ผู้เชี่ยวชาญพบแอปแฝงมัลแวร์เข้ายึดเราเตอร์ Wi-Fi ที่จะพาทุกคนที่เชื่อมต่ออยู่ไปยังเว็บปลอม

Loading

  Kaspersky บริษัทด้านไซเบอร์พบแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android ที่แฝงมัลแวร์เข้าแฮกเราเตอร์ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเหยื่อ   มัลแวร์ตัวนี้มีหลายชื่อ ตั้งแต่ Wroba.o, Agent.eq, Moqhao และ XLoader ที่เมื่อถูกดาวน์โหลดเข้าไปยังอุปกรณ์ของเหยื่อแล้วจะพยายามเชื่อมต่อไปยังเราเตอร์ Wi-Fi ที่อุปกรณ์นั้น ๆ เชื่อมต่ออยู่ โดยพยายามเดาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเราเตอร์ หากทำสำเร็จก็จะเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นไปตัวที่แฮกเกอร์ควบคุมอยู่   ซึ่งจะทำให้เวลาที่ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์นั้นอยู่ (รวมถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้มีมัลแวร์ตัวดังกล่าวอยู่ในอุปกรณ์ด้วย) พยายามเข้าชมเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม จะถูกพาไปยังหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ดูคล้ายของจริงแทน   ตัวอย่างเช่น หากจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ในคาเฟ่แห่งหนึ่งถูกเข้าแฮกด้วยมัลแวร์ตัวนี้ ลูกค้าคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกับ Wi-FI ตัวนี้อยู่และพยายามจะเชื่อมต่อไปยัง Facebook ก็จะถูกพาไปยังหน้าเพจ Facebook ปลอมที่จะหลอกเอาข้อมูลล็อกอินแทน   Kaspersky เชื่อมว่าผู้อยู่เบื้องหลังแอปนี้คือกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า Roaming Mantis   อย่างไรก็ดี Kaspersky ไม่ได้ให้ชื่อแอปที่แฝงมัลแวร์ชนิดนี้ไว้ แต่เผยว่ามียอดดาวน์โหลดอย่างน้อย 46,000 ครั้งในญี่ปุ่น…

เห็นทะลุกำแพง นักวิจัยใช้คลื่น Wi-Fi สแกนได้แบบไม่มีอะไรกั้น

Loading

  [นัยน์ตาที่สี่] ในทางการทหารนั้น ก็มีอุปกรณ์ที่ช่วยสแกน [ศัตรู] หรือวัตถุข้ามกำแพงอย่าง Xaver 1000 แล้ว แต่ขึ้นชื่อว่าทางการทหาร ก็เป็นอะไรที่คนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้แน่นอน ทว่าเร็ว ๆ นี้ มีกลุ่มนักวิจัยสถาบันแห่งหนึ่ง ค้นพบวิธีสแกนมนุษย์แบบทะลุกำแพง ได้ด้วยการใช้คลื่น Wi-Fi จากเราเตอร์   ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ได้ค้นพบวิธีสแกนมนุษย์ผ่านกำแพง โดยการใช้สัญญาณ Wi-Fi จากเราเตอร์ สามารถตรวจจับมนุษย์ในรูปแบบ 3 มิติและมองการเคลื่อนไหวได้แบบเรียลไทม์หรือตลอดเวลาด้วย     ทั้งนี้ทางทีมยังได้ร่วมมือกับนักวิจัยด้าน AI ของ Facebook ด้วย ซึ่งกำลังมีผลงานอย่าง Dense Pose ระบบอัลกอริทึมที่สามารถเก็บพื้นผิวของร่างกายมนุษย์จากภาพถ่าย 2 มิติได้     ด้านนักวิจัยจากคาร์เนกีเมลลอน จึงนำระบบนี้มาใช้ร่วมกับโครงข่าย Wi-Fi โดยใช้เซ็นเซอร์ที่มีการดัดแปลงใหม่ ติดตั้งในห้องต่าง ๆ เพื่อขยายสัญญาณ Wi-Fi ให้กระจายออกไป จนจับภาพได้มากขึ้น   ผลที่ได้คือ…

กลัวเมืองหลวงเป็นเป้า! ตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธหลายจุดกลางกรุงมอสโก

