ประท้วงเดือดเมืองพอร์ตแลนด์ ม็อบบุกเผา สน. เทศมนตรีจี้ทหารออกจากเมือง

Loading

ความไม่สงบในเมืองพอร์ตแลนด์ของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงก่อเหตุบุกเผาสำนักงานตำรวจ และปะทะกับเจ้าหน้าที่ จนมีผู้บาดเจ็บ สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า สำนักงานตำรวจเมืองพอร์ตแลนด์ ในรัฐโอเรกอน ของสหรัฐฯ เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 18 ก.ค. 2563 ตามเวลาท้องถิ่น ว่า ผู้ประท้วงบุกเข้าไปภายในสำนักงานสมาคมตำรวจทางเหนือของเมืองพอร์ตแลนด์แล้วจุดไฟเผา ขณะที่ผู้ประท้วงบางคนขว้างปาก้อนหินและลูกโป่งบรรจุสีใส่เจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ในขณะเดียวกัน ผู้ประท้วงกลุ่มใหญ่ออกมารวมตัวกันใกล้สำนักงานศาลรัฐบาลกลางและศูนย์ยุติธรรม ในย่านใจกลางเมือง โดยบางคนถอนรั้วที่เจ้าหน้าที่นำมาวางกั้นรอบสำนักงานศาลออกไปด้วย ทั้งนี้ ชาวเมืองพอร์ตแลนด์ ออกมาชุมนุมต่อเนื่องอย่างน้อย 50 คืนแล้ว นับตั้งแต่การเสียชีวิตของ นายจอร์จ ฟลอยด์ โดยในเบื้องต้นพวกเขาออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ และการใช้ความรุนแรงของตำรวจ ซึ่งการประท้วงส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ แม้จะมีการปะทะกันประปราย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้การประท้วงส่วนใหญ่มีแรงผลักดันจากความไม่พอใจวิธีการรับมือการประท้วงของเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไม่พกตราประจำตัว ออกจับกุมผู้ประท้วง นอกจากนี้ ยังมีคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นด้วยว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานความมั่นคงมาตุภูมิ จับผู้ประท้วงแล้วพาตัวขึ้นรถที่ไม่มีตราตำรวจด้วย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทวีตข้อความปกป้องการกระทำของเจ้าหน้าที่ในวันอาทิตย์ “เราพยายามช่วยพอร์ตแลนด์ ไม่ได้ทำร้าย” นายทรัมป์ ระบุ “ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ผู้นำของพวกเขาควบคุมพวกนิยมอนาธิปไตยและพวกผู้ปลุกปั่นไม่ได้ พวกเขามีมาตรการไม่เพียงพอ เราต้องปกป้องทรัพย์สินของรัฐบาลกลาง และประชาชนของเรา…

เปิดโลกของแมลง (และการจารกรรม?) นักวิจัยประดิษฐ์กล้องถ่ายทอดสดที่เบาและเล็กมาก จนติดตั้งบนด้วงได้

