ธนชาตเตือนนักพนันออนไลน์ต่างประเทศ ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัว

Loading

ธนาคารธนชาตเตือนภัยผู้ที่เข้าเว็บไซต์เล่นพนันออนไลน์จากต่างประเทศ ระวังถูกมิจฉาชีพล้วง “ข้อมูลส่วนตัว” ไปใช้หาประโยชน์ ธนาคารธนชาต ออกประกาศเตือนภัยประชาชน หลังมีรายงานจากศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT ) ว่า เกิดเหตุการณ์ข้อมูลประชาชนซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารหลายแห่งรั่วไหลจากเว็บพนันออนไลน์ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อได้ให้ข้อมูลส่วนตัวแก่เว็บไซต์พนัน ได้แก่ ข้อมูลเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้ในการโอนเงิน ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงรหัสหลังบัตรประชาชน เป็นต้น โดยประมาณการจำนวนข้อมูลที่รั่วไหลออกไปราว 40 ล้านรายการซึ่งการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว “ไม่ได้เกิดจากระบบธนาคาร” แต่เป็นเพราะระบบฐานข้อมูลของเว็บพนัน ไม่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลใดๆ ทำให้บรรดามิจฉาชีพเจาะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้ ธนาคารธนชาตมีความเป็นห่วงและอยากให้ลูกค้าทุกท่านระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีแนวทางเสนอแนะ ดังนี้ – ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนจะให้ข้อมูลส่วนตัวทุกครั้ง (ดูวิธีการสังเกตเบื้องต้นได้ที่ลิงค์นี้ https://facebook.com/thanachartbank/posts/2044524652236929 – ระวังการคลิกลิงก์จากอีเมลหลอกลวง (Phishing Mail) (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.thanachartbank.co.th/TbankCMSFrontend/newsletter/tbankdsi_14.html) – ไม่ควรใช้ Password ของ Mobile Banking, Internet Banking เหมือนกับเว็บไซต์อื่น ๆ – ระมัดระวังมิจฉาชีพที่หลอกลวงทางโทรศัพท์ ——————————————…

‘แบงก์-ตำรวจ-ธปท.’ ประเดิมเทรนด์เอไอตรวจจับใบหน้า

Loading

เนคเทคเปิดเวทีวิชาการตั้งโจทย์สงสัยหัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ดึงนักการธนาคาร ธปท. นักกฎหมายและนักเทคโนโลยี ขึ้นเวทีแชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน เนคเทคเปิดเวทีวิชาการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเอไอ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการยืนยันตัวตน เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจและสร้างมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย ธปท.เปิดแซนด์บอกซ์การใช้ไบโอเมตทริกซ์ตรวจสิทธิหรือแสดงตน ด้านนักกฎหมายแนะเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล สร้างการยอมรับจากผู้ใช้งาน ระบบรับรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เป็นเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์สำหรับตรวจสอบและระบุตัวตนของบุคคล โดยเปรียบเทียบลักษณะใบหน้าจากฐานข้อมูลภาพใบหน้า ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกแวดวง เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตน ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากขึ้น สายการเงินใช้ยืนยันตัวตน การใช้งานของ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” ในมุมมองของภาคธนาคารอย่าง ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architech บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ในเครือของธนาคารกสิกรไทย ที่ถูกสะท้อนออกมาในการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2562 เนคเทค กล่าวว่า เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้บริการลูกค้าในวงการธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มวิจัยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเดโม่ในบริษัทผ่าน Face Pay ในการจ่ายเงินโดยใช้ใบหน้าของผู้มาใช้บริการแทนกระเป๋าสตางค์ ระบบจะรู้ได้ทันทีว่าบุคคลนั้นมีชื่อว่าอะไร และลิงค์กับบัญชีโดยอัตโนมัติ ถือเป็นกระบวนการที่ง่ายต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่โดยใช้เทคนิค ‘ดีพ เลินนิ่ง’ (Deep Learning)…

แฉ แฮกเกอร์จีนเจาะโครงข่ายโทรคมนาคมตามรอย “อุยกูร์” ในเอเชีย รวมทั้ง “ไทย”

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งทำงานให้กับรัฐบาลจีน ได้เจาะเข้าไปในโครงข่ายโทรคมนาคมในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อติดตามชาวอุยกูร์ โดยเป็นการอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงอีก 2 คน ซึ่งทำหน้าที่ในการสอบสวนเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การแฮก หรือการเจาะระบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลระดับสูง เช่น เจ้าหน้าที่ทูตและเจ้าหน้าที่ทหารต่างประเทศ แต่จีนจะพุ่งเป้าลำดับต้นๆไปกับการตามรอยการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในจีน ที่รัฐบาลปักกิ่งเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อจีน ทั้งนี้ จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง และมีชาวอุยกูร์จำนวนมากที่สุดคุมขังอยู่ในสถานที่ที่จีนเรียกว่าเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ รอยเตอร์ระบุว่า ปฏิบัติการเจาะข้อมูลดังกล่าว เกิดขึ้นโดยแฮกเกอร์ชาวจีนหลายกลุ่ม ที่เจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี คาซักสถาน อินเดีย มาเลเซีย และไทย โดยประเทศเหล่านี้มักจะถูกใช้เป็นจุดแวะของชาวอุยกูร์ในการเดินทางระหว่างซินเจียงกับตุรกี ซึ่งนักเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นความพยายามที่จะหลบหนีการถูกดำเนินคดี ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งระบุว่า กลุ่มชาวอุยกูร์ที่เดินทางพวกนี้ เป็นพวกที่จะเดินทางไปร่วมต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในอิรักและซีเรีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีบนโลกไซเบอร์หรือการกระทำทารุณต่อชาวอุยกูร์ ขณะที่รอยเตอร์เองไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ถูกโจมตีคือใคร ขณะที่ทางการในอินเดียและไทยต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าว ——————————————————- ที่มา : มติชน / 17 กันยายน 2562 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1674331

สุดยอด!…ระบบป้องกันภัยซาอุฯ ถูกทำลายด้วยโดรนราคาถูก

Loading

การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ในซาอุดิอาระเบีย แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศถูกทำลายอย่างง่ายดายโดยเทคโนโลยีราคาถูก และไม่สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธหรือเครื่องบินขับไล่อย่าง F-15 ซาอุดิอาระเบีย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อปีที่แล้วเพิ่งซื้ออาวุธไป 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่รวมถึงเรดาร์ เครื่องบินขับไล่หลายรุ่น เช่น F-15 และขีปนาวุธที่สามารถสกัดขีปนาวุธที่ถูกยิงมาจากดินแดนของศัตรูได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อวันเสาร์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารัมโก 2 แห่ง กลับถูกโจมตีด้วยฝูงโดรนของกลุ่มกบฎฮูตี ที่เป็นกองกำลังกลุ่มเล็กๆ ทำให้ต้องระงับการผลิตน้ำมัน 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กลุ่มฮูตีเจาะช่องโหว่ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยังใช้เทคโนโลยีราคาถูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโดรนเพียง 10 ลำ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะฮูตีเคยใช้โดรนแทรกซึมน่านฟ้าซาอุฯและถ่ายรูปโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และโจมตีท่อส่งน้ำมันไปยังทะเลแดงด้วย ส่วนโดรนที่ใช้น่าจะเป็น “แซมแม้ด ทรี” ที่สามารถบรรทุกระเบิดและเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ไกลถึง 1,500 ก.ม. ———————————————————————- ที่มา : Nation TV / 17 กันยายน 2562 Link…

สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ประณามการจับกุมผู้วิจารณ์พระองค์บนโลกออนไลน์

Loading

สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ทรงกลับมาใช้งานทวิตเตอร์อีกครั้งวานนี้ เพื่อแสดงความผิดหวังต่อการจับกุมผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พระองค์บนโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากการทรงฉายพระรูปพิธีฉลองวันชาติมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ก.ย.) ตำรวจมาเลเซีย จับกุมนักกิจกรรมในเมืองกลัง (Klang) รัฐสลังงอร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ อมีนาห์ ไมมูนาห์ อิสกันดาริยาห์ รายา ประไหมสุหรี อากงแห่งมาเลเซีย ทรงตรัสว่าพระองค์และสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุลละฮ์ เรียยาตุดดิน อัล-มุซตาฟา บิลละฮ์ ซะฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม สุลต่าน ฮาจี อะฮ์มัด ซะฮ์ อัล-มุซตาอิน บิลละฮ์ (สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 16) ไม่ได้ทรงร้องขอให้ตำรวจดำเนินการจับกุม และพระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยต่อเหตุการณ์นี้ ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในมาเลเซียส่วนหนึ่งโพสต์วิจารณ์ สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ ว่าทรงวางตัวไม่เหมาะสม ในงานฉลองวันชาติมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 ส.ค. จากการที่พระองค์ทรงฉายพระรูปพิธีเดินขบวนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชินีทรงตรัสชี้แจงในเวลาต่อมาว่า สมเด็จพระราชาธิบดีทรงแนะให้พระองค์ฉายรูป สมเด็จพระราชินีทรงปิดการใช้งานบัญชีทวิตเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และทรงโพสต์ข้อความบนอินสตาแกรมว่า ทรงปิดทวิตเตอร์ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์…