Meta จ่ายปิดปาก 37.5 ล้าน คดีเฟซบุ๊ก ลักลอบติดตามตำแหน่งบนสมาร์ทโฟนของทุกคน

Loading

  Meta โดนคดีเรื่องเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกครั้ง และครั้งนี้เป็นเรื่องของการติดตามที่ฝังอยู่ในแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก ซึ่งคดีนี้ทางบริษัทได้ยอมจ่ายเงินกว่า 37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ   สมาร์ทโฟนและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ได้กลายเป็นประเด็นอีกครั้งเนื่องจาก Meta ได้ถูกฟ้องในคดีที่ติดตามผู้ใช้โดยแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งผู้ใช้สังเกตได้ว่าเมื่อล็อกอินออกจากเฟซบุ๊ก แต่การติดตามตำแหน่งยังคงมีอยู่ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าเฟซบุ๊กกำลังเก็บข้อมูลและตำแหน่งของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนตัวที่ในสหรัฐอเมริกายอมรับไม่ได้   มีหลายแนวคิดที่เข้ามาถกเถียงกันว่า เฟซบุ๊กนั้นเก็บข้อมูลตำแหน่งจาก IP Address ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่รันอยู่บนอินเทอร์เน็ต และสามารถระบุตำแหน่งได้   ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายน 2018 Facebook และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Mark Zuckerberg บอกกับรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาว่า ใช้ข้อมูลตำแหน่ง “เพื่อช่วยให้ผู้โฆษณาเข้าถึงผู้คนในพื้นที่เฉพาะ” แต่ด้วยเหตุผลนี้ก็ยังถือว่าผิดกฎหมายในการล้วงข้อมูลส่วนตัวอยู่ดี   ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่รับประทานอาหารในร้านอาหารบางแห่งอาจได้รับโพสต์จากเพื่อนที่ทานอาหารที่นั่นด้วย หรือโฆษณาจากธุรกิจที่ต้องการให้บริการในบริเวณใกล้เคียง   เฟซบุ๊กสามารถรู้ที่อยู่เราได้จากอะไรบ้าง?   ตำแหน่ง (Location) ซึ่งเฟซบุ๊กมักจะบังคับเปิดเมื่อคุณต้องการจะแท็กสถานที่หรือทำการเช็กอิน ซึ่งจะจับตำแหน่งจาก GPS ของโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตของคุณ รวมถึงตำแหน่ง Wi-Fi และเครือข่ายมือถือด้วย   ที่อยู่ IP (อินเทอร์เน็ต) ด้วยตัวเลขของอินเทอร์เน็ต…

กลยุทธ์ใหม่ยูเครน หลอกรัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เป้าหมายปลอม

