อาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ พุ่งเป็นประวัติการณ์

Loading

สถิติของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crime) ในสหรัฐฯ พุ่งสูงอย่างรวดเร็วในปี 2021 จนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 11,000 ครั้ง ตามข้อมูลจากส่วนเสริมของรายงานประจำปีของสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI)   รายงานดังกล่าวระบุว่า คดีที่จัดให้อยู่ในกลุ่ม hate crime ในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 31% หรือจาก 8,263 ครั้งเป็น 10,840 ครั้ง   ก่อนหน้านี้ที่ออกมาเมื่อเดือนธันวาคม FBI รายงานว่า เกิดอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชังทั่วสหรัฐฯ ทั้งหมด 7,262 ครั้งในปี 2021 โดยอ้างอิงข้อมูลแบบไม่สมบูรณ์ครบถ้วนเนื่องจากหน่วยงานด้านรักษา กฎหมายราว 4,000 แห่งไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบของ FBI ได้ จนสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ ต้องยอมรับตัวเลขผ่านระบบเก่าจากหน่วยงานประมาณ 3,000 แห่งเพื่อให้ได้ภาพอันสมบูรณ์   ไบรอัน เลวิน ผู้อำนวยการ Center for the Study of Hate and…

แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ แอป ThaiD เปลี่ยนชื่อมาจากแอป D.DOPA

Loading

    แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ หน่วยงานภาครัฐประกาศยกระดับการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกการให้บริการภาครัฐเพื่อประชาชน โดยในเช้าวันนี้ 14 มีนาคม 2566 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะ นำเสนอนิทรรศการผลการพัฒนาระบบรับรองการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ThaID” หรือ “ไทยดี”   พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องรัฐบาลดิจิทัล โดยกระทรวงมหาดไทยคิดแพลตฟอร์มไทยดี (ThaID) เป็นการแสดงตัวตนออกมา เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่สามารถนำไปใช้ในการลงทะเบียน การแสดงตัวตนในสนามบินรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ แทนการใช้บัตรประชาชนและเอกสารทะเบียนบ้าน     การที่มหาดไทยได้พัฒนาการแสดงตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัลนั้นสร้างประโยชน์อย่างมากในยุคสมัยนี้ เพราะการแสวงหาประโยชน์ การทุจริต…

ส่องอันดับ 10 ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านอวกาศมากที่สุด

Loading

    ส่องงบอวกาศจาก 10 ประเทศ รัฐบาลของแต่ละประเทศใช้งบประมาณต่อปีเท่าไหร่ในการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการสำรวจอวกาศ   ในปี 2022 จำนวนเงินที่รัฐบาลจากทั่วโลกใช้จ่ายไปกับโครงการอวกาศสูงถึง 103 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดย 10 อันดับ ประเทศที่ใช้งบประมาณสำหรับพัฒนาโครงการด้านอวกาศมีดังนี้     1. ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณไป 61.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การนาซา (NASA)   2. ประเทศจีนใช้งบประมาณไป 11.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CNSA)   3. ประเทศญี่ปุ่นใช้งบประมาณไป 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสน 7…

แรนซัมแวร์ ‘HardBit’ แฮ็กข้อมูลประกันเรียกเงินค่าไถ่

Loading

    วันนี้ผมขอพูดถึงแรนซัมแวร์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า HardBit ซึ่งตอนนี้ได้รับการพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 2.0 และเวอร์ชันนี้เองที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ใช้โน้มน้าวเหยื่อให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันทั้งหมด   เพื่อให้แฮ็กเกอร์สามารถจัดการกับข้อมูลและการกำหนดเงินค่าไถ่เพื่อช่วยให้บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของแฮ็กเกอร์   HardBit Ransomware เวอร์ชันแรกมีการเปิดตัวช่วงเดือนต.ค. 2565 ขณะที่เวอร์ชัน 2.0 ออกตามมาโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยหลักการทำงานของ HardBit Ransomware จะมีความแตกต่างการแรนซัมแวร์ส่วนใหญ่ตรงที่จะไม่ใช่ฟีเจอร์ที่ทำให้ข้อมูลในไซต์รั่วไหล   ถึงแม้ว่าแฮ็กเกอร์จะขโมยข้อมูลของเหยื่อและขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการจ่ายเงินค่าไถ่ก็ตาม นอกจากนี้ HardBit 2.0 ยังสามารถปรับเปลี่ยนการลงทะเบียนเพื่อปิดใช้งานการตรวจสอบพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ของ Windows Defender กระบวนการในการสแกน และการป้องกันการเข้าถึงไฟล์ เป็นต้น   มัลแวร์ยังมีการกำหนดเป้าหมายทั้งหมด 86 กระบวนการที่จะทำให้ไฟล์ที่มีความละเอียดอ่อนนั้นมีความพร้อมและสามารถรองรับการเข้ารหัส โดยการเพิ่มโฟลเดอร์ “Startup” และลบสำเนา Volume Shadow เพื่อทำให้การกู้คืนข้อมูลยากขึ้น   โดยองค์ประกอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารหัสคือ แทนที่จะเขียนข้อมูลที่เข้ารหัสเพื่อคัดลอกไฟล์และลบต้นฉบับเหมือนที่แรนซัมแวร์ตัวอื่นๆ แต่ HardBit 2.0 เลือกที่จะเปิดไฟล์และเขียนทับเนื้อหาด้วยข้อมูลที่เข้ารหัส วิธีการนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญกู้คืนไฟล์ต้นฉบับได้ยากมากขึ้น และทำให้การเข้ารหัสเร็วขึ้น   HardBit…

