วิวัฒนาการของเทคนิค การเตือนภัยแผ่นดินไหว

Loading

    แต่ไหนแต่ไร เวลาเกิดเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” ผู้คนมักจะแตกตื่นกลัว เพราะคิดว่าโลกกำลังจะแตก ปฐพีจะถล่มทลาย และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความหายนะ คือ พฤติกรรมชั่วของมนุษย์ ที่ได้ทำให้เทพเจ้าทรงพิโรธ พระองค์จึงทรงบันดาลให้พื้นดินสั่นไหวอย่างรุนแรง จนอาคารบ้านเรือนพังพินาศ และผู้คนจำนวนมาก (อาจจะนับแสน) ต้องเสียชีวิต ตลอดจนถึงสภาพแวดล้อมก็จะถูกทำลายจนเสียหาย ซึ่งการสูญเสียที่มากจนประมาณค่ามิได้นี้ เป็นบทเรียนให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนการดำรงวิถีชีวิต และภัยหายนะนี้ มีส่วนผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีป้องกันภัย และหาวิธีทำนายภัยล่วงหน้าเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้รู้ชัดว่า แผ่นดินไหวจะเกิด ณ ที่ใด ณ เวลาใด และจะรุนแรงเพียงใดด้วย ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้รู้ว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับอวกาศนอกโลกดียิ่งกว่าความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับเหตุการณ์ใต้โลกเสียอีก     อันที่จริงโลกมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน แต่การสั่นสะเทือนในบางครั้งก็น้อยมาก จนไม่มีใครรู้สึก และบางครั้งแผ่นดินก็สั่นไหวในบริเวณที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่มีใครเห็นหรือสัมผัสเหตุการณ์ แต่นักประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้แทบทุกครั้ง เช่น ที่เมือง Alexandria ในอียิปต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 ซึ่งในครั้งนั้นจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล Mediterranean ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดมโหฬารจนชาวเมืองคิดไปว่า น้ำกำลังจะท่วมโลกเป็นครั้งที่สอง…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

ความปลอดภัยมีความสำคัญสูงสุด ในเวลาที่องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลต่อเนื่อง

Loading

  ผลสำรวจ Global Customer Tech Outlook 2023 จากเร้ดแฮท เผยว่าความปลอดภัยมีความสำคัญสูงสุดในเวลาที่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง   Global Tech Outlook 2023 ผลสำรวจครั้งที่ 9 ของเร้ดแฮท และเช่นเดียวกับหลายปีที่ผ่านมา เร้ดแฮทสำรวจข้อมูลว่าองค์กรต่างๆ อยู่ ณ จุดใดในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน การจัดลำดับความสำคัญของเงินลงทุนด้านไอทีและด้านที่ไม่เกี่ยวกับไอที และความท้าทายต่างๆ ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ โดยทำการสำรวจผู้นำด้านไอทีมากกว่า 1,700 รายทั่วโลกจากอุตสาหกรรมหลากหลาย เพื่อช่วยให้เข้าใจแง่มุมใหม่ๆ ด้านการใช้เทคโนโลยีและติดตามแนวโน้มต่างๆ ได้ดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นแนวโน้มและข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากรายงานฉบับนี้ และผลสำรวจเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป   ไม่แปลกใจ : ความปลอดภัยยังคงมีความสำคัญเป็นลำดับแรก   ความปลอดภัยยังคงเป็นความสำคัญสูงสุดของการจัดสรรงบประมาณด้านไอทีของทุกภูมิภาค และเกือบทุกอุตสาหกรรม ผู้ตอบแบบสอบถาม 44% ยกให้ความปลอดภัยเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสูงกว่าด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ซึ่งสำคัญเป็นลำดับ 2 โดยแบ่งความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยออกเป็นความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก (40%) ความปลอดภัยของคลาวด์ (38%) เป็น…

ทั้งสอดแนม ทั้งแฮ็ก ทั้งขโมยข้อมูล สารพัดวิธีที่จีนล้วงความลับจากสหรัฐฯ

Loading

    หลายประเทศต่างก็สอดแนมกันและกันเป็นปกติ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นพันธมิตรกัน เช่น อังกฤษเคยสอดแนมเยอรมนีจากสถานทูตในกรุงเบอร์ลิน   บอลลูนที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบอลลูนสอดแนมจากจีนที่ลอยเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งยังสร้างความหวั่นเกรงต่อวิธีการล้วงข้อมูลประเทศคู่แข่งของจีน   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอพูดไว้เมื่อปี 2020 ว่า การสอดแนมของจีนเป็น “ภัยคุกคามระยะยาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเรา และต่อความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของเรา”   กระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุในแถลงการณ์ถึงสำนักข่าว AFP ว่า จีน “ต่อต้านอย่างเด็ดเดี่ยว” ต่อปฏิบัติการสอดแนม และข้อกล่าวหาของอเมริกา “มีพื้นฐานมาจากข้อมูลเท็จและเป้าหมายทางการเมืองที่เลวร้าย”   สหรัฐฯ เองก็มีวิธีสอดแนมจีนของตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคการสอดแนมและสกัดกั้น หรือเครือข่ายผู้ให้ข้อมูล   อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เผยเมื่อปี 2015 ว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน รับปากว่าจะไม่สอดแนมเกี่ยวกับการค้า ทว่า แถลงการณ์ของสหรัฐฯ หลังจากนั้นบ่งชี้ว่า จีนยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าว   และนี่คือวิธีการที่จีนใช้สอดแนมสหรัฐฯ   สงครามไซเบอร์   สหรัฐฯ เตือนไว้ในรายงานประจำปีว่าด้วยการประเมินข่าวกรองปี 2022 ว่า…