ทางการสหรัฐฯ เผยถูกจารกรรมข้อมูลครั้งใหญ่ ระบุกำลังสงสัยว่าต้นทางมาจากประเทศจีน

Loading

หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal และสถานีโทรทัศน์ CNN รายงานว่าหน่วยสืบสวนกลางของสหรัฐ (FBI) กำลังทำการสอบสวนเหตุการณ์การจารกรรมข้อมูล  การจารกรรมข้อมูล การเข้าถึงความลับ จากระบบของรัฐบาลกลางที่อาจถือ ว่าเป็นการจารกรรมข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าอาจจะมีข้อมูลส่วนบุคคลหลุดออกไปมากถึง 4 ล้านรายการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสอบสวนกลางระบุว่า การจารกรรมข้อมูลครั้งนี้ตรวจพบตั้งแต่เดือนเมษายนของปีนี้ และกระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ โดยหน่วยงานที่โดนระบุชื่ออย่างชัดเจนคือ Office of Personnel Management ที่เป็นองค์กรบริหารบุคลากรของรัฐบาลกลาง (เทียบกับบ้านเราใกล้เคียงที่สุดคือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) เจ้าหน้าที่สอบสวนกำลังสงสัยว่า การแฮกดังกล่าวนี้มีต้นทางมาจากประเทศจีนและแฮกเกอร์อาจได้รับการสนับสนุน จากทางการจีน ด้านสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกาออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง และระบุว่าอย่ารีบด่วนสรุปจนเกินไป อนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นไปอย่างไม่ค่อยราบรื่นนัก โดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่สหรัฐส่งเครื่องบินสอดแนม บินใกล้กับหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่ทางการจีนอ้างสิทธิว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนตัวเอง ที่มา – The Wall Street Journal (อาจจำเป็นต้องสมัครสมาชิก), CNN

จีนจำคุกนักข่าวหญิง เกา อี๋ว์ วัย 71 ปี ในความผิดปล่อยความลับแห่งชาติรั่วไหล

Loading

เอเจนซี–ศาลปักกิ่งตัดสินจำคุก 7 ปี นักข่าวหัวเห็ด เกา อี๋ว์ ผู้มักแฉคอรัปชั่นในกลุ่มชนชั้นนำบนเวทีการเมืองจีน ในความผิดปล่อยความลับของชาติรั่วไหล ศาลประชาชนชั้นกลาง หมายเลข 3 แห่งกรุงปักกิ่ง แถลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรในวันศุกร์ (17 เม.ย.) ระบุ นาง เกา อี๋ว์ วัย 71 ปี “ได้ฝ่าฝืนกฎหมายส่งข้อมูลที่เป็นความลับของรัฐให้แก่ต่างชาติ” จึงมีความผิดฐานปล่อยความลับของชาติรั่วไหลสู่ต่างแดน ศาลฯได้ตัดสินโทษนางเกา อี๋ว์ ได้แก่ โทษจำคุก 7 ปี และริบสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 1 ปี หลังจากได้รับการปล่อยตัว ศาลปักกิ่งได้เปิดการสอบปากคำพยานในคดีนางเกา อี๋ว์ ตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา (2557) โดยจำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหาที่กลุ่มผู้สื่อข่าวจีนมักโดนฯเพื่อลากตัวเข้าคุก สำหรับนางเกา ถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ปีที่แล้ว ในฐานะผู้ต้องสงสัย “ปล่อยความลับของชาติรั่วไหลสู่ต่างแดน” สื่อทางการจีนรายงานกล่าวหาว่า นางเกา ได้เอกสารข้อมูลความลับของพรรคคอมมิวนิสต์มาอย่างผิดกฎหมาย และเผยแพร่ความลับนี้บนเว็บไซต์ของต่างชาติ เป็นที่เชื่อกันว่าเอกสารความลับฉบับที่เกาได้มานั้น เป็นเอกสารหมายเลข 9 ของพรรคฯ…

เกาหลีใต้จับกุมทหารฐานเผยความลับให้จีน

Loading

ภาพประกอบ แฟ้มภาพ – เรือกองทัพเรือเกาหลีใต้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ 4 ก.ค.58 ว่ากระทรวง กลาโหมเกาหลีใต้ออกแถลงการณ์เรื่องการจับกุมทหารเรือนายหนึ่งในข้อหาเปิดเผยความลับทางทหารให้กับจีน นาวาตรีที่ถูกจับครั้งนี้ถูกกล่าวหาว่าได้ขายข้อมูลความลับของทางการเพื่อแลกกับเงินในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศจีนระหว่างปี 2552-2555 เขาทำงานอยู่ที่ศูนย์ควบคุมความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานต่อต้านการข่าวกรอง เมื่อเดือนที่แล้วเจ้าหน้าที่สองคนจากศูนย์แห่งนี้ถูกตัดสินจำคุก 4 -6 ปี ฐานเผยความลับของทางการให้กับตัวแทนผู้ค้าอาวุธ แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 4 กรกฎาคม 2558

