จารกรรมลับบรรลือโลก! เจอ “เครื่องติดตามจีน” ซ่อนในชิ้นส่วนรถรัฐบาลอังกฤษ สามารถส่งข้อมูลพิกัด รมว.แดนผู้ดีออกไป อดีตผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟชี้ “ปักกิ่ง” เป็นภัยคุกคามขั้นรายแรง

Loading

  เอเจนซีส์ – โด่งดังไปทั่ว เมื่อรถรัฐบาลอังกฤษที่ใช้รับส่งนักการทูต เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง รวมระดับรัฐมนตรีถูกพบเครื่องติดตามจากปักกิ่งซ่อนไว้ในชิ้นส่วนรถที่ผลิตออกมาจากจีน นักการเมืองอังกฤษชื่อดังชี้ “จีน” เป็นภัยคุกคามอย่างเป็นระบบต่อสหราชอาณาจักรอังกฤษ   เดลีเมล สื่ออังกฤษ รายงานวันศุกร์ (6 ม.ค.) ว่า หลังการตรวจค้นอย่างละเอียดพบว่ามีรถรัฐบาลอังกฤษไม่ต่ำกว่า 1 คัน พบถูกติดเครื่องติดตามที่เป็น “ซิมการ์ดโทรศัพท์” ซ่อนอยู่ด้านในส่วนตัวรถที่ปิดตาย   ซิมการ์ดโทรศัพท์นั้นมีความสามารถในการส่งข้อมูลพิกัดที่ตั้งออกไปได้ เจอในรถรัฐบาลอังกฤษคันที่ถูกใช้สำหรับนักการทูต เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง และรวมไปถึงรัฐมนตรีต่าง ๆ ของรัฐบาลอังกฤษเอง   สื่ออังกฤษชี้ว่า ซิมการ์ดโทรศัพท์นี้ค้นพบอยู่ในชิ้นส่วนรถที่ส่งออกมาจากจีน   การค้นพบครั้งสำคัญรอบนี้เกิดขึ้นในการตรวจค้นครั้งใหญ่ในรถรัฐบาลอังกฤษหลังมีการเพิ่มมาตรการความมั่นคงการป้องกันทางโครงสร้างพื้นฐาน   เซอร์ เอียน ดันแคน สมิธ (Sir Iain Duncan Smith) อดีตผู้นำพรรคคอนเซอร์ทีฟและอดีตรัฐมนตรีต่างเทศอังกฤษ แสดงความเห็นว่า การค้นพบแสดงให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่อังกฤษสมควรมอง “จีน” ในฐานะ “ภัยคุกคาม”   ในตอนหนึ่งของความเห็นเขากล่าวว่า “อย่างเป็นที่แน่ชัดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนมุมมองในภาพรวมและจัดให้ “จีน” อยู่ในฐานะเป็นภัยคุกคามอย่างเป็นระบบ”…

สะเทือนโลกวรรณกรรม! ชายอิตาลีรับสารภาพ “ขโมยต้นฉบับจำนวนมาก”

Loading

  ชายชาวอิตาลีให้การยอมรับเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ขโมยต้นฉบับที่ไม่ได้ตีพิมพ์มากกว่า 1,000 ฉบับ รวมทั้งจากนักเขียนชื่อดัง นับเป็นการไขปริศนาที่สั่นสะเทือนโลกวรรณกรรมมานานหลายปี   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ว่า อัยการของรัฐบาลกลางในนครนิวยอร์ก กล่าวในแถลงการณ์ว่า นายฟิลิปโป เบอร์นาร์ดินี วัย 30 ปี ซึ่งทำงานที่สำนักพิมพ์ “ไซมอน แอนด์ ชุสเตอร์” สารภาพผิดต่อข้อหาฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ 1 กระทง โดยเขาปลอมตนเป็นนายหน้าและผู้จัดพิมพ์ทางอีเมล เพื่อขอรับนวนิยายและผลงานชิ้นอื่น ๆ จากบรรดานักเขียนและตัวแทนของพวกเขา ด้วยการส่งอีเมลจากบัญชีปลอม   การหลอกลวงนี้เป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรมมานานหลายปี โดยมีนางมาร์กาเร็ต แอตวูด, นายเอียน แมคอิวัน และนางแซลลี รูนีย์ อยู่ในกลุ่มนักเขียนนวนิยายที่ตกเป้าหมาย ซึ่งเรื่องกลายเป็นที่รู้จักในสาธารณชนเมื่อเดือน ม.ค. ปีที่แล้ว เมื่อเบอร์นาร์ดินีถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) เข้าจับกุมที่สนามบินเจเอฟเค ในนครนิวยอร์ก   Man admits high-profile manuscript…

ยืนยัน ! 10 ม.ค. นี้ หน่วยงานรัฐรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง

Loading

    โฆษกประจำสำนักนายกฯ ยืนยัน ตั้งแต่ 10 ม.ค. 66 หน่วยงานรัฐต้องรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นบางมาตราที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปนั้น     กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีข้ออธิบายถึงการใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงินว่า เนื่องจากมาตรา 15 ของกฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับรองการใช้เอกสารหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานเบิกจ่ายของส่วนราชการและท้องถิ่น ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการและท้องถิ่น ต้องรับเอกสารหรือหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF หรือภาพทางดิจิทัลในการรับจ่ายเงิน ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา กล่าวว่า สำหรับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง…