Loading

ยูเครนผลิตระบบยิงขีปนาวุธปลอม เพื่อล่อให้รัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีมาอย่างเสียเปล่า หวังผลาญขีปนาวุธในคลังของรัสเซีย สื่อต่างประเทศรายงานว่า ยูเครนได้มีการใช้ “ตัวล่อ” ที่สร้างเลียนแบบระบบยิงขีปนาวุธขั้นสูง HIMARS ของสหรัฐฯ เพื่อล่อให้รัสเซียโจมตีและเสียกระสุนหรือขีปนาวุธไปฟรี ๆ อย่างสิ้นเปลือง ยังมีรายงานอีกว่า ยูเครนขณะนี้ถึงกับต้องเร่งผลิตระบบยิงขีปนาวุธปลอมเพิ่ม โดยระบุว่า เป้าหมายปลอมเหล่านี้สามารถล่อขีปนาวุธร่อนคาลิเบรอ (Kalibr) ของรัสเซียมาได้แล้วถึงอย่างน้อย 10 ลูก เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของยูเครน กล่าวว่า “เมื่อโดรนของรัสเซียตรวจพบระบบขีปนาวุธ มันเหมือนกับเจอเป้าหมายระดับวีไอพี” โดยปกติเมื่อโดรนรัสเซียตรวจพบระบบขีปนาวุธของฝ่ายตรงข้าม จะส่งตำแหน่งของเป้าหมายไปยังระบบยิงขีปนาวุธร่อนของตัวเอง สื่อต่างประเทศยังได้รับรูปถ่ายของเป้าหมายปลอมที่ยูเครนสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบซ้ำ จึงพอจะเชื่อได้ว่า นี่เป็นกลยุทธ์ที่ยูเครนนำมาใช้จริง นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน เริ่มขึ้นในเดือน ก.พ. รัสเซียอ้างว่า ได้ทำลายขีปนาวุธที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ไปแล้วเป็นจำนวนมาก รวมถึงระบบขีปนาวุธพิสัยไกล HIMARS ด้วย นักการทูตสหรัฐฯ รายหนึ่งบอกว่า “พวกเขาอ้างว่าได้โจมตี HIMARS จำนวนมากกว่าที่เราเคยส่งไปด้วยซ้ำ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระบบขีปนาวุธที่จัดหาโดยชาติตะวันตกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของยูเครนในการต้านทานกองกำลังรัสเซีย ซึ่งการใช้ตัวล่อปลอมนี้ก็ดูจะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ใหม่ที่ยูเครนนำมาใช้เพื่อปกป้องอาวุธของจริงไว้ไม่ให้ถูกทำลาย แผนตัวล่อปลอมของยูเครนนี้ นอกจากจะเพื่อปกป้องอาวุธจริงแล้ว ยังเพื่อ “ผลาญ” ขีปนาวุธในคลังอาวุธของรัสเซียได้ ไม่ชัดเจนว่า ปัจจุบันรัสเซียได้ใช้ขีปนาวุธไปแล้วกี่ลูก และยังเหลืออยู่อีกกี่ลูก…

“เศรษฐพงค์” เห็นด้วย กสทช. คุมเข้มเผยแพร่ข่าวปมควบรวม

Loading

กทม. 29 ส.ค.- “เศรษฐพงค์” เห็นด้วยประธาน กสทช. คุมเข้มการเผยแพร่ข่าวปมควบรวม หลังมือดีปล่อย “5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค” พร้อมแนะ กสทช. ศึกษาข้อบังคับประชุมปี 55 ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลได้ แต่ต้องไม่ผิดระเบียบ และไม่ทำให้เกิด ความเสียหาย   พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงกรณี ศ.(คลินิก) นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ออกบันทึกถึงเลขาธิการ กสทช. เรื่องการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์กรณีการควบรวม หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าว ในหัวข้อ “5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค” อ้างที่มาจาก กสทช. ว่า การที่ประธาน กสทช. ตอกย้ำความสำคัญเรื่องการเปิดเผยข้อมูลนั้น ถือเป็นเรื่องดีและทำถูกต้องแล้ว เพราะหากข้อมูลที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการลงมติ และข้อมูลที่อาจขาดความครบถ้วน…

ญี่ปุ่นเตรียมแก้กฎหมาย เลิกใช้ Floppy Disk ส่งข้อมูลให้หน่วยงานรัฐ

Loading

  ในการประชุม Digital Society Concept Conference ครั้งที่ 5 ของญี่ปุ่นเพื่อวางแผนการให้บริการด้านดิจิทัลของรัฐบาลในอนาคต   Karo Tono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จะแก้กฎหมายเรื่องการส่งเอกสารให้หน่วยงานของรัฐบาล โดยจะเปลี่ยนจากการบังคับให้ส่งด้วยแผ่น Floppy Disk หรือซีดีรอม ไปเป็นวิธีที่ทันสมัยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด   รัฐมนตรีฯ ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐและพบว่ามีข้อบังคับมากกว่า 1,900 ข้อ ที่เกี่ยวข้องซึ่งข้อบังคับจำนวนมากระบุให้ใช้แผ่นดิสก์หรือซีดีรอม ส่วนวิธีที่ทันสมัยกว่า เช่น การอัปโหลดลงอินเทอร์เน็ต ไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีไม่ได้รับการอนุญาต   นาย Tono ยังวางแผนว่า รัฐบาลจะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องความขาดแคลนทักษะด้านเทคโนโลยีในองค์กรรัฐบาล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร หรือแม้แต่การนำระบบอินเทอร์เน็ตแบบ Web3 มาใช้     ที่มา: The Register           ที่มา :         …

