ระวัง!! ‘ฟิชชิ่ง’ แทรกซึมในที่ทำงาน ‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดกลโกงล่าสุด

Loading

  ‘ฟิชชิ่ง’ เป็นคำคุ้นเคยที่ได้ยินในข่าว เป็นเทคนิคแทรกซึมของอาชญากรไซเบอร์ เพราะง่ายและได้ผลดี โดยพื้นฐานแล้ว ฟิชชิ่ง เป็นการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้วิธีหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ รวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลลับอื่น ๆ   จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ (Phishing) ระบาดหนัก อาชญากรใช้เทคนิคแทรกซึม ด้วยเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้หลอกเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต รายละเอียดบัญชีธนาคาร และข้อมูลลับอื่นๆ   ‘เอเดรียน เฮีย’ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อาชญากรไซเบอร์ ติดตามแนวโน้มอยู่ตลอดเวลา จึงรู้หัวข้อล่าสุดที่จะเลือกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทคนิควิศวกรรมสังคมที่เล่นงานจิตใจของมนุษย์ ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ยากจะอดใจที่จะคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก ซึ่งอาจกลายเป็นอันตรายในที่สุด   ตัวอย่าง หัวข้อฟิชชิงที่สำคัญได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ในปี 2565 นั้นเกี่ยวข้องกับ เงินชดเชย โบนัส และการคืนเงินต่างๆ โบนัสและค่าตอบแทนเป็นสิ่งยากจะปฏิเสธได้ในช่วงเวลาวิกฤติและสภาวะความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมิจฉาชีพจึงรับปากเป็นมั่นเหมาะว่า “จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน” ก็เพื่อหลอกลวงเงินจากผู้ใช้นั่นเอง   “แคมเปญส่งเสริมการขายโดยธนาคารรายใหญ่”…

รู้เท่าทัน AI Deepfake ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

Loading

  ในวันที่อัลกอริทึม Generative AI ถูกพัฒนาสู่การเป็น AI Deepfake ที่ฉลาดล้ำและถูกนำมา สร้างเนื้อหา “ภาพ+เสียง” ที่เสมือนเรื่องจริงจนแยกไม่ออก ว่านี่คือชุดข้อมูล ที่ “มนุษย์ หรือ เทคโนโลยี AI” เป็นผู้คนสร้างสรรค์   ประเด็นดังกล่าว กลายเป็นประเด็นร้อนที่เราต่างเป็นห่วงและให้ความสำคัญ เพราะเราแทบไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ภาพ VDO หรือแม้แต่เสียง ที่เราแชร์ ส่งต่อกันบนโลกออนไลน์ ภายในเสี้ยววินาทีนี้ คือ ความจริง หรือ ภาพลวง แล้วเราจะรับมือและรู้ทัน AI Deepfake ได้อย่างไร?   ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC) เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ทำความรู้จักกับ AI Deepfake พร้อมวิธีการรับมือเบื้องต้นเพื่อให้เรารู้ทันเทคโนโลยี AI ที่วันนี้สามารถสร้างชุดข้อมูล ภาพ เสียง ได้ราวกับมนุษย์แล้ว ใน AI…

10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ เพราะจะนำมาซึ่งอันตราย

Loading

iT24Hrs   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ ทั้งนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเหมือนกระเป๋าสตางค์ เก็บทั้งสำเนาดิจิทัลของบัตรเดบิตและบัตรเครดิต บัตรสมาชิก บัตรประชาชน ตั๋วเดินทาง ตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วคอนเสิร์ต รวมถึงสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ง่ายกว่าการพกบัตรพลาสติกและกระดาษหลาย ๆ ใบไว้ในกระเป๋า   แม้จะสะดวกสำหรับคุณ แต่การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในสมาร์ทโฟนก็มีความเสี่ยง เพราะมิจฉาชีพยุคนี้ สามารถแฮ็ก โจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ ตั้งแต่การแฮ็ก NFC ไปจนถึงลิงก์ฟิชชิง คุณจะปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลสำคัญ หากคุณไม่ลบรายการเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ของคุณ   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟน   1. รหัสผ่านหลัก จดรหัสผ่านเซฟไว้ในมือถือ ทั้งนี้เพื่อให้ความปลอดภัยขั้นสุด ควรจัดเก็บและเข้ารหัสไว้ผ่านแอปจัดการรหัส คุณจะต้องจำรหัสผ่านหลักเพียงรหัสเดียวเท่านั้น   2. ที่อยู่บ้านของคุณ กำจัดไฟล์ที่แสดงที่อยู่บ้านของคุณ มิจฉาชีพอาจใช้สมุดที่อยู่ ใบแจ้งหนี้ และบิลต่าง ๆ เพื่อติดตามคุณ เป็นอันตรายต่อครอบครัวของคุณ พวกเขาอาจส่งคำขู่เป็นลายลักษณ์อักษร สะกดรอยตามคุณ หรือแม้กระทั่งบุกเข้าไปในที่อยู่อาศัยของคุณได้ ปิด Location ของคุณ…

