เตือนสาวผู้ใช้แอปติดตามรอบเดือน เสี่ยงข้อมูลถูกแชร์ให้ Facebook

Loading

Privacy International กลุ่มผู้สนับสนุนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหราชอาณาจักร ออกมาแจ้งเตือนหญิงสาวผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับติดตามรอบเดือนหลายล้านราย เสี่ยงข้อมูลสุขภาพไม่ว่าจะเป็น รอบเดือน ชีวิตบนเตียง การใช้ยาคุม อาการป่วย และอื่นๆ ถูกเปิดเผยให้ Facebook โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าคุณจะไม่ได้เล่น Facebook ก็ตาม แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือน เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันยอดนิยมที่เหล่าหญิงสาวดาวน์โหลดมาใช้งานเพื่อติดตามรอบเดือนของตนเอง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการมีบุตร เนื่องจากแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถติดตามช่วงที่ไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และเพื่อให้การคำนวณมีความแม่นยำ ผู้ใช้จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึก เช่น วันที่มีเพศสัมพันธ์ วันที่มีประจำเดือน อาการป่วย สุขภาพจิต และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลลับที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ Privacy International พบว่า แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือนหลายรายที่มียอดดาวน์โหลดนับล้าน ได้แชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ไปยัง Facebook และบริการภายนอกอื่นๆ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ล็อกอินผ่านทางบัญชี Facebook หรือมีบัญชี Facebook ก็ตาม โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแชร์ผ่านทาง SDK ของ Facebook ที่ติดมากับแอป เพื่อให้ Facebook นำข้อมูลไปใช้ทำแคมเปญโฆษณาต่อ ในขณะที่เจ้าของแอปก็จะได้ค่าตอบแทนกลับคืนมาเช่นกัน แอปพลิเคชันที่ส่งข้อมูลให้ Facebook ได้แก่…

เริ่มวันนี้! ญี่ปุ่นเพิ่มตรวจเข้ม ผู้โดยสารเที่ยวบินในประเทศ รับจัดกีฬารายการใหญ่

Loading

กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น เริ่มต้นมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมากขึ้น ตามสนามบินต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันนี้ (13 ก.ย.) ก่อนหน้าที่จะถึงการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ “รักบี้่ เวิลด์ คัพ” ในวันที่ 20 กันยายนนี้ และการแข่งขัน “โตเกียว โอลิมปิก” แลพาราลิมปิก กลางปีหน้า จากเดิมนั้น การตรวจสอบก่อนที่จะขึ้นเครื่องสำหรับผู้โดยสารในเที่ยวบินภายในประเทศ จะทำเฉพาะการตรวจสอบกระเป่าเท่านั้น แต่มาตรการใหม่ที่เริ่มขึ้นในวันนี้ ผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศจะต้องถอดเสื้อคลุม หรือเสื้อแจ็คเกตออกมา เพื่อตรวจสอบ เหมือนกับมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารในเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทั้งในกรณีที่ใส่รองเท้าหุ้มข้อ ก็ต้องถอดออกเพื่อนำมาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนี้ ยังจะดำเนินการสุ่มตรวจร่างกายผู้โดยสารบางคน ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ ที่จะใช้กระดาษแบบพิเศษ สำหรับการตรวจสอบหาร่องรอยวัตถุระเบิดบนตัวผู้โดยสาร ระหว่างวันที่ 13 กันยายน – 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกนั้น ยังมีคำสั่งห้ามโดรนในห้องโดยสารของทุกเที่ยวบินด้วย กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นยังขอให้ผู้โดยสารเดินทางไปถึงสนามบินเร็วกว่าเดิม เพราะมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยนี้ อาจต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนานขึ้น ——————————————– ที่มา : THE BANGKOK INSIGHT / 13 กันยายน 2562…

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยพบวิธีหลอก Face ID ด้วยแว่น และเทปกาว

Loading

Black Hat 2019 เป็นงานประชุมวิชาการของเหล่าแฮกเกอร์ ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน และยังมีสาธิตแสดงช่องโหว่ที่ถูกค้นพบในระบบต่างๆ ให้ได้ชมกันอีกด้วย Zhuo Ma ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจาก Tencent Security ก็ได้ใช้งานนี้ในการสาธิตวิธีหลอก Face ID ระบบรักษาความปลอดภัยของ Apple โดยอาศัยแค่เพียงแว่นตา และเทปกาว ดย Zhuo Ma ได้ใช้ประโยชน์จาก “Liveness” คุณสมบัติในการตรวจสอบของ Face ID ที่จะวิเคราะห์สัญญาณรบกวนของฉากหลัง, จุดโฟกัส และข้อมูลในด้านอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ว่าสิ่งที่กำลังถูกสแกนด้วย Face ID นั้น ไม่ใช่โมเดล 3 มิติ หรือแค่รูปถ่าย ซึ่งการทำงานของมันจะมีช่องโหว่เกิดขึ้นจากการที่ Face ID จะไม่ตรวจสอบข้อมูล 3 มิติ ในพื้นที่บริเวณรอบดวงตา หากมันพบว่าผู้ที่สแกนกำลังสวมใส่แว่นตาเอาไว้อยู่ ด้วยการอาศัยประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าว Zhuo Ma ได้สร้างแว่นต้นแบบที่เขาตั้งชื่อให้มันว่า X-glasses ขึ้นมา ซึ่งมันเป็นแว่นที่มีเทปสีดำแปะอยู่บนเลนส์ และมีเทปสีขาวแปะอยู่ตรงกลาง เขาได้อธิบายว่า Liveness detection…

