อิหร่านจับผู้ต้องสงสัยกว่า 100 คน โยงเหตุวางยานักเรียนหญิง

Loading

    อิหร่านจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุวางยาพิษปริศนาที่เกิดขึ้นตามโรงเรียนมากกว่า 200 แห่ง รวมผู้ที่ถูกจับกุมกว่า 100 คน   เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้วที่อิหร่านเผชิญปัญหาการวางยาพิษเด็กนักเรียนหญิงตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีนักเรียนได้รับผลกระทบมากกว่า 5,000 คน โดยเหตุวางยาพิษปริศนาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ย. และกระจายไปใน 230 โรงเรียน 25 จังหวัด จากทั้งหมด 31 จังหวัดของอิหร่าน   สำนักข่าว IRNA ของทางการอิหร่าน รายงานว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยอิหร่าน ประกาศว่า ได้จับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุวางยาพิษปริศนาที่เกิดขึ้นตามโรงเรียนมากกว่า 200 แห่ง รวมผู้ที่ถูกจับกุมมากกว่า 100 คน ซึ่งคนเหล่านี้ถูกระบุตัว จับกุม และสอบสวนแล้ว โดยในจำนวนนี้พบว่า เป็นผู้ที่มีเจตนาประสงค์ร้ายเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนและบรรดานักเรียน เพื่อให้เกิดการปิดโรงเรียนขึ้น   กระทรวงมหาดไทยอิหร่าน ระบุเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อน เหตุวางยาพิษในโรงเรียนลดลงอย่างชัดเจน และไม่มีรายงานเด็ก ๆ ล้มป่วยเพิ่ม   อาการที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงจำนวนมากมีทั้งเป็นลมหมดสติ คลื่นไส้…

ไล่ไทม์ไลน์ติดบึ้มใต้ท้องรถอุสตาซพ่อมิ่ง

Loading

    เจอระเบิดติดใต้ท้องรถอุซตาสปอเนาะพ่อมิ่ง เจ้าหน้าที่อีโอดีเข้าเก็บกู้ทำลาย คาดระเบิดถูกสั่งทำงานแล้วแต่สายไฟหลุดไม่ครบวงจร เชื่อคนร้ายหวังสังหารเป้าหมายโดยตรง ด้าน ผบช.ภ.9 สั่งตรวจเข้มยานพาหนะเฝ้าระวังเหตุ ครบรอบ 63 ปี บีอาร์เอ็น   มีรายงานจากเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงกรณีเหตุเมื่อวันที่ 12 มี.ค.66 ที่เจ้าหน้าที่กำลังผสมพร้อมด้วยหน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดได้ทำการเข้าตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยคาดว่า เป็นระเบิดลักษณะเป็นถังดับเพลิงสีดำ ติดอยู่กับแผ่นแคร้งใต้ท้องรถยนต์ มิตซูบิชิ รุ่นปาเจโร่ สีขาว ป้ายทะเบียน 1 กท 5307 กทม. ระหว่างกลางคนนั่งและคนขับ เหตุเกิดภายในโรงจอดรถ ภายในบ้านเลขที่ 1/1 ม.3 ต.ถนน อ.มายอ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นบ้านของนายสายูตี หะยีตาเห อุซตาสโรงเรียนปอเนาะพ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และเป็นหนึ่งในคณะพูดคุยสันติสุข รวมทั้งยังเป็นผู้ที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิฮีลาลอะห์มัรอีกด้วย โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการปลดระเบิดออกจากใต้ท้องรถและทำให้ปลอดภัย โดยใช้ปืนแรงดันน้ำยิงเพื่อแยกชนวนการจุดระเบิดออกจากดินระเบิดหลัก   ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ เผยข้อมูลว่า จากตรวจสอบอย่างละเอียดพบเป็นถังน้ำยาเคมี ยี่ห้อ POWDER (มาเลเซีย) ขนาดเล็ก น้ำหนักประมาณ…

ระวัง! กลลวงใหม่ ‘คนร้าย’ ใช้ AI ปลอมเสียง หลอกโอนเงิน

Loading

    เตือนภัย มิจฉาชีพคิดกลโกงใหม่ ใช้ AI ปลอมเสียงเป็นคนคุ้นเคยหลอกยืมเงิน ระวังสกิลการโกงใหม่ ก่อนไหวตัวไม่ทัน     ในปัจจุบัน มีมิจฉาชีพเกิดขึ้นอยู่หลายรูปแบบ และหากพูดถึงมิจฉาชีพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งนั้น คือ “แก็งคอลเซ็นเตอร์”   ต้องบอกเลยว่า มิจฉาชีพในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนาทั้งเรื่องของการพูดคุยและสกิลการโกง ที่ทำเอาผู้เสียหายต้องเสียทรัพย์มหาศาลไปหลายคนแล้ว     ล่าสุดมีเครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้หลากหลาย แต่ด้วยความสามารถที่มากล้น ก็ย่อมมีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้งานในทางผิดได้ แน่นอนว่าล่าสุดพบนักหลอกลวงออนไลน์ นำ AI มาปลอมแปลงเสียง เพื่อหลอกเหยื่อให้โอนเงินช่วยเหลือ   โดยเกิดขึ้นกับสามีภรรยาชาวแคนาดาวัย 70 ปีคู่หนึ่ง รับโทรศัพท์ที่คิดว่าเป็นหลายชายโทรมา โดยในสายเผยว่าตนเองกำลังติดคุก และต้องการเงินประกันตัวด่วน ด้วยความร้อนรน สามีภรรยาคู่นี้จึงถอนเงินถึง 3,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1 แสนบาทมารอไว้ แต่เคราะห์ดีที่ยังไม่ทันได้โอน     หลังกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันนี้ออกจากอีกธนาคารหนึ่ง ก็ได้ผู้จัดการของธนาคารเตือนก่อนว่า พวกเขากำลังถูกหลอกลวง…

