในเดือนนี้ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจดีเอ็นเอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพจากผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของตนเองอย่างละเอียดด้วย โครงการนำร่องในระยะแรกจะให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีกับประชาชน 1 แสนคน หรือราว 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ 1.3 ล้านคน โดยถือเป็นชาติแรกของโลกที่ให้บริการสาธารณสุขในลักษณะนี้กับพลเมืองอย่างถ้วนหน้า ข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวเอสโตเนียแต่ละคน จะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหลายแสนตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพในด้านใดบ้าง จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มรายงานข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคล ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติเอสโตเนีย (ENHIS) ในอนาคต ชาวเอสโตเนียที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอแล้ว สามารถนำข้อมูลที่ได้เข้าปรึกษากับแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อขอคำแนะนำเรื่องสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ตนมีความเสี่ยงสูงตามที่ข้อมูลพันธุกรรมได้บ่งชี้เอาไว้ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์ ในขณะเดียวกัน แพทย์ผู้ทำการรักษาบุคคลดังกล่าวในอนาคต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมนี้ได้โดยสะดวกจากระบบสารสนเทศกลาง ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นับแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เอสโตเนียได้เริ่มเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชาชนเข้าใน “ธนาคารชีวภาพ” (Biobank) ไปแล้ว 50,000 ราย ทางการหวังว่าโครงการนำร่องตรวจวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของพลเมืองในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มทรัพยากรข้อมูลพันธุกรรมในธนาคารชีวภาพขึ้นอีกอย่างน้อย 3 เท่า และสามารถเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชากรทั้งประเทศได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้เอสโตเนียเป็นประเทศขนาดเล็กในแถบยุโรปเหนือที่ขึ้นชื่อเรื่องความก้าวล้ำนำสมัยของนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โครงการล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องระบบสาธารณสุขให้มีความทันสมัย และสามารถให้การดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคลได้ มีหลายประเทศที่รัฐให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีแก่ประชาชนเช่นกัน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพหรือโครงการธนาคารชีวภาพ เช่นในสหราชอาณาจักร ไอซ์แลนด์…

สหรัฐฯ อาจขอประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นวีซ่า

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่าต้องการเริ่มเก็บข้อมูลประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเกือบทุกคนที่จะขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ข้อเสนอที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่า ต้องให้รายละเอียดเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยต้องระบุบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ทุกอย่างที่เคยใช้ย้อนหลังในระยะเวลาห้าปี ซึ่งข้อเสนอนี้ อาจทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบราว 14.7 ล้านคนต่อปี ข้อมูลที่ได้ จะถูกนำไปใช้ระบุตัวบุคคลและตรวจสอบผู้ที่ยื่นขอวีซ่าทั้งระยะยาวและระยะสั้น นอกจากนี้ ผู้ยื่นคำร้องจะถูกถามประวัติหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และการเดินทางย้อนหลังห้าปี รวมถึงต้องตอบคำถามว่าเคยถูกเนรเทศออกจากประเทศใดหรือไม่ และมีญาติเคยเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือไม่ ข้อเสนอนี้จะเป็นภาระเพิ่มเติมกับผู้เดินทางจากประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ     อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นพลเมืองจากประเทศซึ่งมีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่พลเมืองของประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าอย่าง อินเดีย จีน เม็กซิโก (และไทย) อาจต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ทั้งเพื่อท่องเที่ยวและทำงาน   จุดยืนในการขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ ภายใต้กฎที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นคำร้อง เฉพาะแต่ในกรณีที่เห็นว่า “ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต่อการยืนยันตัวบุคคล หรือเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ“ ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เข้มงวดขึ้นออกมาหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ สัญญาจะใช้ “มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก” กับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องต่อต้านการก่อการร้าย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานถ้อยคำในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ…

วีซ่าเริ่มใช้ข้อมูลชีวมาตรกับบริการบัตรเครดิต

Loading

  บริษัทวีซ่าจะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือแทนรหัสล็อกและลายเซ็นเต่หลายคนกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัย   ปัจจุบัน เราใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเปิดล็อคประตู โทรศัพท์มือถือ เเละอุปกรณ์อื่นๆ ได้แล้ว แต่ผู้บริโภคพร้อมหรือยังที่จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือในการจ่ายเงิน บริษัทวีซ่า (VISA) ยักษ์ใหญ่ด้านการบริการทางการเงิน มองว่า ลูกค้าพร้อมเเล้วที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางชีวมาตร หรือ biometrics ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพเพื่อแสดงตน เเต่ยังมีข้อสงสัยกันว่า เทคโนโลยีนี้ มีความปลอดภัยเเค่ไหน บริษัทวีซ่าที่ให้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิท เเละบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ได้เริ่มต้นทดสอบการใช้งานบัตรต่างๆ ที่มีตัวอ่านลายพิมพ์นิ้วมือฝังไว้ภายใน ผู้ใช้เพียงกดนิ้วมือลงบนเครื่องเซ็นเซอร์ และอาจจะเสียบบัตรเข้าไปที่ช่องอ่านชิพ หรือถือบัตรไว้เหนือจุดจ่ายเงิน การใช้ลายพิมพ์นิ้วมือช่วยให้ลูกค้าข้ามขั้นตอนที่ต้องระบุ รหัสล็อก หรือ PIN หรือไม่ต้องเขียนลายเซ็นลงไปที่ใบสั่งจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ใช้บัตรเครดิตจะถูกเปรียบเทียมกับลายพิมพ์นิ้วมือที่เข้าระบบเอาไว้ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในชิrของบัตรเครดิต เพื่อสร้างรหัสแบบสุ่มที่เรียกว่า คริพโตแกรม (cryptogram) และสีเเดงหรือสีเขียวบนตัวบัตรจะช่วยระบุว่าลายนิ้วมือของผู้ใช้ตรงกับลายนิ้วมือในบัตรหรือไม่ Matt Smith ประธานฝ่าย platform strategy ที่ VISA กล่าวว่า บัตรเครดิตนั้นๆ จะถูกตั้งให้ใช้ข้อมูลชีวมาตรที่เป็นลายพิมพ์นิ้วโป้ง เพราะลายพิมพ์นิ้วมือของเเต่ละคนไม่เหมือนกัน เเละจะออกคำสั่งให้ตอบรับเมื่อลายพิมพ์นิ้วมือตรงกับที่บันทึกเอาไว้ในบัตรเเละปฏิเสธเมื่อไม่ตรงกัน สำหรับลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตร่วมกับคนอื่นๆ การสั่งจ่ายเงินจะกลับไปใช้ระบบระบุรหัสล็อก หรือเขียนลายเซ็นแทน บริษัทวีซ่าไม่ได้เป็นบริษัทที่ใช้ระบบจ่ายเงินดิจิตัลบริษัทเเรกที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทาง…