สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…

ผบช.น.กำชับ 1 ก.พ. สถาปนาอุเทนถวาย เตรียมมาตรการรักษาความปลอดภัย หวั่นล้างแค้นคืน

Loading

    พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ได้เรียกประชุมชุดสืบสวน กก.สส.บก.น.6 ชุดสืบสวนนครบาล และฝ่ายสืบสวน สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา กรณี มีผู้ก่อเหตุ 2 คน คาดว่าเป็นวัยรุ่น ขี่จักรยานยนต์มาแล้วคนซ้อนท้ายชักอาวุธออกมายิง นักศึกษาคณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย 2 คนที่เดินอยู่ริมฟุตบาท ไปทั้งหมด 5 นัด กระสุนไปถูกนักศึกษาเสียชีวิต 1 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งติดตามผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็วที่สุด   ซึ่งขณะนี้ข้อมูลจากฝ่ายสืบสวนมีความคืบหน้าไปมาก ทั้งหลักฐานจากกล้องวงจรปิด รวมถึงเส้นทางการหลบหนี ส่วนมาตรการป้องกันเหตุ ตำรวจพอจะมีข้อมูลคนก่อเหตุ ขณะนี้ได้กำชับตำรวจในพื้นที่จัดกำลังเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในพื้นที่โดยรอบแล้ว   รายงานข่าวแจ้งว่า นักศึกษาที่โดนยิงอยู่คณะวิศวกรรมโยธา โดยผู้ลงมือเป็นนักศึกษาสถาบันคู่อริ เคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ผู้ก่อเหตุมีการวางแผนกันมาอย่างดี หลังก่อเหตุ เขาขี่ จยย.แบบวกวนเพื่อให้ยากแก่การติดตาม แต่ตำรวจสืบทราบว่าปลายทางอยู่จังหวัดนนทบุรี คนลงมือน่าจะมีความชำนาญใช้อาวุธปืน เพราะกระสุนเข้าเป้าทั้งๆ ที่รถจยย.เคลื่อนตัวแล้วเเละเป็นคนนั่งซ้อนท้ายด้วย   พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง…

เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

ที่ปรึกษา ปธน.ยูเครนขอลาออก ยอมรับให้ข้อมูลมั่วจนคนด่าทั้งประเทศ

Loading

    ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ซึ่งคอยอัปเดตสถานการณ์ในประเทศรายวัน ยื่นจดหมายขอลาออก หลังให้ข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับเหตุรัสเซียยิงมิสไซล์โจมตีอพาร์ตเมนต์ในเมืองดนีโปร   เมื่อวันอังคารที่ 17 ม.ค. 2566 นายโอเลกซีย์ อาเรสโตวิช ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ยื่นจดหมายขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว หลังจากออกมาบอกว่ามิสไซล์รัสเซียที่ตกใส่อาคารในเมืองดนีโปรทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 44 ศพนั้น ถูกฝ่ายยูเครนยิงตก โดยเขาขอโทษและยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดอย่างแท้จริง   นายอาเรสโตวิชเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากการที่เขาคอยอัปเดตสถานการณ์การต่อสู้ในยูเครนเป็นประจำทุกวันผ่านยูทูบ ซึ่งมีผู้รับชมหลายล้านคน แต่คำพูดดังกล่าวของเขาทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจไปทั่วประเทศ และถูกฝ่ายรัสเซียนำไปใช้เพื่อกล่าวโทษยูเครน   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากอพาร์ตเมนต์ในเมืองดนีโปรถูกมิสไซล์โจมตีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยนายอาเรสโตวิชกล่าวในตอนนั้นว่า ดูเหมือนมิสไซล์ของรัสเซียจะตกลงสู่อาคารดังกล่าว หลังจากถูกยิงตกโดยระบบป้องกันทางอากาศของยูเครน   อย่างไรก็ตามกองทัพยูเครนออกมาโต้แย้งว่า อพาร์ตเมนต์แห่งนี้ถูกยิงโดยขีปนาวุธ Kh-22 ของรัสเซีย ที่พวกเขาไม่มีขีดความสามารถพอในการยิงสกัด และคำพูดของนายอาเรสโตวิชไม่ตรงกับความเป็นจริงอย่างยิ่ง   ด้านชาวยูเครนออกมาตอบโต้คำพูดของนายอาเรสโตวิชอย่างโกรธเกรี้ยว โดยบางคนกล่าวหาเขาว่ากำลังส่งเสริมจุดยืนให้แก่นักโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย ขณะที่สมาชิกรัฐสภายูเครนบางคนร่วมกันลงนามคำร้อง เพื่อเรียกร้องให้ปลดนายอาเรสโตวิชออกจากตำแหน่งในรัฐบาล   กระแสโจมตีอย่างหนักทำให้ในเวลาต่อมานายอาเรสโตวิชโพสต์จดหมายลาออกของเขาบนโลกออนไลน์และระบุว่า เขาทำให้เกิดข้อผิดพลาดอย่างแท้จริง พร้อมกับขอแสดงความเสียใจอย่างจริงใจต่อผู้เสียชีวิต ญาติ และประชาชนชาวดนีโปรและทุกคนที่ต้องเจ็บปวดเพราะความผิดพลาดของเขา   ประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการตัดสินใจลาออกของนายอาเรสโตวิช…