Loading

รัสเซียกลัวยูเครนโจมตีเมืองหลวง เครื่องยิงขีปนาวุธผุดกลางกรุงมอสโกหลายจุด ทั้งตามดาดฟ้าอาคารและสวนสาธารณะ เมื่อวันพฤหัสบดี (19 ม.ค.) ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นภาพถ่ายบริเวณดาดฟ้าของอาคารกลางกรุงมอสโกของรัสเซีย ซึ่งมีการนำ “เครื่องยิงขีปนาวุธแพนต์เซอร์-S1” มาติดตั้งไว้   อาคารที่มีการติดตั้งอาวุธดังกล่าวไว้เป็นอาคารของกองทัพและอาคารของหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งบ่งชี้ข้อกังวลของรัสเซียที่เหมือนกำลังกลัวว่าจะมีการโจมตีเข้ามาใส่เมืองหลวงของตนเอง   เครื่องยิงขีปนาวุธแพนต์เซอร์-S1 นั้น เป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ถึงกลาง มีศักยภาพในการป้องกันการโจมตีทางอากาศจำพวกขีปนาวุธร่อนได้ รวมถึงสามารถสอยอากาศยานของศัตรูเช่นเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงโดรนได้   นอกจากนี้ ยังมีการนำขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ S-400 มาประจำการที่สวนสาธารณะในกรุงมอสโกด้วย     ทั้งนี้ แม้จะไม่ชัดเจนว่ารัสเซียติดตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธไว้เพื่อป้องกันการดจมตีจากใคร แต่หลายฝ่ายก็คาดว่าเป็นการป้องกันการโจมตีจากฝ่ายของยูเครนอย่างแน่นอน หลังก่อนหน้านี้รัสเซียอ้างว่ามีฐานทัพหรือคลังเก็บอาวุธในหลายเมืองของตนถูกโดรนของยูเครนโจมตี   อย่างไรก็ดี มอสโกอยู่ห่างจากพรมแดนยูเครนไปประมาณ 600 กิโลเมตร ซึ่งหากรัสเซียถูกโจมตีเข้ามาได้จริง จะถือเป็นการหยามและทำลายชื่อเสียงของรัสเซียครั้งใหญ่   ผู้สนับสนุนการรุกรานยูเครนบางส่วนมองว่า การปรากฏตัวของระบบขีปนาวุธในมอสโกแสดงให้เห็นว่า ผู้นำของรัสเซียกำลังมีความกังวลเกี่ยวกับการถูกโจมตีเมืองหลวง   อเล็กซานเดอร์ คอตส์ นักข่าวรัสเซียคนที่สนับสนุนการรุกรานยูเครน กล่าวว่า “นั่นหมายความว่า ผู้นำเข้าใจถึงความเสี่ยงทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ และเข้าใจว่าการที่มอสโกและภูมิภาคต่าง ๆ…

เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…

T-Mobile ถูกแฮ็กผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ

Loading

    T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาถูกแฮกผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ   T-Mobile ออกรายงานการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้งานครั้งล่าสุด พบว่ามีข้อมูลถูกขโมยออกไปกว่า 37 ล้านราย ประกอบด้วยข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานทั้งแบบ Postpaid และ Prepaid โดยแฮกเกอร์เริ่มทำการลงมือขโมยข้อมูลผ่านทาง API ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนปีที่แล้ว จนถึงวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา   ทาง T-Mobile ได้ตรวจพบ และจำกัดการเข้าถึง API โดยข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, T-Mobile Account Number และข้อมูลเกี่ยวกับ Plan ที่ใช้งาน ล่าสุด T-Mobile ได้รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบแล้ว พร้อมทั้งจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป   ที่ผ่านมา T-Mobile ได้เผชิญเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้วกว่า 8 ครั้ง เช่น…

ผู้นำ‘รัสเซีย’จ่อถอนข้อตกลงกับ‘สภายุโรป’ หน่วยข่าวกรองเผยจับพลเมือง‘สหรัฐฯ’ข้อหา‘สายลับ’

Loading

  19 ม.ค. 2566 สำนักข่าว Anadolu Agency ของตุรกี เสนอข่าว Russia moves to terminate agreements with Council of Europe ระบุว่า วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย เสนอให้ยุติข้อตกลงที่รัสเซียเคยทำกับสภาแห่งชาติยุโรป (CoE) สืบเนื่องจากเมื่อเดือน มี.ค. 2565 CoE ได้ขับไล่รัสเซียและระงับความสัมพันธ์กับเบลารุส จากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน   ข้อเสนอของ ปูติน ถูกส่งต่อให้กับ วยาเชสลาฟ โวโลดิน (Vyacheslav Volodin) หัวหน้าสภาดูมา ซึ่งเป็นสภาล่าง (สภาผู้แทนราษฎร) ในระบบรัฐสภาของรัสเซีย เป็นร่างกฎหมายที่ระบุให้ยกเลิกข้อตกลง 21 ฉบับกับ CoE ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อนุสัญญายุโรปว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้าย กฎบัตรยุโรปว่าด้วยการปกครองตนเองในท้องถิ่น และกฎบัตรสังคมยุโรป นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 17…