ยอดภัยคุกคามทางเว็บไม่แผ่ว! พบในไทยกว่า 17.5 ล้านรายการ แนะคนไทยระวัง!

Loading

    แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัสเซีย เปิดรายงานล่าสุด ความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปี สำหรับประเทศไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บต่างๆ จำนวนเกือบ 17.3 ล้านรายการที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย!!!   Key Points :   –  ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 17,295,702 รายการในไทย – ผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 29.1% ถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางออนไลน์ ทำให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 109 ของโลก – เปิด 10 เคล็ดลับเลี่ยงถูกหลอกลวงทางออนไลน์   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 17,295,702 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network หรือ KSN ในประเทศไทย ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าปีที่แล้ว 0.46% (17,216,656 รายการ) คิดเป็นผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 29.1% ที่จะถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางออนไลน์ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 109 ของโลก  …

จากเรื่องเทคโนโลยีใหม่เอื้อให้เข้าสหรัฐสะดวก

Loading

  สหรัฐเข้ายากสำหรับคนไทย เริ่มจากกระบวนการอันยาวนานของการขอวีซ่า จนกระทั่งตอนสุดท้ายเมื่อเดินทางไปถึง ซึ่งมักจะต้องต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอรับการตรวจหนังสือเดินทางและวีซ่า ตามด้วยการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากร   ผมเดินทางเข้าสหรัฐนับร้อยครั้งหลังไปอาศัยอยู่ที่นั่นกว่า 50 ปี กระบวนการดังกล่าวนี้แทบไม่เปลี่ยน เนื่องจากผมยังถือหนังสือเดินทางไทยแม้หลังเป็นผู้สูงวัยจะได้รับ “ใบเขียว” หรือวีซ่าถาวรแล้วก็ตาม จนกระทั่งเมื่อผมมาเมืองไทยครั้งล่าสุดและเพิ่งเดินทางกลับไปสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มี.ค.   การเดินทางเข้าสหรัฐครั้งนี้ผมจำใจต้องไปเข้าที่เมืองแอตแลนตา ทั้งที่พยายามเลี่ยงที่นั่นเนื่องจากท่าอากาศยานมีขนาดใหญ่และสายการบินใช้บริการมากไม่ต่างกับท่าอากาศยานของมหานครนิวยอร์ก ทั้งนี้เพราะสายการบินทำผิดพลาดส่งผลให้ผมหมดโอกาสเลือก   ผมแปลกใจเมื่อไปถึงเนื่องจากแถวที่รอตรวจหนังสือเดินทางไม่ยาวตามคาด ทั้งที่เป็นช่วงก่อนเที่ยงวัน ซึ่งสายการบินเข้ามากและมีเจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือเดินทางนั่งทำงานอยู่เพียง 3 คน ยิ่งกว่านั้น ผมนำกระเป๋าสัมภาระเดินผ่านด่านศุลกากรได้โดยไม่มีการตรวจตรา   ในความสะดวกเกินคาดนั้น ผมสังเกตเห็นความแตกต่าง 2 ด้านระหว่างครั้งนี้และครั้งที่แล้วๆ มา ซึ่งล่าสุดผมมาเมืองไทยเมื่อปีที่แล้วและกลับสหรัฐในเดือน มิ.ย. นั่นคือการใช้กล้องมองหน้าผู้เดินทางในระหว่างตรวจหนังสือเดินทาง   เจ้าหน้าที่ให้ผมมองกล้องโดยไม่ต้องเปิดหนังสือเดินทางให้ดูแล้วถามผมความว่า “ไสวใช่ไหม?” หลังผมตอบว่าใช่ เขาถามต่อว่า “เอาใบเขียวมาด้วยใช่ไหม?” ผมตอบว่าใช่ พร้อมกับจะแสดงให้เขาดู   เขาบอกผมว่า “คุณไปได้” ผมสังเกตว่า คนข้างหน้าผม นานๆ จึงจะถูกเขาถามมากกว่านั้น หรือให้แสดงเอกสารเดินทาง แต่ละคนน่าจะใช้เวลาเฉลี่ยราว…