เด็กๆ ชายแดนใต้ “ชูหนึ่งนิ้ว” ภัยความมั่นคง?

Loading

    มุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับ “อัตลักษณ์มลายู” ระหว่างพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับฝ่ายความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นปัญหามาโดยตลอด   และกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ” จนบานปลายเป็นชนวนของความขัดแย้งแตกแยกในดินแดนปลายด้ามขวาน ทั้งยังเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของ “ไฟใต้” ที่คุกโชนมานานกว่า 100 ปี โดยเฉพาะใน 2 ทศวรรษมานี้ที่เต็มไปด้วยเหตุรุนแรงรายวัน   “อัตลักษณ์มลายู” ที่ชาวบ้าน ประชาชนคนในพื้นที่มองเป็นเรื่องปกติ ก็เช่น การแต่งกายแบบมลายู, ภาษา ซึ่งคนพื้นที่ใช้ “ภาษามลายูถิ่น” ในการสื่อสาร ตลอดจนประเพณีต่างๆ อย่างการสร้างประตูเมือง และการทำสัญลักษณ์มือ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ   เรื่องแบบนี้คนในพื้นที่มองว่า “ปกติ” แต่คนต่างถิ่น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐอาจมองเป็น “ภัยความมั่นคง” หรือมีความพยายามปลุกกระแส “แบ่งแยกดินแดน” ได้เหมือนกัน นี่คือมุมมองที่แตกต่าง จนกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ”   อย่างล่าสุด มีรายงานแจ้งเตือนของ “หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่” โดยอ้างอิงถึงกิจกรรมขบวนพาเหรดการแข่งขันกีฬาสีของ “ตาดีกา” แห่งหนึ่งใน อ.จะแนะ จ.นราธิวาส  …

พรรคร่วมรัฐบาลฝ่ายขวาจัดส่งเสริมพลเมืองอิสราเอลครอบครองอาวุธปืนมากขึ้น

Loading

    ชีมอน มิซราฮี ชี้จากระเบียงอะพาร์ตเมนต์ให้ทีมข่าวบีบีซีดูโบสถ์ยิวที่อยู่อีกฟากของถนนใหญ่สองเลน ซึ่งเป็นจุดที่มือปืนชาวปาเลสไตน์สังหารลูกชายและลูกสะใภ้ของเขา   ชายวัยเกษียณผู้นี้อาศัยอยู่ในย่านเนเว ยาคอฟ นิคมชาวยิวในเขตที่อิสราเอลยึดครอง ทางตะวันออกของนครเยรูซาเล็ม ซึ่งถือเป็นการตั้งถิ่นฐานที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน ซึ่งรวมถึง เอลี และนาตาลี มิซราฮี ลูกชายและลูกสะใภ้ของนายมิซราฮี   “ชายคนนั้น (มือปืน) ยืนอยู่ตรงทางแยก แล้วเปิดฉากยิงไปทุกทิศทาง เป็นไปได้ว่าลูกชายผมอยู่ตรงนั้นพอดี” นายมิซราฮี เล่า   “ยาก ยากเหลือเกิน เหมือนผมไม่ได้อยู่ในโลกแห่งความจริง ผมไม่มีกลางวันกลางคืน ผมกินไม่ได้ ผมไม่รู้สึกอะไรเลย”     เหตุกราดยิงดังกล่าวถือเป็นเหตุนองเลือดที่สุดในรอบหลายปีของอิสราเอล และยิ่งทำให้ชาวอิสราเอลมองว่ารัฐบาลไม่ช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้พวกเขา   “ผมโทษนายกรัฐมนตรี (เบนจามิน เนทันยาฮู) เขามีหน้าที่รับผิดชอบกองทัพ และความมั่นคง”   “ผมโทษพวกเขา” นายมิซราฮี กล่าว   นายมิซราฮีและครอบครัว…