ตำรวจเตือนพ่อแม่ยุคใหม่ “Sharenting” โพสต์ข้อมูลส่วนตัวลูก เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

Loading

  MGROnline – ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนภัยพฤติกรรม “Sharenting” ของผู้ปกครองโพสต์ข้อมูลส่วนตัวบุตรหลานในความปกครองเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี   วันนี้ (7 ม.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยพฤติกรรม Sharenting พ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวเด็กเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี ดังนี้   Sharenting เกิดจากการผสมคำว่า share + parenting ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แชร์ภาพ วิดีโอ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกมากเกินไป   จริงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ได้มีเจตนาร้าย ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปลูกด้วยความรักใคร่ เอ็นดู และอยากจะส่งต่อความน่ารักนี้ให้คนอื่นได้เห็น แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวบุตรหลานในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน   เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดีเข้าถึงตัวบุตรหลานได้ง่าย จากกิจกรรมที่ผู้ปกครองโพสต์ไว้ในสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น การขโมยตัวตน (Identity Theft) สวมรอยเหยื่อนำข้อมูลส่วนตัวไปกระทำผิดกฎหมาย หรือนำภาพเด็กไปสร้างเรื่องราวขอรับเงินบริจาคต่าง ๆ ปัญหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การนำภาพเด็กไปขายในเว็บมืด (Dark web) หรือนำไปเพื่อใช้ตอบสนองทางเพศของกลุ่มคนที่มีอาการใคร่เด็ก (Pedophile)…

Reuters เผยแฮ็กเกอร์รัสเซียพยายามล้วงข้อมูลแล็บนิวเคลียร์สหรัฐฯ

Loading

  สำนักข่าว Reuters รายงานว่าเมื่อปีที่แล้ว Cold River กลุ่มแฮกเกอร์ชาวรัสเซียโจมตีห้องทดลองวิจัยนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา 3 แห่ง ด้วยวิธีฟิชชิ่งสแกม   ในรายงานระบุว่า Cold River สร้างหน้าล็อกอินปลอมของห้องทดลองแห่งชาติบรูกเฮเวน อาร์กอนน์ และลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ จากนั้นแนบลิงก์ในอีเมลที่ส่งไปหานักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองทั้ง 3 แห่ง เพื่อหวังหลอกให้นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เผลอกรอกข้อมูลล็อกอินในหน้าเว็บไซต์ปลอม   ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า Cold River ตั้งใจปลอมชื่อโดเมนให้ดูเหมือนกับบริการของ Google และ Microsoft ในขณะที่อีเมลที่ใช้ก็ถูกพบว่าเป็นอีเมลเดียวกับที่ใช้ในปฏิบัติการฟิชชิ่งในช่วงปี 2015 – 2020   การโจมตีในครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติเข้าตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ตั้งอยู่ในดินแดนยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่   อดัม ไมเออรส์ (Adam Myers) รองประธานอาวุโสด้านข่าวกรองของ CrowdStrike บริษัทด้านไซเบอร์ระบุว่า Cold River มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการสนับสนุนปฏิบัติการข่าวกรองของรัฐบาลรัสเซีย     ที่มา pcmag      …

ผู้เชี่ยวชาญพบอาชญากรหันมานิยมใช้ ChatGPT สร้างมัลแวร์

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Check Point Research ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเผยว่า ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อความกำลังได้รับความนิยมจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์   โดยระบุว่าอาชญากรบางรายไม่มีความสามารถด้านการเขียนโค้ดด้วยซ้ำ แต่สามารถใช้ ChatGPT ในการสร้างมัลแวร์หรือใช้ในการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ประเภทอื่นได้   Check Point พบว่าในเดือนธันวาคม มีผู้ใช้ ChatGPT สร้างกระบวนการแฮกตั้งแต่การส่งอีเมลฟิชชิ่งไปจนถึงการเชื่อมมัลแวร์ที่ฝังไว้ในเครื่องเหยื่อกลับมายังแฮกเกอร์ บางรายก็ใช้สร้างมัลแวร์สำหรับสร้าง Backdoor ที่รันสคริปต์ได้เอง   นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมปีที่แล้ว ยังมีการพบกระทู้ในกระดานสนทนาแฮกเกอร์ที่เจ้าของกระทู้ระบุว่ากำลังทดลอง ChatGPT ในการสร้างวิธีการโจมตีและกลยุทธ์มัลแวร์ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่   ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ ChatGPT สร้างมัลแวร์ขโมยข้อมูล (infostealer) ที่เขียนขึ้นมาด้วยภาษา Python ซึ่งมีความสามารถในการค้นหาและคัดลองประเภทไฟล์และอัปโหลดไว้บนเซิร์ฟเวอร์ FTP ได้ แต่ในกรณีนี้ Check Point ชี้ว่ามัลแวร์ที่สร้างขึ้นมาเป็นเพียงมัลแวร์ขโมยข้อมูลระดับพื้นฐานเท่านั้น   ขณะที่อีกกระทู้หนึ่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน มีการพูดถึงความง่ายในการใช้ ChatGPT ในการสร้างตลาดซื้อขายสิ่งผิดกฎหมายบนดาร์กเว็บ   สำหรับ ChatGPT…