สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

เมื่อเสรีภาพสื่อถูกตั้งคำถาม ศาลฟิลิปปินส์ตัดสินว่า นักข่าวมีความผิดฐานกลั่นแกล้งทางไซเบอร์

Loading

วันนี้หลายคนต้องหันมาสนใจเรื่องเสรีภาพสื่อในฟิลิปปินส์ หลังศาลฟิลิปปินส์ในกรุงมะนิลา (Manila Regional Trial Court) ได้ตัดสินว่า มาเรีย เรสซา (Maria Ressa) บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวฟิลิปปินส์ Rappler และ เรย์นัลโด ซันโตส เจอาร์ (Reynaldo Santos Jr) อดีตผู้สื่อข่าว มีความผิดฐานกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (cyber libel) และทั้งสองคนอาจต้องจำคุกนานถึง 6 ปี ผู้พิพากษายังสั่งให้ทั้งสองจ่ายเงินคนละ 8,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 247,000 บาท) แก่ผู้เสียหาย เพื่อเป็นค่าเสียหายทางศีลธรรม (moral damages) และค่าเสียหายเพื่อเป็นเยี่ยงอย่าง (exemplary damages) อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด รวมถึงประกันตัวได้ สำนักข่าว Rappler ก่อตั้งในปีค.ศ.2012 ขึ้นชื่อว่าเป็นสื่อที่วิจารณ์การทำงานของ โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชน พูดถึงการตัดสินคดีของศาลในครั้งนี้ว่า เป็นการปิดปากผู้ที่วิจารณ์ โรดรีโก ดูแตร์เต…

ประท้วงเรียกร้องสิทธิคนผิวสีลุกลามทั่วยุโรป!

Loading

Protest against police brutality and the death in Minneapolis police custody of George Floyd, in Nantes ตำรวจปราบจลาจลในหลายประเทศของยุโรปยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุมในหลายเมืองของยุโรปในสุดสัปดาห์ ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิให้กับคนผิวสีเช่นเดียวกับการประท้วงในอเมริกา ที่กรุงปารีส บรรดาผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ Place de la Republique พร้อมตะโกนคำว่า “ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความสงบ” และเกิดการปะทะกันกับตำรวจหลังจากการประท้วงอย่างสงบผ่านไปราวสามชั่วโมง การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่ถูกตำรวจใช้เข่ากดคอไว้จนเสียชีวิตเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากลุกขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมต่อประชาชนผิวสีในฝรั่งเศสเช่นกัน ส่วนที่เมืองมาร์กเซย์ล มีรายงานผู้ประท้วงจุดไฟเผาถังขยะและขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ และที่กรุงลอนดอน อังกฤษ เกิดการปะทะกันระหว่างผู้เดินขบวนสองกลุ่มคือกลุ่มเรียกร้องสิทธิคนผิวสีกับกลุ่มขวาจัด บริเวณสถานีรถไฟวอเตอร์ลู มีการจุดดอกไม้เพลิง และขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจในหลายพื้นที่ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ทวีตข้อความประณามการก่อความรุนแรงตามท้องถนน และระบุว่าใครก็ตามที่ทำร้ายตำรวจจะต้องเผชิญกับการปราบปรามตามกฎหมาย ตำรวจอังกฤษแถลงว่าได้จับกุมผู้ประท้วง 5 คนที่ก่อเหตุรุนแรงและทำร้ายตำรวจ และมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 6 ราย กลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัด ระบุว่าพวกตนพยายามปกป้องวัฒนธรรมของอังกฤษ โดยเฉพาะอนุสาวรีย์ต่าง ๆ…

UN เผยขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ มาจาก ‘อิหร่าน’

Loading

ภาพเปลวเพลิงที่กำลังโหมลุกไหม้โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารามโกที่เมืองอับกอยก์ (Abqaiq) จังหวัดตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย หลังถูกโดรนโจมตีเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 ก.ย. รอยเตอร์ – เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติยืนยันต่อคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ว่า ขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่และท่าอากาศยานนานาชาติของซาอุดีอาระเบียเมื่อปีที่แล้ว “มีต้นทางมาจากอิหร่าน” ขณะที่ทางการเตหะรานรีบออกมาปฏิเสธทันควัน อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ระบุว่า อาวุธและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหลายชิ้นที่สหรัฐฯ ยึดได้ในเดือน พ.ย. ปี 2019 และ ก.พ. ปี 2020 “มาจากอิหร่าน” โดยบางชิ้นมีลักษณะตรงกับสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาติอิหร่าน และมีอักษรภาษาฟาร์ซีกำกับ ขณะที่บางชิ้นถูกนำเข้าอิหร่านระหว่างเดือน ก.พ. ปี 2016 จนถึง เม.ย. ปี 2018 กูเตียร์เรส ชี้ว่า การจัดส่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจละเมิดมติคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นปี 2015 ที่รับรองข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มมหาอำนาจ P5+1 คณะทูตอิหร่านประจำยูเอ็นชี้ว่า รายงานฉบับนี้ “ผิดพลาดร้ายแรง และคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง” “รัฐบาลอิหร่านขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อรายงานที่ว่า อิหร่านมีความเกี่ยวข้องกับการส่งออกอาวุธและอุปกรณ์ที่ใช้ในการโจมตีซาอุดีอาระเบีย รวมถึงข้อมูลที่ว่าหลักฐานต่างๆ ที่สหรัฐฯ ยึดได้มีที่มาจากอิหร่าน” สหรัฐฯ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น 15…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…

มัลแวร์ใน Android ที่หลอกว่าเป็นแอปพลิเคชันติดตาม COVID-19 ส่วนใหญ่เป็นโทรจัน เน้นสอดแนมและขโมยข้อมูล

Loading

ทีมวิจัยจากบริษัท Anomali ได้วิเคราะห์มัลแวร์ใน Android จำนวน 12 รายการ ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลสำหรับใช้ติดตามการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ผลการวิเคราะห์พบข้อมูลน่าสนใจคือบางแอปพลิเคชันนั้นเป็นมัลแวร์สายพันธุ์ Anubis และ SpyNote ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงินและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน โดยช่องทางการแพร่กระจายมัลแวร์มีทั้งส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์ APK จากเว็บไซต์ภายนอก เผยแพร่บน Store อื่น และเผยแพร่บน Play Store ของทาง Google เอง มัลแวร์ Anubis พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศบราซิลและรัสเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เนื่องจาก Anubis นั้นเป็นมัลแวร์ที่มีขายในตลาดมืด ทำให้ผู้โจมตีอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก อาศัยการซื้อมัลแวร์สำเร็จรูปมาปรับแต่งแล้วแพร่กระจายต่อ มัลแวร์ SpyNote พบในแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างว่าเป็นของรัฐบาลประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและสอดแนมพฤติกรรมการใช้งาน เนื่องจากตัวมัลแวร์นี้ถูกพัฒนาต่อยอดจากซอร์สโค้ดของมัลแวร์ DroidJack และ OmniRat ที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้ จึงทำให้มีฟังก์ชันการทำงานที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในรายงานของทาง Anomali ไม่ได้รวมมัลแวร์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาทางไทยเซิร์ตได้ตรวจพบการแพร่กระจายมัลแวร์ใน Android ที่แอบอ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันของรัฐบาลไทย โดยส่วนใหญ่เป็นมัลแวร์ประเภทโทรจันและมัลแวร์ Cerberus ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน…