คู่มือเรียนรู้เท่าทัน ผ่านฟรีคอร์สออนไลน์ FCDA101 ฉบับเร่งรัด ประโยชน์อัดแน่น!

Loading

  FCDA101 คืออะไร? หลักสูตร FCDA101 หรือ Fact Check Detective Academy 101 คือการเรียนการสอบแบบ Video Interactive ที่ผู้เรียนสามารถร่วมตอบคำถามไปกับบทเรียนได้ สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การรับมือภัยไซเบอร์และการรู้เท่าทันสื่อ โดยผู้เรียนทุกคนจะต้องสวมบทบาทเป็นนักสืบเพื่อไขสืบคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ในแต่ละบทเรียน ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.SUREcology.com ของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท   ขั้นตอนการใช้เว็บไซต์ วันนี้เราจะมาแนะนำคู่มือการใช้เว็บไซต์ www.SUREcology.com พร้อมหลักสูตร FCDA101 สำหรับนักสืบมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้และไขคดีไปพร้อมกับเรา   1. สมัครบัญชีผู้ใช้ ผู้ที่จะเข้าใช้เว็บไซต์ต้องมีบัญชีเป็นของตนเอง โดยสามารถใช้อีเมลในการสมัครและตั้งรหัสผ่านด้วยตนเอง พร้อมกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อใช้ในการรับประกาศนียบัตรและของรางวัล ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้   1.1 กดเข้าสู่ศูนย์บัญชาการ FCDA101     1.2 สำหรับผู้ที่เข้าใช้เป็นครั้งแรกให้กดสมัครเป็นสมาชิก แต่สำหรับผู้ที่มีบัญชีอยู่แล้วสามารถกรอกอีเมลและรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้ได้เลย     1.3 อ่านและกดยอมรับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   1.4 กรอกรายละเอียดและข้อมูลส่วนตัวของตนเองเพื่อสร้างบัญชี  …

“FCDA101” ห้องเรียนสืบจากคดี รู้เท่าทันภัยไซเบอร์

Loading

  ในโลกที่ข่าวปลอมข้อมูลเท็จระบาด ภัยร้ายแฝงตัวเข้ามาในโลกไซเบอร์ สถาบันแห่งหนึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างสุดยอด ‘นักสืบ’ กลุ่มคนที่จะสามารถต่อกรและปกป้องผู้คนจากภัยเหล่านั้นได้ สถาบันที่ว่าคือ “โรงเรียนนักสืบ FCDA” (Fact Check Detective Academy)   ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะนี่เป็นเพียงสถานการณ์สมมติที่ถูกสร้างขึ้นในหลักสูตร FCDA101 เท่านั้น แต่ภัยร้ายบนโลกไซเบอร์กลับมีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราจริง ๆ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์จึงจัดทำหลักสูตรส่งเสริมความรู้เท่าทัน FCDA101 ขึ้นมา จะน่าสนใจขนาดไหน วันนี้เราจะพาไปดูพร้อมกันค่ะ   FCDA101 คืออะไร? FCDA ย่อมาจาก Fact Check Detective Academy ซึ่งเป็นชื่อของ “องค์กรลับ” ที่ทำหน้าที่ฝึกฝนนักสืบให้ออกไปต่อกรรับมือกับข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ส่วน 101 คือ สัญลักษณ์ของการเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานเริ่มต้นสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อรวมกัน FCDA101 จะหมายถึง คอร์สการเรียนรู้เท่าทันผ่านออนไลน์ InnovActive Learning ที่ผู้เรียนสามารถร่วมตอบคำถามไปกับบทเรียนได้ สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การรับมือภัยไซเบอร์และการรู้เท่าทันสื่อ   บทบาทสมมติ “ว่าที่นักสืบ” ผู้เรียนทุกคนจะต้องสวมบทบาทเป็นว่าที่นักสืบ…

‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อน ‘ความยั่งยืน’

Loading

    ‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อนความยั่งยืน องค์กรต้องปรับตัว แนะไทยเปิดกว้างต่างชาติลงทุนเทคโนโลยีในไทย ขณะที่ ‘ซุปเปอร์แนป’ หนุนธุรกิจใช้พลังงานสะอาดเพิ่ม ยกเคสดาต้าเซ็นเตอร์หลังใช้พลังงานหมุนเวียน ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 1.8 หมื่นตันต่อปี   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวภายในงาน “Innovation Summit Bangkok 2023 : Innovations for a Sustainable Thailand” จัดโดย “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” ในหัวข้อ Thailand transformation towards sustainability ว่า “ความยั่งยืน” เป็นความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบัน ถือเป็นเป้าหมายใหม่ที่มีความท้าทายจากเดิม “ดิจิทัล” คือ ตัวที่เข้ามาดิสรัปธุรกิจ แต่ปัจจุบันธุรกิจมีแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอกเพิ่มคือ เรื่องความยั่งยืน เป็นสองเรื่องที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญ   เขากล่าวว่า ความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เรื่องของกรีนเทคโนโลยี…

