เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

Loading

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้ ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์ Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา…

พบกลุ่มก่อการร้ายใหม่ ‘Sowbug’ มุ่งเน้นโจมตีองค์กรระหว่างประเทศในเอเชีย

Loading

Symantec พบกลุ่มผู้ก่อการร้ายไซเบอร์ใหม่นามว่า ‘Sowbug’ ที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นโจมตีองค์กรด้านการต่างประเทศและการทูตของภูมิภาคอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่ม Sowbug นั้นจะเข้าไปโจรกรรมเอกสารภายในองค์กรที่เข้าแทรกซึมได้ผ่านทาง Backdoor ที่ใช้ชื่อคล้ายกับโปรแกรมอย่าง Adobe พร้อมทั้งติดตั้งในโฟลเดอร์ของโปรแกรมดังกล่าวทำให้ตรวจจับได้ยาก Symantec พบหลักฐานชิ้นแรกของกลุ่มนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากมัลแวร์ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ชื่อ Felismus ที่มีจุดประสงค์โจมตีเป้าหมายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาพบผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่ทั้ง 2 ฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิค ความจริงแล้ว Symantec เคยพบการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Sowbug แล้วตั้งแต่ต้นปี 2015 และอาจจะเริ่มปฏิบัติการมาก่อนหน้านั้นแล้ว ปัจจุบันพบการโจมตีจากกลุ่มนี้แทรกซึมไปยังองค์กรรัฐบาลของอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อาเจนติน่า บราซิล เอกวาดอร์ เปรู บรูไน และ มาเลเซีย กลุ่ม Sowbug มีศักยภาพการโจมตีและแทรกซึมสูง โดยจะเลือกโจมตีนอกเวลางานขององค์กรเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่เพื่อทำให้จับได้ยากที่สุด โจมตีอย่างมีเป้าหมาย หลักฐานที่พบหลังจากการแทรกซึมของกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้เห็นเช่นเมื่อปี 2015 เข้าโจมตีกระทรวงการต่างประเทศแห่งนึงของอเมริกาใต้พบและมีพฤติกรรมเพื่อค้นหาข้อมูลบางอย่างแบบจงใจ หลักฐานชิ้นแรกของการแทรกซึมเกิดขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 แต่ปรากฏการโจมตีจริงเมื่อวันที่ 12 กลุ่มผู้โจมตีดูเหมือนมีความสนใจในส่วนงานนึงของการทหารที่ดูแลด้านความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค การปฏิบัติการที่เกิดขึ้นครั้งนั้นมีความตั้งใจที่จะดึงไฟล์เอกสาร Word ทั้งหมดที่อยู่ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของส่วนงานนั้นออกมาโดยใช้คำสั่ง ‘cmd.exe /c…

ด่วน!! เกิดเหตุยิงกราดที่โบสถ์ในรัฐเท็กซัส คาดเสียชีวิตกว่า 20 ราย !!

Loading

เจ้าหน้าที่รัฐเท็กซัสรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 26 ราย ในเหตุการณ์ยิงกราดที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองเล็กๆ ทางใต้ของรัฐเท็กซัส ในวันอาทิตย์ นอกจากนี้ คาดว่ามีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 20 ราย เจ้าหน้าที่ระบุว่า คนร้ายผู้หนึ่งได้เดินเข้าไปในโบสถ์เล็กๆ แห่งหนึ่งในเมือง Sutherland Springs ทางใต้ของเมืองซาน อันโตนิโอ รัฐเท็กซัส เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น และเริ่มยิงกราดใส่ผู้คนที่มาร่วมทำพิธีทางศาสนาคริสต์ในโบสถ์แห่งนั้น เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า คนร้ายซึ่งน่าจะมีเพียงหนึ่งคน เสียชีวิตแล้ว และขณะนี้ทางตำรวจกำลังสืบหาสาเหตุจูงใจของคนร้ายผู้นี้   เจ้าหน้าที่รัฐเท็กซัสระบุในเวลาต่อมาว่า คนร้ายมีชื่อว่า นายเดวิน เคลลีย์ ชายผิวขาววัย 26 ปี ซึ่งเคยเป็นทหารในสังกัดกองทัพอากาศสหรัฐฯ พยานในเหตุการณ์เล่าว่า คนร้ายใส่ชุดสีดำและสวมเสื้อกันกระสุน ใช้อาวุธปืนไรเฟิลไล่ยิงผู้คนตั้งแต่ด้านนอกโบสถ์ ก่อนที่จะเดินเข้าไปยิงคนที่อยู่ในโบสถ์ ก่อนที่ชาวบ้านบริเวณนั้นได้นำอาวุธปืนไรเฟิลมายิงตอบโต้ คนร้ายจึงหลบหนีไปด้วยรถยนต์ และเกิดปะทะกับตำรวจ จนรถยนต์ของคนร้ายเกิดอุบัติเหตุตกจากถนน ก่อนที่จะพบว่าคนร้ายได้เสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนขณะอยู่ภายในรถยนต์ดังกล่าว โดยตำรวจพบอาวุธปืนหลายกระบอกในรถยนต์ของคนร้ายผู้นี้ ด้านประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนเอเชีย ทวีตถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญดังกล่าว โดยบอกว่า ขอให้พระเจ้าสถิตย์อยู่กับประชาชนของ Sutherland…

