ทำความรู้จัก “ซิมอัตลักษณ์”

Loading

ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2560 เป็นต้นไป ผู้ซื้อซิมโทรศัพท์มือถือใหม่ทุกคนจะต้องถูกจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีอัตลักษณ์ นั่นคือการถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือ (Finger Print) เพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่แท้จริง ตามคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขั้นตอนดังกล่าวถูกบังคับใช้ทั้งการซื้อซิมผ่านศูนย์บริการ ร้านค้าที่จำหน่ายซิม หรือซื้อผ่านระบบออนไลน์ หากไม่มีการลงทะเบียนซิมมือถือใหม่ด้วยวิธีอัตลักษณ์จะไม่สามารถใช้งานได้ การลงทะเบียนซิมมือถือด้วยวิธีอัตลักษณ์ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือของผู้ซื้อซิมนั้น จะช่วยพิสูจน์ตัวตนว่าผู้ซื้อซิมเป็นเจ้าของบัตรประชาชนตัวจริง ช่วยลดการปลอมแปลง เนื่องจากปัจจุบันแม้จะต้องใช้บัตรประชาชนในการซื้อซิมมือถืออยู่แล้ว แต่ยังคงมีการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนอยู่เนืองๆ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.เป็นต้นไป ผู้ที่มีความประสงค์จะซื้อซิมมือถือเบอร์ใหม่ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดหรือพาสปอร์ตตัวจริงกรณีเป็นชาวต่างชาติ หรือบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าวตัวจริง ไปซื้อซิม ณ จุดขาย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการลูกค้าของ ค่ายมือถือ ตัวแทนจำหน่ายซิมมือถือที่มีอยู่ราว 55,000 แห่งทั่วประเทศ ระบบการลงทะเบียนด้วยวิธีอัตลักษณ์ ณ จุดซื้อซิม จะมีทั้งสแกนลายนิ้วมือและถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าผ่านเครื่องอ่านบัตรหรือSmart Card Reader ปัจจุบันค่ายมือถือได้นำระบบสแกนลายนิ้วมือ มาให้บริการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวม 25 จุด และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีก…

‘Big Data’ หลอมรวมกับ ‘Big Brother’: ระบบให้คะแนนประชาชนโดยรัฐบาลจีน

Loading

     จากข่าวเรื่องที่ทางการจีนกำลังวางแผนระบบ ‘ให้คะแนน’ ประชาชนของตัวเอง ฟังดูเหมือนฝันร้ายจากนิยายวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย แต่ในยุคสมัยที่ข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกเก็บอย่างกว้างขวางบวกกับรัฐบาลอำนาจนิยมที่มองประชาชนเป็น ‘เด็กๆ’ แบบจีนแล้ว ก็น่าประเมินว่าแผนการนี้จะสร้างหายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งหายนะต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปหรือไม่      11 พ.ย. 2560 ทางการจีนมีแผนออกระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเครดิตทางสังคม’ ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนประชาชนกว่า 1,300 ล้านคนในประเทศ      คะแนนดังกล่าวคือคะแนนที่จะระบุว่ารัฐบาลเชื่อถือประชาชนคนนั้นมากขนาดไหน มีการวัดคะแนนพวกนี้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าถ้าหาก         คุณซื้อของบางอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบ หรือเล่นเกมมากเกินไปหน่อย รัฐบาลก็อาจจะหาเรื่องลดคะแนนคุณได้ ระบบการตรวจสอบเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้นในยุคสมัย ‘บิ๊กเดตา’ ที่บรรษัทไอทีใหญ่ๆ มักจะเก็บข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อหาเหตุทางการค้า แต่ในคราวนี้รัฐบาลจีนกำลังจะนำมาใช้กับการให้คะแนนตัวบุคคลซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา อย่างการพิจารณาเข้าเรียนที่ใด หรือการจะได้ทำงานที่ใดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างจะมีคนยอมเป็นแฟนด้วยหรือไม่ถ้าหากพวกเขามีคะแนนเท่านี้      แผนการนี้มีระบุอยู่ในเอกสารของคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ออกมาในปี 2557 ทางการจีนอ้างว่าพวกเขาต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ แต่หลายคนไม่มองเช่นนั้น    …

ม็อบปะทะตำรวจปราบจลาจลหน้าสถานทูตสหรัฐ ในกรุงมะนิลา ประท้วง “ทรัมป์” เยือนฟิลิปปินส์

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวฟิลิปปินส์หลายร้อยคนรวมตัวกันบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ จะเดินทางถึงประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในวันเดียวกัน และเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของทรัมป์ รายงานระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงพากันถือป้าย “Dump Trump” และ “Down with U.S. Imperialism” เพื่อแสดงการต่อต้านจักรวรรดิของทรัมป์ และระบุว่าทรัมป์จะเดินทางมาฟิลิปปินส์เพื่อทำข้อตกลงที่ไม่มีความยุติธรรมต่อฟิลิปปินส์ และมีรายงานการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล จนเกิดความวุ่นวายขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องฉีดน้ำเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของประธานาธิบดีทรัมป์ หลังเสร็จสิ้นการเยือน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม โดยมีรายงานว่า ทรัมป์จะพบหารือกับประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ที่กรุงมะนิลา ซึ่งบรรดากลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างพยายามเรียกร้องให้ทรัมป์กดดันนายดูแตร์เต เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเกิดจากนโยบายกวาดล้างยาเสพติดของผู้นำฟิลิปปินส์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายพันคน แต่นายดูแตร์เตเชื่อว่า ทรัมป์จะไม่นำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกันระหว่างการเดินทางเยือนครั้งนี้ ————————————————- ที่มา : มติชนออนไลน์ / 12 พฤศจิกายน 2560…

