“สกมช.”เร่งตั้ง“เนชั่นแนล เซิร์ต”รับมือภัยไซเบอร์ปีหน้า

Loading

  สกมช. เร่งเพิ่มทักษะด้านไซเบอร์ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พร้อมเร่งตั้งเนชั่นแนล เซิร์ต ให้เสร็จในปีหน้า ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ เมื่อเกิดเหตุจะสามารถตอบสนอง แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เลขาธิการ กมช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้มีผลกระทบในวงกว้างทั่วโลก ทาง สกมช. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงมีแผนสร้างความตระหนักทั้งในส่วนของประชาชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศให้มีความพร้อมในการรับมือ โดยล่าสุดได้จัดการฝึกอบรมเปิดการฝึกเพื่อทดสอบขีดความสามารถทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ โดยมีองค์งานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในบุคลากรด้านนี้ของแต่ละหน่วยงาน มีความพร้อมในการรับมือภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานในระดับประเทศ “โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน สาธารณสุข ไฟฟ้า คมนาคม ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับแผนของ สกมช.ที่ได้มีเป้าหมาย พัฒนาบุคลากร ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ต่ำกว่า 2,250 คน ในปีหน้า” พลเอก ปรัชญา กล่าวต่อว่า ในปี 65 สกมช.พยายามจะเดินหน้าพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องหลังได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 64 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภายในด้วยการฝึกร่วมกับหน่วยงานต่างๆในแต่ละกลุ่ม รวมถึงหน่วยงานต่างระดับชาติ และจะเร่งจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนชั่นแนล…

เบื้องหลัง NSO Group โดนสหรัฐสั่งแบน เป็นเพราะล้ำเส้น มัลแวร์ถูกใช้เจาะนักการทูตสหรัฐ

Loading

                                        ภาพจาก NSO Group   บริษัท NSO Group จากอิสราเอล ผู้สร้างมัลแวร์ Pegasus ใช้เจาะ iPhone กลายเป็นข่าวใหญ่ช่วงปลายปีนี้ หลังโดนสหรัฐอเมริกาสั่งแบนห้ามทำการค้าด้วย ตามด้วยการโดนแอปเปิลฟ้องร้อง และส่งอีเมลเตือนผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงจาก Pegasus หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานเบื้องหลังเหตุการณ์ที่ทำให้ NSO Group โดนสหรัฐอเมริกาแบน เป็นเพราะมีลูกค้าของ NSO ในประเทศยูกันดานำ Pegasus ไปเจาะโทรศัพท์ของนักการทูตสหรัฐในยูกันดา 11 คน ที่ผ่านมา NSO เสนอขาย Pegasus…

โดรนบินอัตโนมัติติดตั้งไมโครโฟนที่ช่วยในการตรวจจับเสียงดังของปืนและป้องกันอาชญากรรม

