ออสเตรเลียจ่อฟ้อง PwC หลังทำข้อมูลแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมดำเนินการตอบโต้ ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers หรือ PwC) บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดังระดับโลก ภายหลังการตรวจสอบพบว่า PwC ทำแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล   รัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลูกค้าของ PwC ประเทศออสเตรเลีย (PwC Australia) กล่าวหาว่า PwC ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีฉบับใหม่ให้กับลูกค้าของ PwC ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดความไว้วางใจครั้งใหญ่ และรัฐบาลเตรียมจะส่งเรื่องนี้ให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (AFP) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป   นายสตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีฝ่ายบริการด้านการเงินของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกำลังพิจารณาว่าควรส่งข้อกล่าวหาทางอาญานี้ไปให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียหรือไม่   ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางคน เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลออสเตรเลียทำสัญญาใด ๆ เพิ่มเติมอีกกับบริษัทตรวจสอบบัญชีรายนี้ รวมถึงนายจิม ชาลเมอร์ส (Jim Chalmers) รัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลังออสเตรเลียที่ระบุว่า “นี่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้อภัยได้”   แม้ว่า นายทอม ซีมอร์ (Tom Seymour)…

ศาลสหรัฐเผย “เอฟบีไอ” สอดแนมการสื่อสารส่วนตัวของคนอเมริกันเป็นประจำ

Loading

    เอกสารจากศาลเเสดงการสอดแนมข่าวกรองต่างประเทศ (ฟีซา) เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) มักละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน ด้วยการลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาชื่อของเหยื่ออาชญากรรม และผู้เข้าร่วมการประท้วง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเอฟบีไอเข้าถึงราว 278,000 ครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยอีเมลส่วนตัว, ข้อความ และการสื่อสารอื่น ๆ ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ใช้ค้นหา เมื่อมีการสอดแนมชาวต่างชาติ   ถึงแม้ว่าเอฟบีไอควรเข้าถึงฐานข้อมูลของเอ็นเอสเอ เฉพาะเมื่อมีการสืบสวนปัญหาข่าวกรองต่างประเทศ แต่ความคิดเห็นของศาล แสดงให้เห็นว่า พวกเขาใช้ฐานข้อมูลนี้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบสวนคดีภายในประเทศด้วย ซึ่งในบางกรณี มันไม่มีข่าวกรองต่างประเทศ หรืออาชญากรรมในประเทศ ที่เป็นเหตุผลรองรับ ให้เอฟบีไอใช้สิทธิเข้าถึงฐานข้อมูลได้   อนึ่ง เอกสารข้างต้นถูกเผยแพร่ ขณะที่สภาคองเกรสกำลังอภิปราย เรื่องการต่ออายุมาตรา 702 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้เอ็นเอสเอ สามารถเข้าถึงบัญชีอินเทอร์เน็ตที่มีสหรัฐเป็นเจ้าของ เพื่อสอดแนมเป้าหมายข่าวกรองต่างประเทศ โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวว่า มาตราข้างต้น…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

Apple แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน

Loading

    บริษัท แอปเปิล (Apple) แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน   วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบริษัท แอปเปิล (Apple) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกประกาศแบนแชทจีพีที (ChatGPT) และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ เช่น การสร้างรูปภาพ วิดีโอและการเขียนโปรแกรม Copilot ของ GitHub โดยห้ามพนักงานใช้งานเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของความลับบริษัท   ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาบริการแชทจีพีที (ChatGPT) ได้เพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนให้กับผู้ใช้งานสามารถเลือกได้เพื่อไม่ให้ระบบเก็บข้อมูลการใช้งานหรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ฝึกสอนปัญญาประดิษฐ์ บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานในองค์กรต่าง ๆ   อย่างไรก็ตามยังมีกระแสข่าวหลายบริษัทแบน นอกจากบริษัท แอปเปิล (Apple)…

กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…

ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…