เนเธอร์แลนด์ผุด “แผงกั้นน้ำท่วมอัจฉริยะ” ใช้งานได้ ไม่ทำลายทัศนียภาพ

Loading

แผงกั้นน้ำท่วมยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมได้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สร้างแผงกั้นน้ำท่วมปิดอัตโนมัติความยาวกว่า 300 เมตร บริเวณท่าเรือประมง Spakenburg นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยภายในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะแลแห่งนี้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นแผงกั้นน้ำท่วมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตามรายงานระบุ แผงกั้นน้ำท่วมดังกล่าวมีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร และหากไม่ต้องการใช้งาน แผงกั้นจะถูกเก็บลงไปในระดับเดียวกับทางเท้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนด้านบนที่เป็นเหล็กเท่านั้นที่โผล่ออกมาบริเวณรอบท่าเรือให้สามารถมองเห็นได้ ทำให้การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเดิมของท่าเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังใช้พื้นที่น้อยมาก และไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของอดีตหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชือเสียงในปัจจุบันอีกด้วย โดยแผงกั้นน้ำท่วมนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเกิดน้ำท่วมสูง จนกระแสน้ำไหลเข้ามาเป็นแรงดันให้แผงกั้นน้ำท่วมขึ้นมาจากทางเท้าโดยอัตโนมัติ จากนั้น “กระเป๋า” จากแผ่นโลหะเคฟลาร์น้ำหนักเบาที่อยู่ใต้แผงกั้นจะทำหน้าที่เป็นถังกักเก็บน้ำเอาไว้เป็นเวลา 20 นาที นาย Roeland Hillen ผู้อำนวยการโครงการป้องกันน้ำท่วมดัตช์ได้กล่าวว่า การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่เปราะบางแห่งนี้ โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมขึ้นได้ อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแผงกั้นน้ำท่วมแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านยูโร หรือประมาณ 269 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมถึง 3 เท่า แต่นับว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ทั้งประโยชน์ในการใช้งานและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ที่มา: XinhuaNewsAgency ——————————————————- From : โพสต์ทูเดย์…

เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

Loading

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้ ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์ Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา…

พบกลุ่มก่อการร้ายใหม่ ‘Sowbug’ มุ่งเน้นโจมตีองค์กรระหว่างประเทศในเอเชีย

Loading

Symantec พบกลุ่มผู้ก่อการร้ายไซเบอร์ใหม่นามว่า ‘Sowbug’ ที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นโจมตีองค์กรด้านการต่างประเทศและการทูตของภูมิภาคอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่ม Sowbug นั้นจะเข้าไปโจรกรรมเอกสารภายในองค์กรที่เข้าแทรกซึมได้ผ่านทาง Backdoor ที่ใช้ชื่อคล้ายกับโปรแกรมอย่าง Adobe พร้อมทั้งติดตั้งในโฟลเดอร์ของโปรแกรมดังกล่าวทำให้ตรวจจับได้ยาก Symantec พบหลักฐานชิ้นแรกของกลุ่มนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากมัลแวร์ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ชื่อ Felismus ที่มีจุดประสงค์โจมตีเป้าหมายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาพบผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่ทั้ง 2 ฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิค ความจริงแล้ว Symantec เคยพบการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Sowbug แล้วตั้งแต่ต้นปี 2015 และอาจจะเริ่มปฏิบัติการมาก่อนหน้านั้นแล้ว ปัจจุบันพบการโจมตีจากกลุ่มนี้แทรกซึมไปยังองค์กรรัฐบาลของอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อาเจนติน่า บราซิล เอกวาดอร์ เปรู บรูไน และ มาเลเซีย กลุ่ม Sowbug มีศักยภาพการโจมตีและแทรกซึมสูง โดยจะเลือกโจมตีนอกเวลางานขององค์กรเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่เพื่อทำให้จับได้ยากที่สุด โจมตีอย่างมีเป้าหมาย หลักฐานที่พบหลังจากการแทรกซึมของกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้เห็นเช่นเมื่อปี 2015 เข้าโจมตีกระทรวงการต่างประเทศแห่งนึงของอเมริกาใต้พบและมีพฤติกรรมเพื่อค้นหาข้อมูลบางอย่างแบบจงใจ หลักฐานชิ้นแรกของการแทรกซึมเกิดขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 แต่ปรากฏการโจมตีจริงเมื่อวันที่ 12 กลุ่มผู้โจมตีดูเหมือนมีความสนใจในส่วนงานนึงของการทหารที่ดูแลด้านความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค การปฏิบัติการที่เกิดขึ้นครั้งนั้นมีความตั้งใจที่จะดึงไฟล์เอกสาร Word ทั้งหมดที่อยู่ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของส่วนงานนั้นออกมาโดยใช้คำสั่ง ‘cmd.exe /c…