สมาชิกตาลีบันจ่ายเงินซื้อ “เครื่องหมายยืนยันตัวตน” บนทวิตเตอร์

Loading

    สมาชิกรัฐบาลตาลีบันบางคนมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชีทวิตเตอร์แล้ว หลังยอมจ่ายเงินแลกตามนโยบายใหม่ของ อีลอน มัสก์   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง นับตั้งแต่การเข้ามาของ อีลอน มัสก์ ก็คือเรื่องของเครื่องหมายยืนยันตัวตน “บลูมาร์ก” หรือเครื่องหมายติ๊กถูกหลังชื่อบัญชีผู้ใช้ ที่เมื่อก่อนเป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อของบุคคลนั้น   มัสก์ต้องการสร้างรายได้จากจัดเก็บเงิน “ค่ายืนยันตัวตน” ให้คนทั่วไปสามารถมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และ 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iOS     ผู้ที่ได้รับเครื่องหมายบลูมาร์กนี้จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทวิตเตอร์ได้ เช่น ฟีเจอร์เซฟข้อความทวีตพร้อมแยกหมวดหมู่ หรือฟีเจอร์ Undo ข้อความที่ทวีตไป เป็นต้น   ส่วนบัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือเดิมนั้น หากเป็นบุคคลสาธารณะจะยังคงมีเครื่องหมายบลูมาร์กสีฟ้าอยู่ ซึ่งหากกดเข้าไปดูจะเขียนว่า “บัญชีนี้ได้รับการยืนยันเนื่องจากเป็นบัญชีที่มีชื่อเสียงในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับรัฐบาล ข่าว ความบันเทิง หรืออื่น ๆ” ส่วนอีกประเภทจะเขียนว่า “นี่คือบัญชีแบบเดิมที่ยืนยันแล้ว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้”   ซึ่งผู้รับสารจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ นั้นเป็นบัญชีประเภทไหน เป็นบัญชีที่ทวิตเตอร์รับรองความน่าเชื่อถือให้เอง หรือเป็นบัญชีที่จ่ายเงินซื้อบลูมาร์กมา   ขณะที่บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือบริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ…

“อั่งเปาฟรี” ไม่มีจริง! มุกใหม่มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกคลิกลิงก์ดูดเกลี้ยงบัญชี

Loading

    เตือนภัยกลโกงใหม่มิจฉาชีพ หลอกส่งลิงก์ผ่าน SMS อ้างแจก “อั่งเปาฟรี” ช่วงเทศกาลตรุษจีน เผลอคลิกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี   วันนี้ ( 17 ม.ค. 66 ) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ ก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และล่าสุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ มิจฉาชีพฉวยโอกาสส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น หรือ SMS อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ   SMS อั่งเปาฟรี จะหลอกให้คลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต หรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขอเตือนว่าอย่ากดลิงก์เข้าไปเด็ดขาด…