ไมโครซอฟท์พบช่องโหว่ใน WebView ของแอป TikTok เปิดทางแฮ็กเกอร์ยึดบัญชี

Loading

  ไมโครซอฟท์รายงานถึงช่องโหว่ใน API ที่ TikTok เพิ่มลงในเบราว์เซอร์ภายในแอปผ่านทาง WebView เปิดทางให้แฮ็กเกอร์ดึงเอา token สำหรับยืนยันตัวตนไปได้ โดยทีมงานของไมโครซอฟท์ยืนยันช่องโหว่ด้วยการสร้างลิงก์ที่ผู้ใช้ TikTok บนแอนดรอยด์คลิปแล้วจะถูกเปลี่ยนโปรไฟล์เป็น “!! SECURITY BREACH !!!”   ช่องโหว่ใน API ของ WebView อาจจะต้องเปิดจากลิงก์ในแอปเท่านั้ แต่เนื่องจากตัวแอป TikTok รองรับ deeplink ผ่านทาง URL ที่ขึ้นต้นด้วย https://m.tiktok[.]com/redirect อีกทางทำให้แฮ็กเกอร์สามารถสร้างลิงก์จากภายนอกแอปแต่ก็เปิดจากเบราว์เซอร์ในแอป TikTok อยู่ดี แม้ที่จริง TikTok จะป้องกันการทำเช่นนี้ไว้แต่ทีมงานของไมโครซอฟท์ก็พบวิธีการหลบฟิลเตอร์ได้   API ที่ TikTok ใส่เพิ่มเข้าไปใน WebView มีมากกว่า 70 รายการ บาง API เปิดให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ บางส่วนเปิดให้ยิง HTTP POST ไปยังเซิร์ฟเวอร์แล้วคืนค่าทุกอย่างกลับมา รวมถึง HTTP…

สภาฯ แคลิฟอร์เนียผ่านร่างกฎหมาย ควบคุมบริษัทโซเชียลมีเดียไม่ให้เป็นอันตรายต่อเด็ก

Loading

  สภานิติบัญญัติของรัฐแคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายที่กำหนดให้แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียต้องออกแบบแอปโดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้เยาว์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ร่างกฎหมายกำหนดให้บริษัทแอปจะต้องศึกษาผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ผู้เยาว์สามารถเข้าถึงได้ก่อนจะปล่อยให้ใช้เป็นสาธารณะเพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงให้เปิดเผยนโยบายความเป็นส่วนตัวด้วยภาษาที่ผู้เยาว์สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้ ยังห้ามใช้เครื่องมือที่ให้ผู้เยาว์เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและห้ามใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้เยาว์ในการทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เยาว์ รวมทั้งห้ามไม่ให้ติดตามตำแหน่งที่อยู่ยกเว้นว่าจะแจ้งก่อน บริษัทที่ฝ่าฝืนอาจถูกระงับการดำเนินการแอปพลิเคชันรวมทั้งต้องเสียค่าปรับเป็นเงินสูงสุดถึง $2,500 (ราว 91,000 บาท) ในแต่ละกรณีและสูงสุดถึง $7,500 (ราว 270,000 บาท) หากพบว่ากระทำโดยเจตนา ในเบื้องต้น Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐยังไม่ได้ระบุว่าจะลงนามรับรองหรือจะโหวตยับยั้งร่างกฎหมาย ขณะที่ตัวแทนของบริษัทแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียรวมถึง Meta , Snap และ Twitter ต่างคัดค้านด้วยเหตุผลว่าการมีกฎหมายควบคุมแอปพลิเคชันที่ต่างกันในแต่ละรัฐ จะทำให้บริษัทปฏิบัติตามกฎได้ยาก หากผู้ว่าการรัฐเลือกที่จะลงนามรับรอง กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมปี 2024 ที่มา: Wall Street Journal     ที่มา : blognone / วันที่เผยแพร่ 31 ส.ค.65 Link : https://www.blognone.com/node/130133