Loading

ข่าวหลายวันแล้ว แต่เราคิดว่าน่าสนใจดี เลยขออนุญาตหยิบมาเล่าให้ทุกๆ คนได้อ่านกัน เคยแอบสงสัยไหมว่า บรรดาแมลงตัวเล็กๆ ‘มอง’ โลกที่เราอาศัยอยู่ยังไงนะ? ในไม่ช้า เราก็อาจจะได้คำตอบแบบไม่ต้องจินตนาการเอาเอง แต่เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มาจากตัวแมลงจริงๆ เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในสหรัฐอเมริกา ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม เพิ่งประดิษฐ์กล้องถ่ายทอดสดขนาดจิ๋ว ที่ทั้งเล็กและเบามากจนติดตั้งบนตัวด้วงขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว คุณสมบัติของกล้องที่ว่านั้นเป็นยังไงบ้าง – มีน้ำหนักแค่ 250 มิลลิกรัม หรือหนึ่งในสิบของไพ่ใบนึง – ถ่ายทอดสดได้ 5 เฟรมต่อวินาที เป็นภาพขาวดำ ด้วยความละเอียดต่ำ 160×120 พิกเซล – ถ้าชาร์จแบตเต็ม ใช้งานได้ยาวถึง 6 ชั่วโมง – ส่งภาพกลับมาด้วยสัญญาณบลูทูธ ในรัศมีไกลสูงสุดไม่เกิน 120 เมตร ถามว่าประโยชน์ของกล้องถ่ายทอดสดจิ๋วนี้คืออะไรบ้าง ผู้ประดิษฐ์เขาบอกว่า ถ้าเอาไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ก็น่าจะทำให้ช่วยเข้าใจชีวิตแมลงมากขึ้น แต่อีกเป้าหมายหนึ่งของพวกเขาก็คือ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีไว้สำหรับติดตั้งบนหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว แต่เราแอบคิดไปถึงการจารกรรมข้อมูล (คิดลบไปหน่อยไหมนะ?) ลองคิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Ant-Man ที่พระเอกสามารถส่งให้มดเข้าไปสอดแนมศัตรูมาล่วงหน้าได้ สมมุติว่าในอนาคต คนสามารถประดิษฐ์หุ่นที่มีขนาดเท่าแมลงได้ พร้อมกับตั้งกล้องจิ๋วนี้ (ในเวอร์ชั่นที่พัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว) แล้วส่งไปสอดแนมในสถานที่ต่างๆ คิดเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ไปหน่อย…

พบบริการ VPN ฟรีหลายยี่ห้อเปิดข้อมูลผู้ใช้ ประวัติการใช้งาน และรหัสผ่านออกสู่สาธารณะ

Loading

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ทีมนักวิจัยจาก vpnMentor ได้รายงานการพบเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้บริการ VPN ฟรีหลายยี่ห้อ โดยเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวเปิดให้เข้าถึงได้แบบสาธารณะ ตัวอย่างข้อมูลที่พบบนเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว เช่น ชื่อผู้ใช้ อีเมล ที่อยู่ ไอพี ประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ต และ ข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ลงทะเบียนเพื่อสมัครใช้งาน VPN นอกจากนี้ยังพบข้อมูลรหัสผ่านแบบ plain text ในเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวด้วย ทีมนักวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลเซิร์ฟเวอร์แล้วพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชัน VPN จำนวนหลายรายการ เช่น UFO VPN, FAST VPN, Free VPN, Super VPN, Flash VPN, Secure VPN และ Rabbit VPN ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน VPN ที่มีให้ดาวน์โหลดบน iOS และ Android โดยคาดว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มาจากผู้พัฒนาเดียวกันแต่เปลี่ยนชื่อแอปพลิเคชันเพื่อให้มีหลายยี่ห้อ เนื่องจากพบความเชื่อมโยงว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีการใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวกัน มีชื่อผู้รับการชำระเงินเหมือนกัน และบางแอปพลิเคชันมีหน้าตาเว็บไซต์ที่คล้ายคลึงกันด้วย…

เปิดแผน “กลุ่ม Cozy Bear” ของรัสเซีย ต้องสงสัยจารกรรม “ข้อมูลโควิด-19”

Loading

A hacker is reflected in a monitor as he takes part in a training session July 8, 2019. เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อังกฤษ และแคนาดา ร่วมกันกล่าวหาว่ารัฐบาลรัสเซียอยู่เบื้องหลังการเจาะล้วงข้อมูลครั้งใหญ่ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนและการรักษาโควิด-19 ที่ทำโดยบริษัทและสถาบันต่างๆของโลกะวันตก ในคำแถลงร่วมของ สหรัฐฯ อังกฤษ และแคนาดา ทั้งสามประเทศระบุว่าปฏิบัติการของรัสเซียเริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และดำเนินมาเเข็งขันต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กล่าวว่ากลุ่มแฮคเกอร์ของรัสเซีย มีชื่อว่า APT29 และเป็นที่รู้จักในชื่อ Cozy Bear ด้วย แอน นิวเบอร์เกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงทางไซเบอร์ของ National Security Agency ของสหรัฐฯ กล่าวว่า APT29 มีประวัติอันยาวนานในการมุ่งเป้าการโจมตีไปยังองค์กรรัฐ ภาคพลังงาน หน่วยงานสาธารณสุข และสถาบันศึกษาด้านนโยบาย เธอกล่าวว่าขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายพึงระวังถึงภัยคุกคามจากกลุ่มนี้ และเตรียมรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขโมยข้อมูล พอล ไชเชสเตอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการแห่งศูนย์ความมั่นคงด้านไซเบอร์แห่งชาติของอังกฤษ…

