อินเดียอาจออกข้อบังคับใหม่ สมาร์ทโฟนต้องลบแอป Pre-installed ได้ทั้งหมด ป้องกันการสอดแนม

Loading

    สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่ตรวจสอบพบ เผยว่าทางการอินเดียมีแผนออกข้อบังคับกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในประเทศ โดยต้องอนุญาตให้ผู้ใช้งานลบแอปพื้นฐานที่ติดตั้งมาได้ทุกแอป รวมทั้งระบบปฎิบัติการรุ่นใหม่ที่ออกอัปเดต ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากทางการก่อน   รายงานบอกว่าเหตุผลที่ทางการอินเดียเตรียมออกข้อบังคับใหม่นี้ เพื่อป้องกันการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งมองว่าเป็นความมั่นคงระดับชาติ ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้สั่งแบนแอปจากจีนเป็นจำนวนมาก โดยให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง   ข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตให้ลบแอปพื้นฐานได้ ย่อมกระทบกับผู้ผลิตหลายรายที่นิยมลงแอป pre-installed มาให้ก่อน เช่น Xiaomi, ซัมซุง และแอปเปิล ซึ่งในรายของแอปเปิลนั้น แอปบางตัวสามารถซ่อนแต่ไม่สามารถลบได้   ส่วนข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบระบบปฏิบัติการนั้น รายละเอียดเบื้องต้นจะมีหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลในการตรวจสอบ เมื่อมีการออกอัปเดตใหญ่แต่ละครั้ง ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งาน   ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดีย มี Xiaomi, vivo และ OPPO ครองส่วนแบ่งรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซัมซุงมีส่วนแบ่ง 20% และแอปเปิล 3%         ที่มา  Reuters         ——————————————————————————————————————————————…

ท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ ชี้อันตรายต่อผู้สัมผัสถึงขั้นเนื้อเน่าใน 3 วัน

Loading

    ปราจีนบุรี – ผวจ.ปราจีนบุรี เตรียมแถลงกรณีท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด คาดถูกนำไปขายเป็นของเก่า ชี้อันตรายรุนแรงถึงขั้นผู้สัมผัสเนื้อเน่าภายใน 3 วัน ขณะบริษัทเจ้าของโรงงานตั้งรางวัล 5 หมื่นบาท ผู้แจ้งเบาะแสนำสู่การตามกลับคืน   จากกรณีที่มีกระแสข่าวท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ซึ่งเป็นของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 ม.2 ถนนทางหลวง 3079 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบการปรับอากาศ โดยให้บริการด้านการจ่ายไฟฟ้า ติดตั้งวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium-137, Cs-137) ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว…

ไต้หวันเปิดตัว “โดรนโจมตี” รุ่นใหม่ ถอดบทเรียนสงครามยูเครน

Loading

    ไต้หวันเปิดตัวโดรนโจมตี แบบติดระเบิดพลีชีพรุ่นแรกของพวกเขา เพื่อสร้างกำลังป้องกันตนเอง ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีน   เมื่อวันอังคารที่ 14 มี.ค. 2566 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จง-ซาน (NCSIST) เปิดตัวโดรนติดระเบิดพลีชีพ (loitering munition drone) รุ่นแรก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโดรน ‘Switchblade 300’ ของสหรัฐฯ ที่ยูเครนกำลังใช้ต่อต้านการรุกรานจากรัสเซีย ในขณะที่จีนพยายามสร้างแรงกดดันทางทหารต่อไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ   NCSIST ระบุว่า โดรนของพวกเขาออกแบบมาให้มีขนาดเล็กพอที่จะสามารถบรรทุกระเบิดได้ และสามารถบินอยู่บนอากาศได้ 15 นาที “ด้วยความที่มันมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนย้ายสะดวก มันจึงเหมือนกับลูกระเบิดที่บินได้” นาย ฉี หลี่-ปิน หัวหน้าแผนกวิจัยระบบการบินของ NCSIST กล่าว   “มันมีประสิทธิภาพในการโจมตีเป้าหมายที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของเรา” นายฉีกล่าวเสริม โดยย้ำว่าระยะบินสูงสุดของโดรนรุ่นนี้อยู่ที่ 10 กม. และว่าไต้หวันกำลังพัฒนาโดรนพลีชีพรุ่นถัดไป กับโดรนรุ่นที่สามารถโจมตีในระยะทางที่ไกลขึ้น   ทั้งนี้ ไต้หวันเป็นดินแดนปกครองตนเองที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ และจะกลับมารวมเป็นหนึ่งอีกครั้งในสักวันหนึ่ง ซึ่งผู้นำจีนเคยลั่นวาจาว่า อาจใช้กำลังหากจำเป็น ทำให้ชาวไต้หวันกว่า…