Loading

  บริษัท Airobotics ประเทศอิสราเอลและ ShotSpotter ประเทศสหรัฐอเมริกาจับมือร่วมกันพัฒนาโดรนบินอัตโนมัติตรวจจับเสียงดังของปืนเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรม ปัจจุบันโดรนบินอัตโนมัติถูกนำเข้ามาใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ล่าสุด 2 บริษัทเอกชน Airobotics ประเทศอิสราเอลและ ShotSpotter ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จับมือร่วมกันพัฒนาโดรนบินอัตโนมัติที่สามารถใช้ตรวจสอบรักษาความปลอดภัยในตัวเมืองและป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดรนบินติดตั้งเทคโนโลยีไมโครโฟนแบบพิเศษสามารถทำงานได้ต่อเนื่องและมีความแม่นยำสูงในการระบุตำแหน่งของเสียงปืน ปัจจุบันมีการใช้งานระบบโดรนบินอัตโนมัติดังกล่าวแล้ว 120 เมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และแคริบเบียน โดรนบินอัตโนมัติขนาดเล็กติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมใบพัด 4 ชุด บริเวณลำตัวติดตั้งกล้องบันทึกภาพความละเอียดสูงและติดตั้งอุปกรณ์ไมโครโฟนที่ช่วยในการตรวจจับเสียงดังของปืนหรือเสียงที่ดังผิดปกติในพื้นที่ต่าง ๆ ของเมือง ประมวลผลระบุตำแหน่งของเสียงปืนร่วมกับดาวเทียม GPS เชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมปฏิบัติงานเดินทางไปยังตำแหน่งที่ตรวจพบความผิดปกติทันทีที่ได้รับข้อมูล ทีมงานวิศวกรผู้พัฒนาโดรนบินอัตโนมัติกล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบไมโครโฟนตรวจสอบเสียงที่ติดตั้งบนตัวโดรนมีความละเอียดสูงสามารถแยกแยะความละเอียดของเสียงเป็นมิลลิวินาที นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลางยังได้รับการติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ AI เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลว่าเป็นเสียงปืนหรืออาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นมนุษย์ โดยปกติทุกเมืองสำคัญมักมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ การมีโดรนบินอัตโนมัติเหนือท้องฟ้าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ โดรนบินอัตโนมัติหลายลำสามารถบินสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง การบินของโดรนเกิดเสียงรบกวนน้อยกว่าเฮลิคอปเตอร์และหลีกเลี่ยงการตรวจพบโดรนโดยกลุ่มคนร้ายที่เตรียมก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนในเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีปัญหาอาชญากรรมการก่อการร้ายหรือในบางพื้นที่ที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศ   ข้อมูลจาก newatlas.com ภาพจาก shotspotter.com   ที่มา : ttnonline / วันที่เผยแพร่ 22 ธ.ค.2564 Link : https://www.tnnthailand.com/news/tech/100073/

ตร. เรียกถกแผนดูแล “วีไอพี-สถานที่” รับ ประชุมเอเปค 2565

Loading

  สตช. เรียกประชุมเตรียมความพร้อมรักษาความปลอดภัยการประชุมเอเปค 2565 เน้นดูแลแขกวีโอพี -สถานที่ หวังเรียกความเชื่อมั่นจากประชาคมโลก   21 ธ.ค. 2564 ที่ห้องประชุม พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 8 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ. วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร.(กศ) ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ให้กำกับดูแลงานด้านกิจการพิเศษเกี่ยวกับกิจการด้านการต่างประเทศ เป็นประธานจัดการประชุมการเตรียมความพร้อมด้านการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565   พล.ต.อ.วิระชัย เปิดเผยว่า การเป็นเจ้าภาพในการประชุมเอเปคซึ่งเป็นการประชุมระดับประชาคมโลกซึ่งในปี 2565 ถือเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้สร้างความเชื่อมั่นจากประชาคมโลกนำไปสู่ความสำเร็จในหลายมิติของประเทศไทยหลังยุคการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   ในการประชุมวันนี้ ได้เชิญผู้แทนหน่วยสำคัญ ได้แก่ บช.น., ภ.1, บช.ก.,บช.ส., ทท., สตม. , บก.จร. ทล., รน. รวมถึงหน่วยสนับสนุนด้านการเงินอย่าง สงป.…