การโจมตีทางไซเบอร์ที่ป้องกันได้ยากยิ่ง คือการโจมตีที่จุดอ่อนของมนุษย์

Loading

    หากเปรียบการต่อสู้กับภัยไซเบอร์เหมือนกับสงคราม ก็นับว่าเป็นสงครามที่ไม่สมมาตร (Asymmetric Warfare) กล่าวคือทางฝั่งเราขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลน งบประมาณ และไม่มีเวลาเพียงพอในการรับมือกับภัยไซเบอร์   เพราะเราต้องใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ไปในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักก่อน ในขณะที่ฝั่งแฮ็กเกอร์มีอุปกรณ์ เครื่องมือ และมีบุคลากรที่มีเวลาอย่างเหลือเฟือเพื่อดำเนินการพุ่งเป้าโจมตีและเจาะระบบของเราเป็นหลัก   ดังนั้น ฝั่งเราจะต้องสมบูรณ์แบบ พลาดไม่ได้แม้แต่ก้าวเดียว ส่วนฝั่งแฮ็กเกอร์ก็ทดลองหาช่องโจมตีเจาะระบบเราไปได้เรื่อย ๆ ขอเพียงสักหนึ่งครั้งที่ทำสำเร็จ สามารถหลุดเข้ามาในระบบเราได้ก็พอ แฮ็กเกอร์ก็จะสามารถสร้างความเสียหายให้กับเราได้   นอกจากนี้ สงครามไซเบอร์ก็เหมือนสงครามทั่วไปที่มีการใช้กลลวง (Deception) รวมถึงยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งตกหลุมพลางที่ดักล่อไว้   น่าหนักใจที่กลลวงส่วนใหญ่จะเป็นทางฝั่งแฮ็กเกอร์เป็นผู้ใช้ และจุดอ่อนทีสุดก็คือพนักงานของเรานั่นเองที่จะเป็นฝ่ายตกหลุมพลางไปซะก่อน   เทคนิคสำคัญที่แฮ็กเกอร์ใช้โจมตีจุดอ่อนของมนุษย์คือ social engineering (ขอทับศัพท์ไปก่อน ไม่อยากใช้คำแปลว่า “วิศวกรรรมสังคม”)   จากสถิติบอกไว้ว่าประมาณ 82% ของปัญหาการรั่วไหลของข้อมูล* เกิดจากจุดเริ่มที่พนักงานขององค์กร และในแต่ละวันจะมี phishing email ถูกส่งออกมาไม่ต่ำกว่า 3.4 พันล้านครั้ง  …

“ดร.ปริญญา”เปิดใจหลังเป็น 1 ใน 55 ล้านข้อมูลส่วนตัวถูกแฮ็ก แนะทุกฝ่ายถอดบทเรียนจากเหตุการณ์นี้

Loading

  “ปริญญา” หนึ่งในคนมีชื่อเสียงถูกแฮ็กข้อมูล แนะถอดบทเรียน ข้อมูลรั่ว เป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ สังคมควรตื่นตัว เร่งหาที่ทางป้องกัน เผยหลังข้อมูลรั่วโดนโจมตีแล้ว 2 พันข้อความ ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยความรู้สึกที่เป็นหนึ่งในผู้ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลนำไปเสนอขายผ่านเว็บไซต์  และยังถูกกล่าวอ้างว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ต้องขอบคุณ Hacker ที่ให้เกียรติผมเป็นคนแรก ตามมาด้วยสื่อมวลชนที่มีชื่อเสียงทำให้ผมไม่เหงา เชื่อว่าคนที่โดนโจมตีไม่ได้ภาคภูมิใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้คนจำนวนมากรู้สึกตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล   การถูกคนโจมตีข้อมูลส่วนบุคคลทำให้คนมองว่าเราอ่อนมากทำไมถึงยังโดนโจมตีได้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งจากลูกค้า จากพนักงานและผู้คนต่างๆ หลายคนโทรมาบอกว่าผมโดน Hack แล้ว ความจริงผมยังไม่ได้โดน Hack ตรวจสอบแล้วข้อมูลส่วนตัวของผม และข้อมูลที่ละเอียดอ่อนยังคงอยู่ปกติ   “โอกาสที่จะมีข้อมูลรั่วไหลเกิดขึ้นกับทุกคนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ทุกคนมีโอกาสถูก Hack แล้วข้อมูลรั่วได้เท่าๆกัน  เวลานี้อาจจะมีข้อมูลของทุกๆท่านรั่วอยู่แต่เราไม่รู้เพราะผู้ที่กระทำไม่ได้เอามาเปิดเผย การเป็นบุคคลสาธารณะโอกาสที่ฉันมีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลมีคอมเม้นต์ไม่ได้ ถ้าคุณเผชิญกับการมีข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหลไป ขอให้ตั้งสติ ไม่ต้องไปคิดว่าข้อมูลหลุดไปได้ยังไง แต่คุณรีบคิดว่าเราจะทำอย่างไรที่จะรับมือได้  มีใครนำข้อมูลเราไปใช้ประโยชน์หรือเปล่า”   หลายคนถามว่าทำไมอาจารย์ปริญญาถึงเจอกับปัญหาข้อมูลรั่ว ความจริงแล้วข้อมูลรั่วไม่ได้เกิดขึ้นที่ตัวเรา แต่เกิดขึ้นกับคนที่เราเคยให้ข้อมูลไว้ แล้วเขาทำข้อมูลรั่วไหลออกไป เรื่องที่เกิดขึ้นเริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัส (31 มี.ค.)…