รู้จักหนังสือ’จ้าวจื่อหยาง’ที่รัฐบาลจีนแบนโดยไม่ต้องประกาศห้ามเผยแพร่

Loading

    คำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห้ามเผยแพร่หนังสือ “Rama X : The Thai Monarchy King Vajiralongkorn” เขียนโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ทำให้ชื่อปวินติดเทรนด์ทวิตเตอร์ นักวิชาการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง   นักวิชาการบางรายตั้งข้อสังเกตถึงวิธีปฏิบัติของรัฐบาลจีนเมื่อครั้งอดีต แบนหนังสือของ “จ้าวจื่อหยาง” โดยไม่ต้องออกคำสั่งห้ามเผยแพร่ให้เอิกเกริก   ทันทีที่มีข่าวเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 370/2566 เรื่อง ห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร “Rama X : The Thai Monarchy King Vajiralongkorn” เขียนโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน ผู้ใดฝ่าฝืนคุก 3 ปี ปรับ 60,000 บาท   นักวิชาการจำนวนหนึ่งแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ มองว่า คนที่อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นคนที่อยู่ในต่างประเทศอยู่แล้วไม่ใช่คนไทย ขณะที่อีกคนเสริมว่า คนในต่างประเทศอาจไม่นึกอยากอ่านแต่พอรู้ว่าถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศไทยก็จะตามไปซื้ออ่าน เหมือนกับหนังสือที่ถูกแบนในประเทศจีนแล้วกลายเป็นหนังสือขายดี Best…

ระเบิดลูกปราย (คลัสเตอร์บอมบ์) คืออะไร ทำไมสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งให้ยูเครน?

Loading

    สหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะจัดส่ง ‘ระเบิดลูกปราย’ (Cluster Munitions) หรือ ‘คลัสเตอร์บอมบ์’ ให้กับยูเครนตามคำขอ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน เนื่องจากคลัสเตอร์บอมบ์ถูกมองว่าเป็นอาวุธร้ายแรงที่ปัจจุบันถูกแบนในกว่า 120 ประเทศ   คลัสเตอร์บอมบ์คืออะไร อันตรายอย่างไร?   ระเบิดลูกปรายหรือคลัสเตอร์บอมบ์ เป็นระเบิดที่บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กๆ ไว้ภายในจำนวนมาก วิธีการใช้ทำได้หลายวิธี คือ สามารถทิ้งลงจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือยิงโดยปืนใหญ่จากพื้นดินสู่พื้นที่เป้าหมายก็ได้ โดยคลัสเตอร์บอมบ์จะระเบิดกลางอากาศเพื่อปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง   จากมุมมองด้านการทหาร ระเบิดลูกปรายมีประสิทธิภาพอย่างน่ากลัวเมื่อใช้โจมตีกองทหารราบที่ประจำการอยู่ในสนามเพลาะหรือหลุมที่ถูกขุดเพื่อเป็นที่มั่นในการต่อสู้ ตลอดจนที่ประจำอยู่ตามป้อมค่ายต่างๆ   อย่างไรก็ดี ความอันตรายของอาวุธชนิดนี้คือ ระเบิดลูกปรายมีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากเป้าหมายและไม่ระเบิดในอัตราที่สูง หรือ ‘Dud Rate’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระเบิดตกลงบนพื้นที่เปียกหรือนุ่ม   รายงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า ระเบิดลูกปรายที่ถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งล่าสุดนั้น มีอัตราระเบิดด้านสูงถึง 40%   นั่นหมายความว่าลูกระเบิดขนาดเล็กอาจตกค้างบนพื้นดิน และอาจระเบิดขึ้นได้ในภายหลังเมื่อถูกหยิบหรือเหยียบ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าจะผ่านไปอีกยาวนานหลายปีหรือหลายสิบปี ประชาคมระหว่างประเทศจึงพิจารณาเห็นว่า ระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมสูง   กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า…

หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…