หัวเว่ย ปฏิเสธข่าว เทคโนโลยีหัวเว่ยสอดแนมระบบสื่อสารออสเตรเลีย

Loading

  สืบเนื่องจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยในการสอดแนมระบบการสื่อสารของประเทศออสเตรเลียตามข่าวนั้น หัวเว่ย ออกแถลงการณ์ปฏิเสธ!!! รายงานจากสำนักข่าว Bloomberg เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ถือเป็นการบิดเบือนประเด็นข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ ทั้งยังอ้างว่าเป็นเรื่องราวที่ถูกเก็บเป็นความลับมานานเกือบสิบปี ส่งผลให้เกิดการคาดเดาจนนำไปสู่ความเข้าใจผิด อีกทั้งยังไม่ได้แถลงข่าวพร้อมกับ “หลักฐาน” ที่เชื่อถือได้ หัวเว่ย ดำเนินธุรกิจในประเทศออสเตรเลียมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี และนี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ รับทราบถึงประเด็นที่เป็นข่าวนี้ โดยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของออสเตรเลียทั้งสองรายอย่าง Optus และ TPG ต่างก็ออกมาปฏิเสธต่อสาธารณะว่าไม่ทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นรายงานดังกล่าวยังระบุถึงภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนเชิงเทคนิคเป็นอย่างมาก แต่กลับอ้างอิงถึงความคิดเห็นของนักการเมืองและอดีตเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทำไมสำนักข่าว Bloomberg จึงไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะรวมบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความมั่นคงที่น่าเชื่อถือลงไปในบทความชิ้นนี้ด้วย ข้อเท็จจริงเป็นไปดังนี้ : ประการแรก อุปกรณ์ของหัวเว่ยไม่ได้มีโปรแกรมจำพวกมัลแวร์ โดย NCSC ซึ่งเป็นองค์กรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหราชอาณาจักรซึ่งมีความเข้มงวดที่สุดในโลก ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่พบความผิดปกติในอุปกรณ์ของหัวเว่ย และไม่ได้มีการแทรกแซงจากรัฐบาลจีน หัวเว่ยได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีแทรกแซงระบบความปลอดภัยในอุปกรณ์ของบริษัทฯ แพ็คเกจซอฟต์แวร์ของหัวเว่ยประกอบไปด้วยชุดกลไกการทำงานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการดัดแปลงจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์นั้นจะไม่สามารถถูกอัปโหลดหรือติดตั้งได้ ประการที่สอง โครงข่ายถือเป็นกรรมสิทธิ์และบริหารโดยผู้ประกอบการโทรคมนาคม หัวเว่ยเป็นเพียงหนึ่งในผู้จัดหาอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากมายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และบริษัทฯ ไม่สามารถเข้าถึงโครงข่ายของผู้ประกอบการโทรคมนาคมได้โดยปราศจากคำร้องขออย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ประกอบการโทรคมนาคมยังมีกระบวนการระบุตัวตนเพื่อความปลอดภัยที่เข้มงวดในการติดตั้งซอฟต์แวร์และระบบต่าง ๆ ซึ่งหัวเว่ยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านี้เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น…

กระทรวงกลาโหมเบลเยียมถูกแฮกด้วยช่องโหว่ Log4j

Loading

  กระทรวงกลาโหมเบลเยียมถูกคนร้ายแฮกด้วยช่องโหว่ Log4j ตั้งแต่วันพฤหัสที่ผ่านมาจนระบบหลายส่วนใช้งานไม่ได้ และผู้เกี่ยวข้องต้องแก้ไขปัญหาตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แถลงการณ์ไม่เปิดเผยว่าระบบใดถูกโจมตีบ้าง และถูกโจมตีโดยกลุ่มใด แต่ระบุเพียงว่าจำกัดความเสียหายได้แล้ว ช่องโหว่ Log4j ที่พบเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หรือ CVE-2021-44228 มีความร้ายแรงสูง โจมตีได้ง่าย และมีซอฟต์แวร์ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้แฮกเกอร์กลุ่มต่างๆ พัฒนามัลแวร์ทั้งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ , botnet สำหรับยิงทราฟิก , หรือแม้แต่ worm ที่แพร่กระจายตัวเองได้ไม่หยุดออกมาเรื่อยๆ ศูนย์ความมั่นคงไซเบอร์ของเบลเยียมเองก็ออกมาเตือนว่าหากยังไม่ป้องกันแล้ว ก็เตรียมเจอการแฮกได้ภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ที่มา – ZDNet , The Register   ที่มา : blognone               /  วันที่เผยแพร่ 21 ธ.ค.2564 Link : https://www.blognone.com/node/126401