ต้องทำอย่างไร? เมื่อรู้ว่าข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น!!

Loading

  กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาทันที หลังแฮ็กเกอร์ ผู้ใช้งานบัญชี “9near” ได้โพสต์ขายข้อมูลที่อ้างว่า เป็นข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายการ   กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาทันที หลัง แฮ็กเกอร์ ผู้ใช้งานบัญชี “9near” ได้โพสต์ขายข้อมูลที่อ้างว่า เป็นข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายการ บนเว็บไซต์ Bleach Forums โดยอ้างว่า ได้มาจากหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในไทย (Somewhere in government)   พร้อมโพสต์ตัวอย่างไฟล์ ซึ่งมี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ และเลขประจําตัวประชาชน รวมทั้งมีการโพสต์ ลักษณะข่มขู่หน่วยงานและประชาชนในวงกว้าง   ขณะที่ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ก็ตกเป็นเหยื่อ ได้รับ SMS แจ้งข้อมูลส่วนตัวได้ถูกต้อง ได้ออกมาโพสต์เรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊ก   ร้อนถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) นำโดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส ต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง…

ชี้อนาคตประเทศไทย กับมาตรฐาน AI ปี 66 ที่จะเปลี่ยนชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น

Loading

  ในวันที่ใคร ๆ ก็พูดถึง AI ว่าเริ่มทำอะไรได้หลายอย่าง แล้วจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การส่งเสริม ดูแล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบกับมนุษย์   ก่อนที่จะไปพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ เราลองมาทบทวนกันสั้น ๆ ว่า มาตรฐานเกี่ยวข้องอะไรกับเรา ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดมากคือเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศ แล้วเรามีมือถือ มีกล้อง มีคอมพิวเตอร์ มี electronic gadget สารพัดอย่างที่ต้องการชาร์จไฟ ดังนั้น สิ่งที่เราพกติดตัวยามเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองเสมอก็คือ universal adapter ที่จะช่วยให้เราสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับเหล่าอุปกรณ์​ gadget ของเราได้ ถ้าเราสังเกตกันดี ๆ เราจะพบว่าแต่ละประเทศ หรือทวีป ก็มีรูปแบบของมาตรฐานปลั๊กไฟที่แตกต่างกัน     ตัวอย่างของมาตรฐานปลั๊กไฟฟ้าของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน   โดยแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานในการกำหนด เลือกใช้ หรือพัฒนามาตรฐานที่ระบุรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศของตนเองอยู่ หน่วยงานเหล่านี้นี่เองที่ทำหน้าที่ประกาศว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศนั้น ๆ ได้ จะต้องมีคุณลักษณะ คุณภาพในเชิงเทคนิคเป็นอะไร อย่างไร…