Okta ชี้แจงเหตุข้อมูลหลุด ระบุแฮกเกอร์เข้ายึดคอมพิวเตอร์พนักงานซัพพอร์ตได้ 25 นาที

Loading

ภาพหน้าจอระบบภายในของ Okta ที่ LAPSUS เผยแพร่ผ่าน Telegram Okta รายงานการผลการตรวจสอบเหตุที่กลุ่ม LAPSUS$ ระบุว่า สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าของบริษัทได้ โดยพบว่า ช่วงเวลาที่แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้เป็นช่วงเวลาสั้นกว่าที่คาดไว้ตอนแรกอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่ถูกแฮกเป็นเวิร์คสเตชั่นของเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตที่เป็นพนักงานของบริษัท Sitel อีกที หลังจากยึดเครื่องได้แล้วแฮกเกอร์เข้าแอป SuperUser ขององค์กรลูกค้าสององค์กรเพื่อดูข้อมูล แต่ไม่สามารถแก้ไขคอนฟิกอะไรได้ ข้อมูลของ Okta นี้ขัดกับข้อมูลของกลุ่ม LAPSUS$ ที่เปิดเผยว่า เข้าถึงระบบได้เมื่อช่วงเดือนมีนาคม แต่จนตอนนี้กลุ่ม LAPSUS$ ก็ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอะไรเพิ่มเติมนอกจากภาพหน้าจอเท่านั้น แม้ผลกระทบจะไม่ร้ายแรง แต่ Okta ก็ประกาศเลิกซื้อบริการซัพพอร์ตจาก Sitel และเปลี่ยนนโยบายว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เข้าถึงระบบซัพพอร์ตจะต้องจัดการโดย Okta เองเท่านั้น พร้อมกับจำกัดสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตให้ดูข้อมูลได้จำกัดลง ที่มา – Okta     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 20 เม.ย.65 Link : https://www.blognone.com/node/128115

“จีน-หมู่เกาะโซโลมอน” ลงนามข้อตกลง ยกระดับร่วมมือความมั่นคง

Loading

รัฐบาลจีนยืนยัน การลงนามใน “ข้อตกลงด้านความมั่นคงฉบับสำคัญ” ร่วมกับหมู่เกาะโซโลมอน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ว่า นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐ และ รมว.การต่างประเทศจีน และ นายเจเรเมียห์ มาเนเล รมว.การต่างประเทศของหมู่เกาะโซโลมอน ลงนามร่วมกันในข้อตกลงว่าด้วยการยกระดับการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี   China says it has already signed security pact with Solomon Islands – surprising Australia. The information that PRC foreign minister Wang Yi had signed the pact was made at a foreign ministry media briefing,…

จีนเตือนประชาชนระวังสายลับต่างชาติจากเว็บหางานและเว็บหาคู่

Loading

(แฟ้มภาพเอเอฟพี-ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา) เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ สื่อต่างประเทศรายงาน (17 เม.ย.) การต่อต้านการจารกรรมยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับทางการจีนอย่างชัดเจน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ในฮ่องกง ไต้หวัน ทะเลจีนใต้ และวิกฤตในยูเครน สำนักงานอัยการสูงสุดจีนเปิดเผยว่า แม้จีนได้ควบคุมกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ดี เว็บไซต์หางานและการหาคู่ ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมได้กลายเป็นแหล่งแทรกซึมของกองกำลังศัตรูต่างชาติมากขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดจีนระบุต่อไปว่า นักศึกษา แรงงานข้ามชาติ และเยาวชนที่ตกงานซึ่งไม่ค่อยรู้เรื่องความมั่นคงของชาติมีความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของอาชญากรต่างชาติมากที่สุด โดยยกตัวอย่างกรณีนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ที่ถูกเลือกโดยสายลับจากต่างประเทศผ่านแอปหาคู่ออนไลน์ในปี 2563 ได้ให้ภาพถ่ายของฐานทัพทหารและอุปกรณ์ทางทหารเพื่อแลกกับเงิน 10,000 หยวน หรือราว 50,000 บาท โดยต่อมาถูกตัดสินจำคุก 6 ปี ข้อหาเผยแพร่ความลับทางการทหาร ในอีกกรณีหนึ่ง ผู้อำนวยการสนามบินแห่งหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ฐานส่งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเดินทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล เพื่อแลกกับเงินกว่า 26,000 หยวน หรือราว 135,000 บาท ปักกิ่งได้เพิ่มความพยายามในการต่อต้านการจารกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเผยแพร่แนวทางการต่อสู้กับการสอดแนมและเรียกร้องให้ประชาชนช่วยรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย นายลี่ กั๋วเจิ้ง โฆษกกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ระบุว่า เมื่อปี 2564 มีการสอบสวนคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมด 62,000…

ระเบิดโรงเรียนในอัฟกานิสถาน เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 11 คน