แฮ็กเกอร์ใช้ LinkedIn หลอกคนทำงานสายไซเบอร์ให้โหลดมัลแวร์

Loading

    Mandiant พบแฮ็กเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลเกาหลีเหนือมุ่งเป้าโจมตีนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วยมัลแวร์ชนิดใหม่ หวังเข้าแทรกซึมองค์กรที่เหยื่อทำงานอยู่   Mandiant ตั้งชื่อแฮ็กเกอร์ว่า UNC2970 และตั้งชื่อมัลแวร์ที่ UNC2970 ใช้ว่า Touchmove, Sideshow และ Touchshift ซึ่งมีความสามารถในการตอบโต้ระบบตรวจจับภายในคลาวด์ของเป้าหมายด้วย   UNC2970 ใช้วิธีการโจมตีแบบสเปียร์ฟิชชิง (Spear-phishing) หรือการล้วงข้อมูลแบบเจาะจงเป้าหมาย ด้วยการส่งอีเมลที่หลอกชักชวนเข้าไปทำงาน พร้อมโน้มน้าวให้ดาวน์โหลดมัลแวร์เหล่านี้ไป   แต่ในระยะหลังมานี้ UNC2970 หันไปใช้บัญชี LinkedIn ที่ปลอมตัวเป็นบริษัทที่มีอยู่จริงในการหลอกต้มเหยื่อ และยังเริ่มใช้ WhatsApp และอีเมลในการส่งแบ็กดอร์ หรือเครื่องมือฝังช่องทางในการส่งมัลแวร์ที่ชื่อ Plankwalk ที่จะส่งเครื่องมือและมัลแวร์ตัวอื่น ๆ เข้าไปด้วย   มัลแวร์เหล่านี้แฝงอยู่ในไฟล์มาโครที่ซ่อนอยู่ในเอกสาร Microsoft Word อีกที ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดเอกสารเหล่านี้ อุปกรณ์ของเหยื่อก็จะดาวน์โหลดและเปิดใช้งานมัลแวร์ทันที   Mandiant ชี้ว่าการที่ UNC2970 หันมาโจมตีนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์หรืออาจเป็นการขยายปฏิบัติการก็เป็นได้         ————————————————————————————————————————-…

หลุดแผนสหรัฐฯ ทำ IO ด้วย Deepfake หวังใช้เกลือจิ้มเกลือ

Loading

    สำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) รายงานข่าวอ้างว่ากลาโหมสหรัฐฯ มีแผนใช้ Deepfake หรือหน้าปลอมจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ   IO หรือ Information Operation เป็นปฏิบัติการทางความมั่นคงเพื่อใช้ต่อต้านข่าวกรองหรือต่อต้านการปล่อยข่าวด้วยข้อมูลจากภาครัฐที่ในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Internet Propaganda) อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวปลอมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command: SOCOM) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาจึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดีปเฟค (Deepfake) หรือการสร้างใบหน้าปลอมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาแก้ปัญหานี้   ในเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสำนักโซคอม (SOCOM) จากสำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) นั้นระบุว่า มีความพยายามในการเตรียมเทคโนโลยีดีปเฟคยุคใหม่ (Next-generation Deepfake) สำหรับการสร้างวิดีโอขึ้นมาเพื่อส่งข้อมูลและชักนำทางความคิดผ่านช่องทางสื่อสารนอกกระแส (Non-traditional Channel) โดยเล็งเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติซึ่งอาจอพยพเข้ามาหรือมีเชื้อชาติอื่นที่เป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกา   นอกจากนี้ยังมีแผนการรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดียและการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนแม่งานเพื่อการโต้ตอบข่าวลวงและข่าวปลอมจากต่างประเทศ   อย่างไรก็ตาม คริส เมเซอโรล (Chris Meserole) หัวหน้าสถาบันบรู๊คกิงส์เพื่อปัญญาประดิษฐ์และการริเริ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Brookings Institution’s Artificial Intelligence and Emerging Technology Initiative…

เหตุผลของความมั่นคง! เบลเยียมแบนการติดตั้ง “ติ๊กต็อก” บนอุปกรณ์ของรัฐ

Loading

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซานเดอร์ เดอ โกร ผู้นำเบลเยียม ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ห้ามการติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก บนอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภทที่เป็นของหน่วยงานรัฐ โดยเป็นไปตามคำเตือนของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับความเสี่ยงของกลยุทธ์การเก็บข้อมูลโดยติ๊กต็อก ซึ่งบริษัทไบต์แดนซ์ของจีนเป็นเจ้าของ “มีการให้ความร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองของจีน”   ต่อมา ติ๊กต็อกออกแถลงการณ์ “ผิดหวังเป็นอย่างมาก” ต่อมาตรการของรัฐบาลเบลเยียม ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ “ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน” เนื่องจาก ปัจจุบันติ๊กต็อกเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ที่สหรัฐและสิงคโปร์ พร้อมทั้งมีแผนการสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายแห่งในยุโรปด้วย   Belgium bans TikTok from federal government work phones https://t.co/GD96HxBLXq pic.twitter.com/j3B8XuGpzE — Reuters (@Reuters) March 10, 2023   ทั้งนี้ ติ๊กต็อก เพิ่งประกาศเมื่อกลางสัปดาห์นี้ จัดตั้ง “Project Clover” ที่หนึ่งในแนวทางดำเนินงานสำคัญ คือการ…