ช็อก!รวบเจ้าของรพ.วัย42 ออกใบรับรอง ‘ไม่ติดโควิดปลอม’ กว่า 6 พันใบ

Loading

ช็อก! รวบเจ้าของรพ.วัย 42 ออกใบรับรอง ‘ไม่ติดโควิดปลอม’ กว่า 6 พันใบ หลังหนีไปกบดานที่อินเดีย เผยออกใบรับรองปลอมแล้วกว่า 1 หมื่นใบ แต่ตรวจจริง 4.2 พันใบ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ทางการบังกลาเทศจับกุม นายโมฮัมเหม็ด ชาเฮด เจ้าของโรงพยาบาล ที่ถูกกล่าวหาว่าออกใบรับรองว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 ปลอม เป็นจำนวนกว่า 6,000 ใบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะพยายามหลบหนีไปยังประเทศอินเดีย นับเป็นการสิ้นสุดการไล่ล่าตัวระยะเวลายาวนาน 9 วันลง รายงานข่าวระบุว่า นายชาเฮด วัย 42 ปี เป็น 1 ในผู้ต้องหากว่า 10 ราย ที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองปลอมดังกล่าว ที่ทางการเข้าควบคุมตัวในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบังกลาเทศระบุว่า คลินิคของนายชาเฮด 2 แห่ง ออกใบรับรองการไม่ติดเชื้อโควิด-19 ปลอมไปแล้วถึง 10,500 ใบ ในจำนวนนี้ 4,200 ใบ มีการตรวจเชื้อจริง…

ทวิตเตอร์โดนแฮกครั้งใหญ่ บัญชีคนดังแห่โพสต์หลอกคนโอนเงินบิตคอยน์

Loading

ทวิตเตอร์โดนโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ มีบัญชีผู้ใช้ของผู้มีชื่อเสียงมากมายถูกแฮกให้ทวีตข้อความหลอกลวงคนให้บริจาคเงินบิตคอยน์ ซึ่งทางทวิตเตอร์กำลังดำเนินการแก้ไข สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 15 ก.ค. 2563 บัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ผ่านการยืนยันแล้วว่าเป็นตัวจริง (verified account) ของผู้มีชื่อเสียงมากมาย เช่น โจ ไบเดน, บิล เกตส์, อีลอน มัสก์ และบริษัท แอปเปิล ต่างตกเป็นเหยื่อการโจมตีทางไซเบอร์ และโพสต์ข้อความเชิญชวนให้ผู้ติดตามบริจาคเงินให้พวกเขาในรูปแบบบิตคอยน์ “ทุกคนขอให้ผมคืนเงินแก่สังคม ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว” ข้อความซึ่งถูกทวีตผ่านบัญชีผู้ใช้ของบิล เกตส์ ระบุ และขอให้ผู้ติดตามบริจาคเงินให้เขาผ่านที่อยู่บิตคอยน์ที่แนบมา แล้วเขาจะคืนเงินให้ 2 เท่าภายในเวลา 30 นาที บิล เกตส์, โจ ไบเดน, อีลอน มัสก์ และ เจฟฟ์ เบซอส บัญชีทวิตเตอร์ของอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา, คานเย เวสต์ แร็ปเปอร์ชื่อดัง กับคิม คาร์ดาเชียน เวสต์ ภรรยา, วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์…