ชาวพม่าในไทยไม่พอใจคำขู่สถานทูต เขียนจดหมายด่าติดเต็มกำแพงที่ ถ.สาทร

Loading

  ป้ายด่าทอ ต่อว่าที่ชาวพม่าส่วนหนึ่งที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย นำไปแปะไว้ริมกำแพงสถานทูต ที่ถนนสาทรเหนือ เช้าวันนี้ (10 เม.ย.) MGR Online – ชาวพม่าในไทยไม่พอใจคำขู่ของสถานทูต ที่ห้ามให้การสนับสนุน NUG และ PDF เขียนคำด่าติดกระดาษ A4 แปะเต็มกำแพงที่ถนนสาทรเหนือ ช่วงเช้าวันนี้ (10 เม.ย.) ที่สถานทูตพม่า ประจำประเทศไทย ถนนสาทรเหนือ กรุงเทพฯ ชาวพม่าจำนวนหนึ่งซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้แสดงความไม่พอใจสถานทูต โดยเขียนข้อความด่าทอ ต่อว่าจำนวนมาก แล้วนำไปติดไว้บริเวณป้ายและกำแพงสถานทูตเต็มไปหมด   ประกาศเตือนของสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ที่ห้ามชาวพม่าในต่างประเทศให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาล เนื้อความที่เขียนด่า ส่วนมากเป็นการโจมตีบทบาทของสถานทูตที่ให้การสนับสนุนสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) หรือที่คนพม่าซึ่งอยู่ฝ่ายต่อต้านเรียกสั้นๆ ว่า “สภาทหาร” ที่กำลังทำหน้าที่บริหารประเทศพม่าอยู่ในขณะนี้ หลายเนื้อความใช้ถ้อยคำรุนแรงในทำนองที่ว่า สถานทูตทำตัวเป็นทาสรับใช้ทหาร สถานทูตเป็นพวกก้มหัวรับใช้ทหาร เราไม่ต้องการสถานทูต ปฏิกิริยาไม่พอใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 สถานทูตพม่า ประจำประเทศไทย ได้ออกประกาศเตือน เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และเพจทางการบนเฟซบุ๊ก เนื้อความในประกาศเตือนดังกล่าว…

บัญชีทวิตเตอร์ของหน่วยงานให้ทุนการศึกษาของอินเดียถูกแฮก

Loading

    วันนี้ (10 เมษายน) บัญชี Twitter ทางการของคณะกรรมการทุนมหาวิทยาลัย (University Grants Commission – UGC) ของอินเดียที่มีผู้ติดตามเกือบ 300,000 คนถูกแฮก       โดยก่อนหน้านี้ บัญชี Twitter ของสำนักงานมุขยมนตรีของรัฐอุตตรประเทศและกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดียก็เพิ่งจะถูกแฮกไปเช่นเดียวกัน   แฮกเกอร์ได้เข้าไปเปลี่ยนหน้าโปรไฟล์ของบัญชี UGC India ด้วยภาพการ์ตูน และทำการทวีตข้อความที่อ้างถึงบุคคลปริศนาเป็นจำนวนมาก รวมถึงยังได้แก้ไขคำอธิบายบัญชีด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับคริปโทเคอเรนซี       ล่าสุด ภาพโปรไฟล์และคำอธิบายบัญชีของ UGC India กลับมาเป็นปกติแล้ว แต่ยังคงทวีตถึงบุคคลปริศนาจำนวนมากอยู่     ที่มา aninews     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา :    Beartai           …

Meta ชี้ว่าแฮกเกอร์เบลารุสพยายามหลอกให้กองทัพยูเครนยอมแพ้

Loading

  Meta ระบุในรายงานความมั่นคงปลอดภัยประจำไตรมาสว่า UNC1151 กลุ่มแฮกเกอร์จากเบลารุสพยายามแฮกเข้าไปยังบัญชี Facebook ของบุคลากรทางการทหารของยูเครนจำนวนมากเพื่อโพสต์วีดิโอเรียกร้องให้กองทัพยูเครนยอมแพ้   การแฮกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งปฏิบัติการแฮกที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘Ghostwriter’ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเบลารุส พันธมิตรสำคัญของรัสเซีย   อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการแฮกดังกล่าวสามารถเข้าควบคุมได้เพียงไม่กี่บัญชีเท่านั้น และในกรณีที่สามารถควบคุมบัญชีได้และพยายามโพสต์วีดิโอปลอม ทาง Meta ก็สามารถยับยั้งไม่ให้วีดิโอเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อได้   นอกจากความพยายามในการแฮกบุคลากรทางการทหารของยูเครนแล้ว รายงานของ Meta ยังได้เผยให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีผู้สนับสนุนยูเครนด้วยวิธีการในทางลับรูปแบบอื่น อย่างหน่วย KGB ของเบลารุสที่พยายามยุยงให้มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโปแลนด์ (ซึ่งต่อต้านรัสเซียและสนับสนุนยูเครน) ในกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ แต่โชคดีที่ Meta สามารถปิดบัญชีเจ้าปัญหาได้ทัน   ที่มา The Verge     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai                 / วันที่เผยแพร่ 10 เม.ย.65 Link…

เจออีก พบมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านใน Google Play แฝงตัวมากับแอปฯ ป้องกันไวรัส

Loading

  มันมากับแอปฯ (อีกแล้ว) รายงานเผยพบ 6 แอปฯ ป้องกันไวรัสใน Google Play มีมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านแฝงตัวอยู่ ล่าสุดถูกนำออกแล้ว แต่ก่อนหน้านี้พบยอดติดตั้งนับหมื่น ใครเผลอติดตั้งไปรีบลบด่วน   นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Check Point เผย Google Play มีแอปฯ (อ้าง) ป้องกันไวรัสจำนวน 6 แอปฯ แอปแฝงมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านติดมาด้วย แถมมีการดาวน์โหลดแอปทั้ง 6 แอปมากกว่า 15,000 ครั้ง !! แม้ว่าล่าสุดทาง Google จะนำออกแล้วก็ตาม   สำหรับตัวแอปฯ ทั้ง 6 ก็มีดังนี้     –  Atom Clean-Booster, Antivirus   –  Antivirus Super Cleaner   –  Alpha Antivirus,…

Block (Square เดิม) รายงานข้อมูลลูกค้าในสหรัฐฯ รั่วจากเหตุอดีตพนักงานดาวน์โหลดข้อมูลออกไป

Loading

  Block หรือ Square เดิม บริษัทด้านธุรกิจการเงินของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ได้ออกรายงานข้อมูลหลุด โดยทางบริษัทเผยว่ามีอดีตพนักงานดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าในสหรัฐฯ จำนวนหนึ่งไปออกโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา   Block รายงานต่อ ก.ล.ต. สหรัฐฯ หรือ SEC ว่า ข้อมูลที่ถูกดาวน์โหลดไปเป็นข้อมูลจาก Cash App Investing ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญของลูกค้า ทั้งชื่อเต็มและเลขที่บัญชีโบรกเกอร์ แต่ข้อมูลลูกค้าบางกลุ่มหลุดไปถึงมูลค่าพอร์ต, สินทรัพย์ที่ถือผ่านโบรกเกอร์ และ/หรือข้อมูลกิจกรรมการซื้อขายหุ้นในหนึ่งวัน โดย Block ระบุว่าพนักงานคนนี้ดาวน์โหลดข้อมูลหลังออกจากบริษัทไปแล้ว และสิทธิ์ในการเข้าถึงรายงานเป็นหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานคนนี้   ทั้งนี้ Block ระบุว่ารายงานไม่ได้มีข้อมูลอย่างชื่อผู้ใช้, รหัสผ่าน, เลข Social Security, วันเกิด, ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรที่ใช้ชำระเงิน, ที่อยู่, ข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับลูกค้าที่ระบุตัวตนได้ ซึ่ง Block ได้ติดต่อไปยังลูกค้า 8.2 ล้านรายทั้งลูกค้าปัจจุบันและอดีตลูกค้าให้รับทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว และยืนยันว่ากระทบเฉพาะลูกค้าในสหรัฐฯ​…

สหรัฐสั่งจำคุกชาวจีน 29 เดือน หลังรับสารภาพขโมยข้อมูลการค้าให้รัฐบาลจีน

Loading

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ศาลสหรัฐฯ ได้สั่งจำคุกนายเซียง ไห่เถา ชาวจีนวัย 44 ปี เป็นเวลา 29 เดือน หลังจากรับสารภาพเมื่อเดือน ม.ค. ว่าเขามีส่วนสมคบคิดในการขโมยความลับทางการค้าจากบริษัทการเกษตรมอนซานโต (Monsanto) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลจีน นายเซียง ซึ่งเป็นพนักงานของมอนซานโตและบริษัทในเครือตั้งแต่ปี 2551-2560 ยอมรับสารภาพในศาลรัฐบาลกลางรัฐมิสซูรี ในข้อหามีส่วนร่วมในการขโมยข้อมูลทางการค้าของบริษัท ทั้งนี้ นายเซียงเขาถูกตัดสินโทษจำคุก 29 เดือน และหลังจากนั้นจะได้รับการปล่อยตัวโดยมีการควบคุมความประพฤติอีก 3 ปี รวมถึงโทษปรับ 150,000 ดอลลาร์ นายแมทธิว โอลเซน ผู้ช่วยอัยการสูงสุดประจำสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ สังกัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า “นายเซียงสมคบคิดกับผู้อื่นในการขโมยข้อมูลความลับทางการค้าเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและรัฐบาลจีน” นายโอลเซนกล่าวว่า “คดีขโมยข้อมูลความลับทางการค้าถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรงที่บ่อนทำลายศักยภาพทางการแข่งขันของบริษัทสหรัฐ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติจะเดินหน้าลงโทษต่อผู้ใดก็ตามที่ขโมยความลับทางการค้าเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลต่างชาติ” เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางพบว่า นายเซียงครอบครองสำเนาอัลกอริธึมซึ่งพัฒนาโดยมอนซานโต ขณะที่เขากำลังรอขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางไปยังประเทศจีนในเดือนมิถุนายน 2560 ซึ่งเขาทำงานให้กับสถาบันวิทยาศาสตร์ดิน สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน โดยเขาถูกจับกุมขณะเดินทางกลับมายังสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน 2562     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    / …