พม.จับมือ 3 หน่วยงานเพิ่มช่องทางแจ้งเหตุฉุกเฉิน

Loading

    ทำเนียบรัฐบาล 14 มี.ค.- นายกฯ ชื่นชมกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมมือภาคีเครือข่าย เพิ่มช่องทางรับแจ้งเหตุ 24 ชม. ผ่านระบบ ESS ช่วยผู้ประสบเหตุฉุกเฉินทางสังคมทั่วประเทศ ขอประชาชนอย่าแจ้งเท็จ อย่าโทรก่อกวน   ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาระบบการแจ้งเหตุ ช่วยเหลือ และส่งต่อเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม (ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม Emergency Social Services : ESS Thailand) ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กับ 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รับฟังการนำเสนอระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม (Emergency Social Services : ESS Thailand) และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม (ระบบการขอรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ :…

เฉลยแล้ว ! โพสต์สุ่มแทงญี่ปุ่นเป็นเฟกนิวส์ ความจริงแค่ทุบตี

Loading

    ชาวเน็ตหัวไว จับโป๊ะ สาวโพสต์เตือนภัย ‘สุ่มแทงญี่ปุ่น’ สรุปไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงคนสติไม่ดีไล่ทุบนักท่องเที่ยว ทัวร์ลงจนต้องปิดเฟซบุ๊ก   กลายเป็นเรื่องราวชวนตื่นตระหนกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า ที่นี่ เที่ยวญี่ปุ่น ได้โพสต์เตือนภัย หลังเจอเหตุการณ์ ‘สุ่มแทง’ ที่ประเทศญี่ปุ่น   ทำให้กลายเป็นข่าวใหญ่โตและถูกกระจายต่อในโลกออนไลน์ไปอย่างกว้างขวาง ก่อนจะมีคนแย้งว่าเหตุการณ์มันดูแปลก ๆ เพราะมีคนไทยหลายคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น และไม่ได้ทราบข่าวที่เกิดขึ้นเลย จึงมีการสืบประเด็นนี้กันเกิดขึ้น   ก่อนพบว่าสิ่งที่หญิงสาวเจ้าของเฟซบุ๊กโพสต์คือเรื่องโกหก เพราะภาพเหตุการณ์ที่เธอนำมาลงเป็นเพียงการสุ่มทำร้ายร่างกายโดยการทุบตี ไม่ใช่การใช้อาวุธแทงกัน   ทั้งนี้ยังแย้งประเด็นที่บอกว่าตำรวจญี่ปุ่นมาช้า เพราะจากภาพกล้องวงจรปิดตำรวจใช้เวลาเพียง 5 นาที วิ่งจากป้อมมายังที่เกิดเหตุ ก่อนพุ่งไปจับคนร้ายทันที ซึ่งคนร้ายเป็นคนเร่ร่อนสติไม่ดี   ก่อนทัวร์จะลงเจ้าของเฟซบุ๊กจนต้องปิดเฟซหนี ชาวเน็ตหลายคนเข้าใจว่าอาจเห็นเหตุการณ์จริง และตกใจอยากบอกให้คนอื่นระวัง แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ไม่ควรใช้คำว่าสุ่มแทง เพราะมันร้ายแรงและส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของประเทศเขา           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

ธนาคารออสเตรเลียเปิดบริการโทรหาคอลเซ็นเตอร์ผ่านแอป รู้ตัวตนลูกค้าทันที

Loading

    NAB หรือ National Australia Bank ประกาศเพิ่มฟีเจอร์โทรหาคอลเซ็นเตอร์ผ่านทางแอปธนาคาร จากเดิมที่สามารถโทรผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์เท่านั้น ข้อได้เปรียบสำคัญคือเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์นั้นจะรู้ตัวตนของลูกค้าทันที ไม่ต้องตรวจสอบจากรหัสผ่าน, SMS OTP, หรือคำถามยืนยันตัวตนแบบเดิม ๆ   ตอนนี้ลูกค้าของ NAB ใช้แอปอยู่ 85-90% แล้วฟีเจอร์นี้จึงเข้าถึงลูกค้าได้เป็นวงกว้างทันที ตัวเจ้าหน้าที่จะเห็นข้อมูลเดิมที่ลูกค้าเคยติดต่อไว้ ไม่ต้องเล่าเรื่องเดิมซ้ำ ขณะที่ธนาคารเองก็ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เสียเวลามายืนยันตัวตนลูกค้า   กระบวนการติดต่อคอลเซ็นเตอร์ต้องยืนยันตัวตนเหมือนการทำธุรกรรมปกติ โดยอาจจะใช้ Face ID หรือรหัสผ่านตามปกติ ซึ่งปลอดภัยกว่าการยืนยันตัวตนแบบเดิม ๆ         ที่มา  IT News         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …