ผอ.ซีไอเอชี้ สงครามในยูเครนกัดกร่อน ‘ปูติน’ สร้างโอกาสทองเก็บข้อมูลสอดแนม

Loading

FILE PHOTO AFP FILE PHOTO AFP   ผอ.ซีไอเอชี้ สงครามในยูเครนกัดกร่อน ‘ปูติน’ สร้างโอกาสทองเก็บข้อมูลสอดแนม   สำนักข่าวเอเอฟพีและบีบีซีรายงานว่า นายวิลเลียม เจ. เบิร์นส์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) กล่าวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนได้ “กัดกร่อน” ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ขณะที่ความไม่พอใจต่อสงครามดังกล่าวได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับซีไอเอในการเก็บข้อมูลข่าวกรอง   เบิร์นส์ขึ้นกล่าวที่มูลนิธิดิชลีย์ในประเทศอังกฤษว่า การที่ปูตินส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศยูเครนเป็น “ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เร่งด่วนและรุนแรงที่สุดต่อระเบียบระหว่างประเทศในวันนี้” โดยคำกล่าวของเบิร์นส์มีขึ้น 1 สัปดาห์หลังนายเยฟเกนี พริโกซิน ผู้นำกลุ่มวากเนอร์ได้นำกำลังทหารของตนเองก่อกบฏต่อรัสเซีย พร้อมกับกล่าวหาว่ารัสเซียใช้ขีปนาวุธถล่มโจมตีกองทหารของเขา และบอกอีกว่าสงครามในยูเครนเกิดขึ้นเพื่อเป็นการโฆษณาตนเองของพวกคนเลวและกองทัพรัสเซียกำลังถอยทัพในบริเวณทิศตะวันออกและใต้ของยูเครน   นายเบิร์นส์กล่าวว่า “ผลกระทบจากคำพูดและการกระทำเช่นนั้นจะดำเนินต่อไปสักระยะ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจที่ชัดเจนถึงการกัดกร่อนของสงครามของปูตินต่อสังคมและระบอบการปกครองของเขาเอง” นอกจากนั้นแล้ว เบิร์นส์ยังได้กล่าวถึงสงครามในประเทศยูเครนว่าเป็นความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียที่เผยให้เห็นจุดอ่อนของกองทัพ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในประเทศ และทำให้องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) มีความแข็งแกร่งขึ้น   “ความไม่พอใจกับสงครามจะกัดกินผู้นำรัสเซียต่อไป ความไม่พอใจนั้นได้สร้างโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตให้กับพวกเราที่ซีไอเอ” เบิร์นส์กล่าวโดยอ้างอิงถึงบทบาทของหน่วยงานในการหาคนมาทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวกรองให้ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ซีไอเอได้เริ่มแคมเปญในโซเชียลมีเดียเพื่อพยายามเข้าถึงผู้คนในรัสเซียโดยโพสต์ขั้นตอนการติดต่อซีไอเอผ่านทางเว็บมืดอย่างไรให้ไม่สามารถถูกตรวจจับได้ ลงบนเทเลแกรม แพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งเป็นที่นิยมในรัสเซีย…

กฎหมายต่อต้านการจารกรรม ฉบับแก้ไขใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้วันนี้

Loading

  กฎหมายต่อต้านการจารกรรมฉบับแก้ไขของจีน มีผลบังคับใช้ วันนี้ (1ก.ค.66) โดยรัฐบาลปักกิ่ง จัดทำประชาพิจารณ์เรื่องนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2565 ก่อนที่สภาประชาชนแห่งชาติ (เอ็นพีซี) มีมติเห็นชอบเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งมีการปรับแก้ เมื่อเดือน เม.ย.   สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรจารกรรม และเจ้าหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น รวมถึงการได้รับหรือครอบครองเอกสาร วัตถุ และสิ่งของใดก็ตามซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ เข้าข่ายความผิดฐานเป็นจารชน แม้การแก้ไขครั้งนี้ จะไม่มีการแก้ไขบทลงโทษเพิ่มก็ตาม เพราะบทลงโทษเดิมมีความรุนแรงพออยู่แล้ว อาจถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต   กฎหมายฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิมที่บังคับใช้ในปี 2014 เพื่อปกป้องความลับของทางการ ทำให้เจ้าหน้าที่จีนมีอำนาจมากขึ้นในการปราบปราม การขโมยและการแจกจ่ายเอกสาร ข้อมูล วัตถุและสิ่งของที่เกี่ยวกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ ยังครอบคลุมการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อองค์กรของรัฐและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีน ในการเพิ่มความมั่นคงด้านไซเบอร์   นอกจากนั้น ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ประชาชนยังมีหน้าที่ รายงานเรื่องกิจกรรมที่เป็นการสอดแนมและอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิ่งของของผู้ต้องสงสัยได้   ขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศอีกหลายแห่ง วิจารณ์ว่า เนื้อหาของกฎหมายต่อให้ผ่านการแก้ไขมาแล้ว “แต่ยังคงคลุมเครือ” และอาจเป็นการเปิดโอกาส…