มองไฟป่าฮาวาย แล้วย้อนมาดูตัว ไทยพร้อมไหมรับมือภัยโลกร้อน

Loading

    แม้ว่าฮาวายจะมีระบบเตือนภัยธรรมชาติก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่จากโศกนาฎกรรมไฟป่าเผาวอดเมือง Lahaina ชี้ว่า แม้แต่ระบบเตือนภัยที่ล้ำหน้ายังตามภัยพิบัติโลกร้อนไม่ทัน   ไฟป่าฮาวาย จากเหตุไฟป่าเผาเมือง Lahaina บนเกาะ Maui ในมลรัฐฮาวาย ที่ต้องประสบกับไฟป่าโหมรุนแรงจนเป็นผลให้ทั้งเมืองถูกไฟเผาวอด คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 111 ชีวิต หนึ่งในข้อกังขาที่หลายคนต่างตั้งคำถามภายหลังเกิดเหตุ นั่นก็คือ ทำไมจึงไม่มีการเตือนภัยแก่ประชาชนในเมือง Lahaina อย่างทันท่วงที จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา   ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารหน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินเมาวี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาไม่เสียใจเลยที่ไม่ใช้ไซเรน เนื่องจากไซเรนส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเตือนเมื่อคลื่นสึนามิเข้าใกล้เกาะ และหากพวกเขาเปิดสัญญาณไซเรน ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากคงจะไปที่เชิงเขา ซึ่งเป็นจุดที่เกิดไฟไหม้รุนแรงที่สุด   ไฟป่าเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เผาเมือง Lahaina เมืองหลวงเก่าของฮาวายจนวอดเกือบทั้งเมือง ที่มาภาพ: รอยเตอร์   อันดายา กล่าวเสริมว่า ระเบียบปฏิบัติสำหรับเหตุเพลิงไหม้คือการส่งประกาศผ่านข้อความ ข้อความเสียง และโทรศัพท์บ้าน และการแจ้งเตือนไปผ่านโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตามไฟได้ทำลายเครือข่ายการสื่อสารอย่างรวดเร็ว จนระบบการแจ้งเตือนนี้ไม่สามารถทำงานได้   ไชยณรงค์…

พ่อแม่ระวังให้ดี! มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนจับเรียกค่าไถ่

Loading

  กลใหม่ มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ พ่อแม่ – ผู้ปกครอง ต้องระวังให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อเสียเงินไม่รู้ตัว จากกรณีที่ มิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กำลังระบาดอย่างหนัก มีหลอกลวงให้หลงเชื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น อ้างชื่อหน่วยงานภาครัฐ หรือการส่ง SMS หลอกลวง ล่าสุดมิจฉาชีพมีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) เลียนเสียงนักศึกษาหรือผู้เสียหาย หลอกให้ผู้ปกครองหลงเชื่อว่านักศึกษาถูกเรียกค่าไถ่ พร้อมขู่โอนเงินเรียกค่าไถ่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนภัยขอให้ผู้ปกครองอย่าหลงเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้รูปแบบพฤติการณ์เรียกค่าไถ่เสมือน โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์หาพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พร้อมส่งรูปบุตรหลานไปยังพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และมิจฉาชีพจะหลอกว่าลูกหลานถูกเรียกค่าไถ่ โดยกลุ่มเป้าหมายของกลมิจฉาชีพ AI เลียนเสียง มี 2 กลุ่ม 1. นักศึกษาที่ตั้งใจเรียนดี อยู่เพียงลำพัง ในระดับชั้นอุดมศึกษา 2. ผู้ปกครอง   วิธีการของคนร้าย ใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ ทำยังไง ?…

สังคมโลก : มุดจีมา

Loading

  มือมีดที่บุกแทงคนในรถไฟใต้ดินที่แน่นขนัด หรือคนร้ายที่ไล่แทงผู้อื่นอย่างดุเดือดกลางถนน ฝันร้ายเหล่านี้ปรากฏขึ้นในจิตใจของชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก หลังเกิดเหตุแทงประชาชนหลายคนอย่างน้อย 2 เหตุการณ์ ภายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา   ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ชายคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงประชาชนที่สัญจรไปมาในเมืองหลวง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน โดยในภายหลัง ผู้ก่อเหตุบอกกับตำรวจว่า เขาใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ และอยากทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เหมือนกัน   หลังจากนั้นในวันที่ 3 ส.ค. ชายคนหนึ่งในเมืองซองนัม ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโซล ขับรถพุ่งชนคนเดินถนน บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินแห่งหนึ่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน ก่อนลงจากรถแล้ววิ่งเข้าไปในห้างสรรพสินค้า และก่อเหตุไล่แทงประชาชน 9 คน หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาซึ่งหลักฐานเผยให้เห็นว่า เหตุอุกอาจครั้งนี้อาจเป็นการเลียนแบบชายคนก่อนหน้า   KOREA NOW   ในเกาหลีใต้ “มุดจีมา” ซึ่งมีความหมายว่า “อย่าถาม” สื่อถึงการกระทำความรุนแรงที่ไม่สามารถอธิบายได้ต่อคนแปลกหน้า โดยผู้ก่อเหตุไม่มีความเชื่อมโยงส่วนตัวกับเหยื่อ หรือแรงจูงใจที่ชัดเจน   ชาวเกาหลีใต้เรียกอาชญากรรมเหล่านี้ว่า มุดจีมา (Mudjima)…