โรงไฟฟ้าถ่านหินระเบิดในอินเดียตายสยองอย่างน้อย 16 ศพ บาดเจ็บนับร้อย

Loading

เอเอฟพี/รอยเตอร์ – เกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งหนึ่งของอินเดียในวันพุธ (1พ.ย.) เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 รายและบาดเจ็บราว 100 คน ขณะที่ตำรวจเตือนว่ายอดตายอาจพุ่งสูงกว่านี้ เนื่องจากหลายคนอาการสาหัส เหตุระเบิดเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในรัฐอุตตรประเทศ ทางเหนือของอินเดีย ที่บริหารงานโดยเนชันแนล เทอร์มอล พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งมีรัฐเป็นเจ้าของ “มีผู้เสียชีวิต 10 รายและราว 40-50 คนบาดเจ็บสาหัส ยอดเสียชีวิตอาจสูงกว่านี้” จากการเปิดเผยของ อานันด์ คูมาร์ อธิบดีกรมตำรวจในลัคเนา เมืองเอกของรัฐอุตตรประเทศ อย่างไรก็ตามรอยเตอร์อ้างคำสัมภาษณ์ของนายอาวิน คูมาร์ ข้าราชการสูงสุดของรัฐที่ดูแลเรื่องการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย เผยว่า “มีผู้เสียชีวิตราว 16 คนและบาดเจ็บราว 90-100 คน สืบเนื่องจากเหตุระเบิด” ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรคือต้นตอของการระเบิด แต่ผู้ปฏิบัติงานของรัฐเผยว่ากำลังเร่งมือภารกิจกู้ภัย หลังเคราะห์ร้ายเกิดอุบัติเหตุในหม้อน้ำที่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ส่วนรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์เผยให้เห็นภาพรถฉุกเฉินหลายคันกำลังรุดไปยังสถานที่เกิดเหตุ โยคี อาทิตยนาถ มุขมนตรีรัฐอุตตรประเทศ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและเสนอมอบเงินชดเชยรายละ 200,000 รูปี (ราว100,000บาท) อุบัติเหตุในสถานที่ทำงานเกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินเดีย ขณะที่การไร้มาตรฐานด้านความปลอดภัยและไม่เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ มักนำมาซึ่งเหตุเสียชีวิตอันน่าสยดสยองของพวกคนงาน ขณะเดียวกันระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดีย ก็เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก…

ข้อมูลส่วนตัวชาวมาเลย์เซียเกือบทั้งประเทศถูกแฮ็ค ข้อมูลถูกเปิดเผย 46.2 ล้านรายการ

Loading

ข้อมูลส่วนตัวของประชาชนชาวมาเลย์เซียเกือบทั้งประเทศถูกแฮ็ค ข้อมูลรั่วออกมากว่า 46.2 ล้านรายการ ในขณะที่มาเลย์เซียมีประชาชน 31.2 ล้านราย ข้อมูล 46.2 ล้านรายการนี้ถูกแฮ็คออกมาจากเหล่าผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมในมาเลย์เซีย โดยนอกจากข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ยังครอบคลุมถึงเบอร์โทรศัพท์, ข้อมูล SIM Card, ข้อมูล Serial Number ของอุปกรณ์ และที่อยู่ อีกทั้งยังมีการแฮ็คข้อมูลประวัติทางการแพทย์ของประชาชนมาเลย์เซียอีกกว่า 80,000 รายการจากหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ในขณะที่เว็บไซต์ของภาครัฐ และเว็บไซต์ที่มีข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานจำนวนมากอย่าง jobstreet.com เองก็ถูกแฮ็คด้วยเช่นกัน ขณะนี้หน่วยงาน Malaysian Communications and Multimedia และตำรวจมาเลย์เซียกำลังร่วมมือเพื่อสอบสวนคดีนี้อยู่ โดยหน่่วยงานเอกชนบางกลุ่มของมาเลย์เซียก็ได้ร่วมสนับสนุนการสอบสวนครั้งนี้ด้วย โดยปัจจุบันนี้มีข้อสันนิษฐานว่าการแฮ็คครั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

ก.ดิจิทัลแจ้งเตือนมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ “Bad Rabbit”

Loading

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเผยว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ ได้รายงานว่า ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2560 มีรายงานการแพร่ระบาดมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ชื่อ Bad Rabbit ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ตุรกี และยูเครน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของมัลแวร์ดังกล่าวแต่อย่างใด โดยรูปแบบของการแพร่กระจายของมัลแวร์ Bad Rabbit จะมีลักษณะเป็นลิงก์ เมื่อคลิกจะส่งผลให้ดาวน์โหลดโปรแกรมปลอมหลอกว่าเป็น Adobe Flash Update ซึ่งหากผู้ใช้หลงคลิกเปิดไฟล์ จะทำให้มัลแวร์ทำงานเข้ารหัสลับไฟล์ที่อยู่ในเครื่อง จากนั้นจึงแสดงข้อความเรียกค่าไถ่เป็นจำนวน 0.1 Bitcoins หรือเป็นเงินไทยประมาณ 20,000 บาท มัลแวร์ดังกล่าวยังสามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันผ่าน SMB (Server Message Block) โดยเครื่องที่ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีครั้งนี้คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows xp ถึง Windows 10 มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Bad Rabbit…