Sony หลุดข้อมูลลับที่ต้องใช้ยื่นต่อคดี Microsoft เข้าซื้อ Activision Blizzard

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ Sony พลาดหลุดข้อมูลลับของ PlayStation ออกสาธารณะ โดยข้อมูลทั้งหมดถูกรวบรวมโดย ‘จิม ไรอัน’ (Jim Ryan) เพื่อนำไปใช้ในคดี Microsoft เข้าซื้อกิจการ Activision Blizzard ที่กำลังเป็นประเด็นในขณะนี้   เอกสารดังกล่าวประกอบไปด้วย ผลประกอบการ Call of Duty บนแพลตฟอร์ม PlayStation พร้อมกับข้อมูลงบประมาณในการสร้าง Horizon Forbidden West และ The Last of Us II   ตัวเอกสารมีข้อความที่ถูกปิดบังด้วยปากกามาร์กเกอร์ดำ Sharpie ในบางฉบับ แต่เพราะ Sharpie ไม่ใช่ปากกาที่ควรใช้กับงานมืออาชีพ แน่นอนว่ามันทำให้สามารถเห็นข้อความผ่านหมึกได้ โดยทางสื่อ The Verge เอง ก็ได้นำเอกสารทั้งหมดมาแกะประโยคที่ถูกขีดออก แล้วเรียบเรียงใหม่ได้ดังนี้    – รายละเอียดงบที่ใช้สร้าง 2 เกมใหญ่จาก PlayStaion…

สวีเดนประณามการเผาพระคัมภีร์ หลังโลกอิสลามวิจารณ์หนัก

Loading

    รัฐบาลสวีเดนยืนยันว่า เหตุการณ์เผาพระคัมภีร์ “ไม่ได้สะท้อนนโยบาย” ท่ามกลางการประณามอย่างหนัก จากประชาคมอิสลาม   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ว่า จากกรณีนายซัลวาน โมมิกา วัย 37 ปี ซึ่งลี้ภัยจากอิรักไปยังสวีเดนนานหลายปีแล้ว ก่อเหตุเผาพระคัมภีร์ หน้ามัสยิดใหญ่ในกรุงสตอกโฮล์มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับอนุญาตจากตำรวจ และโมมิกาให้เหตุผลว่า “เพื่อต้องการแสดงเสรีภาพของการแสดงออกทางความคิด” เกี่ยวกับ “ความเห็นที่มีต่อพระคัมภีร์”   กระทรวงการต่างประเทศสวีเดนออกแถลงการณ์ว่า รัฐบาลมีความเข้าใจในระดับสูงสุด ว่าพฤติการณ์ลักษณะดังกล่าวสร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้แก่ชาวมุสลิมทั่วโลก รัฐบาลขอประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับสูงสุด และขอเน้นย้ำว่า เรื่องนี้เป็นการแสดงออกส่วนบุคคล ไม่ได้สะท้อนถึงนโยบายของรัฐบาลในด้านใด   ขณะที่องค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ออกแถลงการณ์ประณามอย่างหนัก และเรียกร้องให้รัฐบาลสวีเดนออกชุดมาตรการอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก   ทั้งนี้ การอนุญาตให้ประท้วงโดยการเผาพระคัมภีร์ของตำรวจสวีเดน เกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ หลังศาลอุทธรณ์ของสวีเดนมีคำพิพากษาว่า ตำรวจ “ไม่สามารถปฏิเสธ” การอนุญาตการประท้วง ที่มีการจัดกิจกรรมรวมถึงการเผาพระคัมภีร์   เรื่องนี้อาจส่งผลต่อความพยายามในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต)…

รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ‘ชัยวุฒิ’ พิจารณาเห็นชอบแผนปฏิบัติการดิจิทัลระยะ 5 ปี จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน

Loading

  เมื่อวานนี้ (วันศุกร์ที่ 30 มิ.ย. 66) เวลา 13.30 น. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) ได้ร่วมประชุม กบส. ครั้งที่ 2/2566   โดยในการประชุม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการดิจิทัลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการดิจิทัลประจำปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งการปรับแผนการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบ 6 เดือน) และได้รับทราบผลการดำเนินงานของ สกมช. ในด้านต่าง ๆ ได้แก่   1. รายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ และผลการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ 2. รายงานผลการดำเนินงานด้านงบประมาณและการก่อหนี้ผูกพัน…

สหรัฐฯ ได้ข้อสรุป “บอลลูนจีน” ที่ยิงตกไป ไม่ได้สอดแนมข้อมูล

Loading

  เพนตากอนเปิดเผยข้อสรุปการสืบสวนกรณี “บอลลูนจีน” ระบุว่า บอลลูนดังกล่าว “ไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ”   จากกรณี “บอลลูนจีน” ที่ถูกยิงตกเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นบอลลูนสอดแนมที่พยายามรวมรวมข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ ล่าสุดวานนี้ (29 มิ.ย.) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน เปิดเผยข้อสรุปการสืบสวนว่า บอลลูนดังกล่าว “ไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ”   บอลลูนนี้ได้ลอยเข้าสู่น่านฟ้าของสหรัฐฯ เหนืออะแลสกาเมื่อวันที่ 28 ม.ค. จากนั้นเคลื่อนไปทางตะวันออกนานกว่าสัปดาห์ โดยบินผ่านฐานทัพอากาศมาล์มสตรอม ซึ่งจัดเก็บวัตถุนิวเคลียร์บางส่วนไว้ จนสหรัฐฯ ตัดสินใจยิงทิ้งในที่สุด     เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน   เจ้าหน้าที่เพนตากอนระบุว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์เศษซากบอลลูนที่รวบรวมได้หลังถูกยิงตก   โฆษกเพนตากอน นายพลจัตวา แพ็ต ไรเดอร์ กล่าวว่า “สหรัฐฯ ตระหนักดีว่าบอลลูนนี้มีความสามารถในการรวบรวมข่าวกรอง แต่เราได้ประเมินแล้วว่า มันไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ ขณะที่ลอยอยู่เหนือสหรัฐฯ”   อย่างไรก็ตาม…