Loading

เกิดเหตุระเบิด 3 ครั้ง ในโรงเรียนเด็กชายแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ของอัฟกานิสถาน จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย และบาดเจ็บ 11 คน คาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มอิสลามญิฮาดที่เป็นปรปักษ์กับกลุ่มตอลิบันผู้ปกครองประเทศในปัจจุบัน   เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เคลื่อนย้ายเยาวชนชายที่ได้รับบาดเจ็บด้วยเปลหามเพื่อนำส่งโรงพยาบาล หลังเกิดเหตุระเบิด 3 ครั้งในโรงเรียนเด็กชายย่านฮาซาราชีอะต์ ในกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 19 เมษายน (Photo by Wakil Kohsar / AFP) เอเอฟพีรายงานเหตุระเบิดในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ของอัฟกานิสถาน เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 รายและบาดเจ็บ 11 คน จากเหตุระเบิด 3 ครั้งในโรงเรียนเด็กชายย่านฮาซาราชีอะต์ ในเมืองหลวงของอัฟกานิสถาน โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาลิด ซาดราน โฆษกตำรวจคาบูลกล่าวกับเอเอฟพีว่า เหตุระเบิด 2 ครั้งที่โรงเรียนอับดุล ราฮิม ชาฮิดเมื่อวันอังคาร เกิดจากระเบิดแสวงเครื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6…

ลบด่วน เจอช่องโหว่ แอป 7-Zip เปลี่ยนแฮกเกอร์ ให้กลายเป็นแอดมิน

Loading

  ลบด่วน เจอช่องโหว่ แอป 7-Zip เปลี่ยนแฮกเกอร์ ให้กลายเป็นแอดมิน มีการค้นพบช่องโหว่ Zero-day บนแอป 7-zip ซึ่งเป็นโปรแกรมบีบอัดไฟล์ยอดนิยมที่ใช้ทั่วโลก ลักษณะของช่องโหว่จะอนุญาตให้แฮกเกอร์สามารถยกระดับสิทธิของตัวเองให้กลายเป็นผู้ดูแลระบบได้ นั่นทำให้แฮกเกอร์มีอิสระอย่างมากในการติดตั้งมัลแวร์หรือดูดข้อมูลจากในเครื่องออกไปได้ง่ายกว่าเดิมคับ . คนที่ค้นพบช่องโหว่นี้คือผู้ใช้ GitHub ที่ใช้ชื่อว่า Kagancapar และได้อ้างอิงช่องโหว่คือ CVE-2022-29072 . ทั้งนี้ 7-zip นั้นเป็นแอปข้ามแพลตฟอร์ม แต่ช่องโหว่นี้จะทำงานเชื่อมโยงกับ Windows เท่านั้น เนื่องจากอาศัยเครื่องมือบางอย่างที่มีเฉพาะบน Windows ครับ . และในขณะที่เขากำลังเขียนถึงช่องโหว่ของ 7-zip ที่เวอร์ชั่นปัจจุบัน 21.07 ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว แต่ถึงอย่างนั้นเว็บไซต์ Tom hardware ได้แนะนำให้ลบไฟล์ 7-zip.chm ที่อยู่ในโฟลเดอร์ installed ของ 7-Zip ก็พอจะกำจัดช่องโหว่ออกไปได้ครับ . คลิปการยกระดับสิทธิ์จากผู้ใช้ไปเป็น Admin ผ่าน 7-Zip https://www.youtube.com/watch?v=NrvlNt5CiBg&t=5s . ข้อมูลจาก…

อย่าหาโหลด ติดตั้ง Windows 11 ปลอม เสี่ยงติดมัลแวร์ ขโมยข้อมูล

Loading

ต้องยอมรับว่าภัยคุกคามทุกวันนี้ กำลังครีเอทตัวเองให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ล่าสุดแฮกเกอร์ได้ออกแบบเว็บไซต์ปลอมของ Microsoft ที่เชิญชวนให้ผู้ใช้ติดตั้ง Windows 11 ได้ฟรี ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจาก Microsoft แต่จะมีอะไรบางอย่างแถมมาให้นะ . ลักษณะของเว็บไซต์ปลอมที่แฮกเกอร์ทำขึ้น นั้นคล้ายกับเว็บจริงมาก ทั้งรูป ลิงก์ ฟ้อนต์ ระบบ Login และปุ่มสำหรับดาวน์โหลด Windows 11 ปลอม บอกได้เลยว่าเนียนขั้นสุด ใครไม่ทันสังเกต ก็จะนึกว่าเป็นเว็บของ Microsoft ก็ไม่แปลกครับ . แต่หากกดโหลดมาใช้งาน จะมีมัลแวร์แถมมาให้ โดยจ้องขโมยข้อมูลบนเบราว์เซอร์และกระเป๋าเงินดิจิทัล . แคมเปญการโจมตีนี้อาศัยจังหวะที่ Microsoft กำลังโปรโมท Windows 11 และเชิญชวนให้ผู้ใช้ทั่วโลกให้อัปเกรด ซึ่งตอนนี้ยังสามารถอัปเกรดได้ฟรีครับ . กลับมาที่เว็บไซต์ปลอมครับ ชื่อของเว็บไซต์ปลอมที่ถูกทำขึ้นคือ windows11-upgrade11.com (ตอนนี้น่าจะถูกปิดไปแล้ว) หากเรากดดาวน์โหลดไฟล์มา เราจะได้รับไฟล์ ISO ของ Windows 11 ก็จริง แต่จะมีมัลแวร์ขโมยข้อมูลตัวใหม่ที่ชื่อว่า Inno Stealer…