‘ไฟร์อาย’ เผยแฮกเกอร์จีนลอบเจาะล้วงข้อความในโทรศัพท์ชาวต่างชาติหลายพันคน

Loading

Alister Shepherd, the director of a subsidiary of the cybersecurity firm FireEye, gestures during a presentation about the APT33 hacking group, which his firm suspects are Iranian government-aligned hackers, in Dubai, United Arab Emirates, Tuesday,… บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไฟร์อาย (FireEye) เปิดเผยว่า แฮกเกอร์จากจีนซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับรัฐบาลจีน ได้ลอบเจาะล้วงข้อมูลการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือของชาวต่างชาติหลายพันคน FireEye ระบุในรายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งสังกัดกลุ่ม Advanced Persistent Threat 41หรือ APT41 มีส่วนในการสอดแนมทางไซเบอร์หลายครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มุ่งเป้าไปที่เป้าหมายระดับสูงและเบอร์โทรศัพท์ที่ถูกเลือกมาโดยเฉพาะ โดยใช้วิธีติดตั้งซอฟท์แวร์แฮกข้อมูล หรือ…

ชิลีจำใจถอนตัวเจ้าภาพประชุม APEC หลังเกิดเหตุประท้วงรุนแรงในประเทศ

Loading

ชิลี – ชิลีประกาศในวันพุธ (30 ต.ค.) ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิตนานาชาติสำคัญ 2 รายการ ประกอบด้วยเอเปกและการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่พวกเขากำลังพยายามคืนความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง ท่ามกลางเหตุปะทะระหว่างพวกผู้ประท้วงกับกองกำลังด้านความมั่นคงที่คร่าชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 ศพ เซบาสเตียน พิเนรา ประธานาธิบดีชิลีระบุว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่ต้องตัดสินใจถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพประชุมซัมมิตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP25) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯบอกว่าเขามีแผนพบปะกับ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน เพื่อหาทางลงเอยข้อตกลงการค้า “เฟส1” ระหว่างร่วมประชุมเอเปกในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้ ในขณะที่มันจะช่วยยุติสงครามการค้าระหว่างสองชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกที่ยืดเยื้อมานานกว่า 18 เดือนลงบางส่วน อย่างไรก็ตามหลังการประท้วงบนท้องถนนที่ยืดเยื้อมา 10 วันและลุกลามบานปลายเข้าสู่ความรุนแรง พิเนรายอมรับว่าชิลีไม่อยู่ในฐานะที่จำเป็นเจ้าภาพได้ ทั้งการประชุมเอเปกและ COP25 ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 2-13 ธันวาคม “มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากอย่างยิ่ง มันเป็นการตัดสินใจที่เจ็บปวดอย่างสาหัส เพราะเรารู้ว่าการประชุมเอเปกและ COP มีความสำคัญกับชิลีและกับโลกใบนี้มากแค่ไหน” เขากล่าว อย่างไรก็ตามพิเนราบอกว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่เขาต้องตระหนักว่าเขามีเรื่องสำคัญอื่นๆให้ดำเนินการ “เมื่อพ่อของคุณมีปัญหา ประเด็นครอบครัวต้องมาก่อนทางเลือกอื่นๆเสมอ เช่นเดียวกับผู้เป็นประธานาธิบดี เขาต้องให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมชาติก่อนเสมอ ก่อนจะไปคำนึงถึงเรื่องอื่นๆ” เขากล่าว…

ชะตากรรม ‘กลุ่มไอซิส’ หลังการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุด

Loading

สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการฟื้นกำลังของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ISIS ขึ้นมาอีก หลังการเสียชีวิตของนายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่า กลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลระดับผู้นำเพียงไม่กี่คน นายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เริ่มบทบาทในฐานะผู้นำสาขาย่อยของกลุ่มอัล-ไคยด้า ในอิรัก เมื่อปี ค.ศ.2010 ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานะของกลุ่มก่อการร้ายนี้ให้กลายเป็นกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอซิส ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในหลายเมืองทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปลายปี 2015 ในช่วงที่กลุ่มไอซิสกำลังมีอำนาจมากที่สุด กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ พยายามที่จะสกัดกั้นการขยายพื้นที่การครอบครองของไอซิส โดยใช้การโจมตีทางอากาศสังหารนักรบระดับนำของกลุ่มไอซิสเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยสองวันต่อหนึ่งคน ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่ายุทธวิธีการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อกลุ่มรัฐอิสลาม แต่ปฏิบัติการของกลุ่มไอซิสก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากกลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีผู้นำคนใดคนหนึ่งเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอัล-ไคยด้า ในยุคของอุสซาม่า บิน ลาเดน สำหรับในครั้งนี้ เจมส์ แคลปเปอร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ กล่าวกับวีโอเอว่า แม้การเสียชีวิตของนายแบกห์ดาดี ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกลุ่มรัฐอิสลาม เนื่องจากเขาคือสัญลักษณ์สำคัญของไอซิส แต่ตนเชื่อว่านั่นยังไม่เพียงพอจะทำให้กลุ่มไอซิสล่มสลาย เพราะบรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ถูกฝึกมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำสูงสุดอยู่แล้ว ด้านคุณไมเคิล โฮโรวิทซ์ นักวิเคราะห์ด้านการก่อการร้ายขององค์กรที่ปรึกษา Le Beck ชี้ว่า ปกติแล้วการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุดของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง…

หน่วยงาน FTC สหรัฐฯ ออกข้อแนะนำในการป้องกันการโจมตีด้วยวิธีสลับซิม (SIM swapping)

Loading

คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Trade Commission หรือ FTC) ได้เผยแพร่ข้อแนะนำแนวทางการป้องกันตัวจากการถูกโจมตีด้วยวิธีสลับซิม (SIM swapping) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้ประสงค์ร้ายใช้สวมรอยขโมยซิมของเหยื่อเพื่อนำซิมดังกล่าวมารับรหัส SMS OTP สำหรับใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ถึงแม้การใช้ SMS เพื่อยืนยันตัวตนจะถูกระบุว่าไม่ปลอดภัยแล้วก็ตาม แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการออนไลน์ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้กระบวนการนี้ในการอนุมัติการทำธุรกรรมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการล็อกอิน การโอนเงิน หรือการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีรายงานเหตุการณ์การโจมตีด้วยวิธีสลับซิมกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ในการโจมตี ผู้ไม่หวังดีอาจใช้วิธีหลอกพนักงานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือว่าทำซิมหายเพื่อขอออกซิมใหม่เบอร์เดิม หรืออาจร่วมมือกับพนักงานเพื่อทุจริตออกซิมใหม่โดยที่เจ้าของซิมตัวจริงไม่ได้ยินยอม ซึ่งหากทำได้สำเร็จผู้ไม่หวังดีก็จะสามารถใช้ซิมดังกล่าวในการรับรหัส SMS OTP เพื่อใช้ทำธุรกรรมอื่น ๆ ต่อได้ ทาง FTC ได้มีข้อแนะนำในการป้องกันตัว ดังนี้ – อย่าหลงเชื่อโทรศัพท์ อีเมล หรือ SMS ที่สอบถามข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากผู้ไม่หวังดีอาจใช้วิธีนี้เพื่อหลอกสอบถามข้อมูลสำหรับใช้ในการรีเซ็ตรหัสผ่านบัญชีหรือใช้เพื่อแอบอ้างออกซิมใหม่ได้ – ตระหนักและระวังการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวแบบสาธารณะ โดยเฉพาะข้อมูลที่อาจใช้เพื่อแอบอ้างสวมรอยได้ เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ วันเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์ – หากผู้ให้บริการออนไลน์นั้นรองรับกระบวนการยืนยันตัวตนด้วยวิธีอื่นที่ปลอดภัยกว่า SMS…

เฟสบุ๊กเปิดตัว “เซคชั่นข่าว” ช่วยสำนักข่าวมีรายได้เพิ่ม-สู้ข่าวปลอม

Loading

FILE – The social media application, Facebook is displayed on Apple’s App Store, July 30, 2019. Facebook is launching a long-promised tool that lets users block the social network from gathering information about them on outside websites and apps. เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เฟสบุ๊กเปิดตัวเซคชั่นใหม่เรียกว่า “News Tab” หรือ “หน้าข่าว” ผ่านแอพพ์เฟสบุ๊กในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะแสดงหัวข้อข่าวของสำนักข่าวใหญ่ต่าง ๆ เช่น The Wall Street Journal, The Washington…

เพนตากอนมอบสัญญารับเหมาระบบคลาวน์หมื่นล้านให้ ‘ไมโครซอฟท์’

Loading

Microsoft’s corporate headquarters in Redmond, Washington. (Photo: Diaa Bekheet) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน มอบสัญญารับเหมาติดตั้งระบบคลาวน์คอมพิวเตอร์ มูลค่าหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์ ให้แก่บริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งถือว่าพลิกความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้คาดกันว่าบริษัทแอมะซอน (Amazon) จะได้สัญญาฉบับนี้ สัญญาโครงการ Joint Enterprise Defense Infrastructure, or JEDI ถือเป็นสัญญาที่มีมูลค่ามหาศาล และทำให้เกิดการแข่งขันของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ หลายบริษัท ได้แก่ ไมโครซอฟท์ แอมะซอน ออราเคิล และไอบีเอ็ม มีข่าวว่าแอมะซอนจะเป็นผู้ชนะโครงการนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งบริษัทออราเคิลได้ยื่นคำร้องต่อศาล แต่ถูกปัดตกไป แต่เมื่อเดือนกรกฎาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ออกมากล่าวว่า รัฐบาลจะพิจารณากระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาโครงการนี้อีกครั้งหลังจากมีการร้องเรียน ซึ่งที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ มักวิจารณ์บริษัทแอมะซอน และ เจฟฟ์ เบโซส ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ อยู่เสมอ ระบบ JEDI จะจัดเก็บข้อมูลลับปริมาณมหาศาลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เอาไว้ในเครือข่ายคลาวน์คอมพิวเตอร์…