แฉแฮกเกอร์จีนล้วงตับอาเซียนมานานนับทศวรรษ

Loading

เว็บไซต์เวียดนามนิวส์รายงานว่า ไฟร์อาย บริษัทด้านความมั่นคงเครือข่ายของสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า มีการสอดแนมทางไซเบอร์เพื่อจารกรรมข้อมูลอ่อนไหวจากอินเดียและบางประเทศในอาเซียน ซึ่งรวมถึงเวียดนามมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษแล้ว โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรายงานเรื่องนี้ ที่ชื่อว่า “เอพีที30 และกลไกของปฏิบัติการสอดแนมไซเบอร์ที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน” จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ไฟร์อายเปิดเผยรายละเอียดว่ากลุ่มแฮกเกอร์ เอพีที30 ที่เชื่อว่าเป็นของรัฐบาลจีน ปฏิบัติการโจมตีคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องในเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อขโมยข้อมูลที่อ่อนไหวจากหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ อินเดีย และมาเลเซียได้อย่างไร รายงานระบุว่า เอพีที30 ใช้ประโยชน์จากพัฒนาการทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเลือกปฏิบัติการในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน การหารือระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ กรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างจีน อินเดียและชาติอื่นๆ ในเอเชีย โดยพบมัลแวร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ มากกว่า 200 ตัวที่ออกแบบโดยเอพีที30 ทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่อยู่ในที่ทำการสำคัญทั้งของรัฐบาลและธุรกิจเอกชนในเวียดนามหลายแห่ง นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวสภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิทธิมนุษยชน การคอร์รัปชั่น กองทัพ และกรณีพิพาทเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของจีน ก็ตกเป็นเป้าด้วย โดยปฏิบัติการจารกรรมเหล่านี้ สามารถสืบสาวร่องรอยย้อนหลังไปได้ไกลถึงปี 2548   —————————————————– http://www.matichon.co.th วันที่ 28 พฤษภาคม 2558

เผยมีทหารญี่ปุ่น ที่ถูกส่งไปสนับสนุนสงครามอิรัก-อัฟกานิสถาน และในมหาสมุทรอินเดีย ฆ่าตัวตาย 54 นายในช่วง 10 ปี

Loading

เจแปน ทูเดย์ และสำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ขยายบทบาทของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในต่างแดน นายเกน นาคาทานิ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ได้เผยตัวเลขทหารที่ฆ่าตัวตายหลังถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ช่วงปี 2544-2553 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 54 นาย จำนวนนี้ 25 นายสังกัดหน่วยนาวิกโยธิน ที่เข้าร่วมภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมุทรอินเดีย   ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน 21 นาย กับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ 8 นาย ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับภารกิจมนุษยธรรม กำลังบำรุง และการบูรณะฟื้นฟูในอิรัก แต่ยากจะโยงสาเหตุการฆ่าตัวตายกับภารกิจในต่างแดนอย่างเดียว เนื่องจากการปลิดชีวิตตนเอง มักมีหลายปัจจัยประกอบกัน และทั้งหมดฆ่าตัวตายหลังกลับถึงญี่ปุ่นแล้ว   รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเผยตัวเลขนี้ ขณะตอบกระทู้ของนายคาซูโอะ ชิ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ที่กังวลเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และจิตใจของทหารที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจต่างแดน   ทั้งนี้ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษว่าด้วยการต่อต้านก่อการร้ายเมื่อตุลาคม 2544 เปิดทางให้กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น เข้าไปมีส่วนร่วมกับภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมทุรอินเดีย เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้ายนำโดยสหรัฐ ในและรอบอัฟกานิสถาน โดยมีทหารญี่ปุ่นกว่า 22,000 นายที่มีส่วนร่วมภารกิจเหล่านี้ช่วงปี 2544-2553   —————————————————– http://www.…

เพนตากอนพลาด! ส่งเชื้อแอนแทรกซ์มีชีวิตไปแล็บสหรัฐฯ-เกาหลีใต้

Loading

ห้องแล็บของกองทัพสหรัฐฯ พลาดส่งตัวอย่างเชื้อแอนแทรกซ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ไปยังแล็บต่างๆในสหรัฐฯ และเกาหลีใต้โดยไม่ได้ตั้งใจ โดยมีผู้ที่อาจสัมผัสกับเชื้อร้ายตัวนี้แล้วหลายสิบคน…   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ‘เพนตากอน’ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยอมรับเมื่อวันพุธ (27 พ.ค.) ว่า กองทัพทำเรื่องผิดพลาดด้วยการส่งตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย ‘แอนแทรกซ์’ ที่ยังมีชีวิตอยู่จากห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมในรัฐยูทาห์ ไปยังแล็บอื่นๆ 9 แห่งทั่วประเทศ และที่ฐานทัพอากาศของสหรัฐฯในประเทศเกาหลีใต้ ตลอดช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แต่ยืนยันว่ามีความเสี่ยงต่อสาธารณะน้อยมาก   พันเอกสตีฟ วอร์เรน โฆษกเพนตากอน เผยว่า อาจมีเจ้าหน้าที่ของฐานทัพอากาศ โอซาน ในเกาหลีใต้ 22 คนสัมผัสเชื้อตัวนี้ระหว่างการฝึกในห้องทดลอง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้มาตรการทางการแพทย์ที่เหมาะสม รวมทั้ง การตรวจร่างกาย, ให้ยาปฏิชีวนะ และวัคซีน เพื่อป้องกันเอาไว้ก่อนแล้ว   ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเริ่มการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว โดย น.ส.แคธี ฮาร์เดน โฆษกซีดีซี กล่าวว่า ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนจะถูกส่งไปยังแล็บของซีดีซี เพื่อการทดสอบเพิ่มเติม…