บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ ใช้งานง่าย แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงเงินหายออกจากบัญชีได้ถ้าไม่ระวัง

Loading

  ไม่นานมานี้ มีการเปิดเผยถึงข้อมูลของการโจมตีด้วยมัลแวร์ Prilex ที่มุ่งจู่โจมไปที่การจ่ายเงินผ่าน บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ โดยมีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลทางการเงินของบัตรเครดิต และนำไปสร้างบัตรเครดิตปลอม (cloning) ที่สามารถใช้งานได้จริง   บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ (Tap-to-pay Contactless Credit Card) ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจก่อนว่าอะไรคือรูปแบบการชำระเงินด้วย บัตรเครดิตแบบ ‘แตะเพื่อจ่าย’ และมีที่มาอย่างไร   การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการรณรงค์ลดการสัมผัสเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ นำมาสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ทำให้การจ่ายเงินแบบ สแกน QR code พร้อมเพย์ และบัตรเครดิต กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก   การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตแบบแตะเพื่อจ่าย เป็นอีกช่องทางที่ได้รับความนิยมเนื่องจากความสะดวกในการใช้งาน ที่เพียงนำบัตรเครดิตของลูกค้าไปแตะบนเครื่องตัดบัตร ยอดเงินก็จะถูกตัดไปชำระค่าบริการทันที   เครื่องตัดบัตรที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากัน ล้วนมีการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารระยะสั้น (Near Field Communication – NFC) ที่ทำงานโดยใช้คลื่นวิทยุไร้สายในการสื่อสารกับวัตถุที่อยู่ใกล้กัน เพื่อทำการรับ-ส่ง ข้อมูลซึ่งกันและกัน  …

ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI

Loading

    ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI   AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามาก ๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ…แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?   ซึ่งเรื่องนี้ก็มีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า มีศิลปิน 3 คนรวมตัวกันยื่นฟ้อง Midjourney และ Stable Diffusion เอไอวาดรูปที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ข้อหาละเมิดสิทธิ์ของ “ศิลปินหลายล้านคน” ด้วยการเอารูปของพวกเขาไปเทรน AI แต่คดียังไม่จบนะคะ   1/ As I learned more about how the…

ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง! คนร้ายอาจใช้หลอกโอนเงินได้

Loading

ภาพ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง เพื่อหลอกโอนเงิน เนื่องด้วยมีเทคโนโลยีที่ทำให้เปลี่ยนเสียงตัวเราเองเป็นเสียงคนอื่นหรือคนที่มีชื่อเสียง นำมาใช้ในการโทรผ่านโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเพื่อหลอกโอนเงิน ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ฝากเตือนพร้อมวิธีป้องกันดังนี้   วิธีเช็ก AI SCAM CALLS ก่อนโดนหลอก –  ปลายสายเสียงเหมือนคนรู้จัก แต่ใช้เบอร์แปลกโทรมา หรืออ้างว่าเปิดเบอร์ใหม่ –  พูดเรื่องประเด็นเงิน ๆ ทอง ๆ มาก่อนเรื่องอื่น หลอกยืมเงิน –  สอบถาม ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกให้แน่ใจก่อน อาทิเช่น ทำงานที่ไหน เกิดวันอะไร เป็นต้น   แนวทางการป้องกัน โปรดสงสัยไว้ก่อนเมื่อรับสายเบอร์แปลก ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนโอนเงินและไม่เผยแพร่คลิปวีดีโอหรือเสียงสู่สาธารณะโดยไม่จำเป็น หรือแชร์ให้เฉพาะเพื่อนหรือครอบครัวอนุญาต   ลักษณะการปลอมเสียงเป็นอย่างไร สามารถชมได้ที่วิดีโอด้านล่าง   อ้างอิง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …

มิล้าสมัยแม้จะห้ามใช้โทรศัพท์

Loading

  โทรศัพท์อัจฉริยะ เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน ถึงขั้นขาดไม่ได้จนกลายเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 แล้ว   แต่รัฐบาลและโรงเรียนเนเธอร์แลนด์เพิ่งประกาศว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปโรงเรียนจะห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน ยกเว้นสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจำพวกด้านสุขภาพและในวิชาที่เกี่ยวกับการเพิ่มทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล โรงเรียนแต่ละแห่งจะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามแนวที่ตนเห็นว่าเหมาะสม   นโยบายใหม่นี้ยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับ หลังจากเวลาผ่านไป 1 ปีจึงจะมีการประเมินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปรวมทั้งการจะตรากฎหมายใหม่ออกมาบังคับใช้หรือไม่ด้วย เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศยุโรปล่าสุดที่ประกาศนโยบายแนวนี้หลังจากฟินแลนด์ทำล่วงหน้าไป 1 สัปดาห์ มีรายงานว่าอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังพิจารณาว่าจะทำเช่นนั้นด้วยหรือไม่   ประเทศต่าง ๆ อ้างผลการวิจัยที่สรุปว่า การอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเรียนขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ เพราะมันทำลายสมาธิของนักเรียน ข้อสรุปนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์มานานก่อนการวิจัยแล้ว   โรงเรียนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา จึงห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน ตั้งแต่ครั้งโทรศัพท์จำพวกนี้เริ่มมีใช้อย่างแพร่หลาย ก่อนที่จะกลายมาเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะ   รัฐบาลกลางอเมริกันไม่มีคำสั่ง หรือนโยบายจากส่วนกลางว่าโรงเรียนจะต้องทำอย่างไร เนื่องจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นงานของรัฐบาลท้องถิ่น   ในปัจจุบัน โรงเรียนอเมริกันใช้แนวปฏิบัติต่อการใช้โทรศัพท์ในโรงเรียนต่างกันโดยส่วนใหญ่ห้ามใช้ อย่างไรก็ตาม ความเข้มงวดของการห้ามมีความแตกต่างกัน เช่น ในย่านนอกกรุงวอชิงตันอันเป็นเมืองหลวง บางโรงเรียนเข้มงวดมากถึงกับยึดโทรศัพท์และกักตัวนักเรียนผู้ละเมิดข้อห้าม   แม้เด็กจะทำผิดครั้งแรกก็ตาม จนกว่าผู้ปกครองจะไปลงชื่อรับรู้ความผิดของเด็กและรับเด็กกลับบ้านด้วยตัวเอง ตัวอย่างนี้น่าจะชี้ว่า นักเรียนอเมริกันมิได้มีอิสระสารพัดที่จะทำอะไรก็ได้ดังชาวไทยมักเข้าใจกัน การบังคับใช้ข้อห้ามต่าง ๆ เขาทำกันอย่างเข้มงวด   สำหรับประเทศในยุโรป เช่น…

สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…

ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…