บังกลาเทศสั่งให้หยุดขาย “ซิมการ์ด” ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญา อ้างความปลอดภัย

Loading

เอเอฟพี – บริษัทค่ายมือถือบังกลาเทศได้รับคำสั่งจากธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่กล่าวในวันจันทร์ (9 ก.ย) อีกหนึ่งสัญญาณแสดงให้เห็นถึงธากาเริ่มไม่มีความอดทนหลังล้มเหลวส่งชาวโรฮิงญาเหล่านี้กลับพม่า เอเอฟพีรายงานวันนี้ (9 ก.ย) ว่า บังกลาเทศต้องแบกรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาร่วม 1 ล้านคนนับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าได้เข้าปราบปรามอย่างหนักในรัฐยะไข่เมื่อสิงหาคม ปี 2017 จนทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากหนีออกนอกประเทศและเข้าสู่บังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกัน ในความพยายามการส่งตัวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศเมื่อปลายเดือนสิงหาคมล่าสุดล้มเหลวไม่เป็นท่า จากการที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ปฎิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าพม่าหากไม่ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและความเป็นพลเมืองอย่างถูกต้องในพม่า และยิ่งเพิ่มความปวดหัวให้กับธากามากขึ้นเมื่อมีการประท้วงโดยชาวโรฮิงญาจำนวนราว 200,000 คนแสดงถึงการครบรอบ 2 ปี ตั้งแต่ที่พวกเขาเดินทางมาถึง ผู้กำกับด้านการสื่อสารบังกลาเทศออกคำสั่งในวันที่ 3 ก.ย ให้บรรดาบริษัทผู้ให้บริการมือถือตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่มีหลายสิบแห่ง โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลัก และบริษัทผู้ให้บริการทั้ง 4 บริษัทได้รับคำสั่งว่าภายใน 7 วันให้ส่งรายงานการปฎิบัติที่ทางบริษัทเหล่านี้ได้ตัดสัญญาการเชื่อมต่อข้อมูล และได้รับคำสั่งจากทางการธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดสำหรับโทรศัพท์มือถือภายในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย ด้านเอส.เอ็ม. ฟาร์ฮัด (S.M. Farhad) เลขาธิการใหญ่ของสมาพันธ์ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์มือถือบังกลาเทศ AMTOB (Association of Mobile Telecom Operators of Bangladesh) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ให้บริการทุกค่ายให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีวันจันทร์ (9) ฟาร์ฮัดกล่าวต่อว่า นอกจากนี้อินเตอร์เนตความเร็วสูงระบบ 3G และ…

“สุพิศาล” ยกกรณีสื่อออสซี่แฉ “ธรรมนัส” ใช้ Data Government เป็นประโยชน์ ลั่นไทยต้องไปให้ถึง

Loading

เมื่อวานนี้ (10 กันยายน 2562) ที่พรรคอนาคตใหม่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคคตใหม่ กล่าวถึง กรณีที่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ ของออสเตรเลีย นำเสนอข่าวการถูกดำเนินคดียาเสพติดของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตอนที่ตนเองอภิปรายรายงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. นั้น ก็มีประเด็นในเรื่องนี้ที่เตรียมไว้ แต่เนื่องจากเวลาจำกัดจึงอภิปรายไปไม่ถึง นั่นคือเรื่องความร่วมมือกันปราบปรามยาเสพติด ของ ป.ป.ส.กับต่างประเทศ โดยประเด็นสำคัญคือหน่วยงาน ป.ป.ส. ต้องเก็บข้อมูลผู้ค้ายาเสพติดในรายงานให้มากสุด จากนั้นก็ต้องมีการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ จะได้รู้ข้อมูล รวมถึงศึกษาในรายละเอียด โดยเฉพาะช่วงนั้นที่มีการพูดถึงเรื่งคุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่จะมาร่วมรัฐบาลกับท่าน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริงหรือไม่ “ในกรณีของหนังสือพิมพ์ต่างประเทศที่เปิดเผยข่าวนี้ในลักษณะข่าวการสืบสวน ก็มาจากการที่มีข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ในชั้นศาล ของต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สำหรับต่างประเทศแล้ว เขาเรียก ดาต้า กอฟเวอร์เม้น (Data Government ) ที่สามารถนำมาเปิดเผยได้ ซึ่งประเทศไทยเรายังไปไม่ถึงขนาดนั้น โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาล นี่แสดงให้เห็นว่าสื่อ ออสเตรเลียมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องในชั้นศาลอย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลอ้างอิงจากในชั้นศาล นั้นน่าเชื่อถือ…