วอยแท็ก พลทหารหมี แห่งสงครามโลกครั้งที่ 2

Loading

    วอยแท็ก (Wojtek) เจ้าหมีผู้ส่งมอบความสุขแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2  ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล่าพลทหารล้วนมีจิตใจห่อเหี่ยว และแล้วสัตว์ตัวหนึ่งก็เข้ามาในชีวิตของเหล่าทหารกองร้อยปืนใหญ่ที่ 22 แห่งทัพโปแลนด์ที่ 2 ทำให้พวกเขากลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง นั่นคือ เจ้าหมีวอยแท็ก (Wojtek)   หลังสหภาพโซเวียตถูกเยอรมนีลอบโจมตี โซเวียตจึงปล่อยนักโทษชาวโปแลนด์ออกจากค่ายแรงงานที่ไซบีเรียใน ค.ศ. 1942 เพื่อเข้าร่วมหน่วยสนับสนุนกองกำลังพันธมิตรในแอฟริกาเหนือ จัดตั้งกองทัพโปแลนด์ใหม่ในตะวันออกกลาง นั่นคือ กองร้อยปืนใหญ่ที่ 22 แห่งกองพลโปแลนด์ที่ 2   ระหว่างการเดินทางข้ามตะวันออกกลาง เหล่าทหารได้พบกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งจากจังหวัดฮามาดัน ประเทศอิหร่าน เขาได้แลกเจ้าหมีน้อยซีเรียสีน้ำตาลกับอาหารและของจิปาถะอื่น ๆ เพื่อประทังชีวิตในช่วงสงคราม เหล่าทหารจึงรับเลี้ยงหมีน้อย และตั้งชื่อให้ว่า วอยแท็ก (Wojtek) มาจากภาษาโปแลนด์ แปลว่านักรบผู้นำความสุขมาให้     กองร้อยฯ cด้วยนมข้นผสมน้ำ โดยใช้ขวดวอดก้าเก่า ๆ แทนขวดนม แต่สิ่งเจ้าหมีวอยแท็กชอบกินมากที่สุด คือแยมส้ม นอกจากนี้เจ้าหมียังชอบแอบเข้าไปในครัว เพื่อขโมยน้ำผึ้งและผลไม้   ด้วยนิสัยชอบกินเป็นชีวิตจิตใจ…

แก้เกมโจรออนไลน์! ‘ดีอี’ ฉีดยาแรงแก้กฎหมายคืนเงินเหยื่อ

Loading

    กระทรวงดีอี ออกโรงเร่งแก้กม.ปราบโจรออนไลน์ คลอดกฎหมายใหม่ โหดขึ้น 5 เท่า ฟันคนขายข้อมูล เช็กบิลแบงก์-ค่ายมือถือ ยันเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่กับประชาชน   วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึง การแก้ไขกฎหมายเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ ว่า กระทรวงดีอี ได้เสนอร่างกฎหมาย ที่แก้ไขเพิ่มเติมของ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อให้ การแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ซึ่งจะมีการเร่งรัดคืนเงินให้ผู้เสียหาย โดยเฉพาะกรณีที่มีการระงับหรืออายัดบัญชีม้าที่มีเงินในธนาคาร และการเพิ่มโทษ การซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล โดยถือว่า เป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะเพิ่มอัตราโทษจำคุกเพิ่มขึ้นจาก 1 ปี เป็น 5 ปี นอกจากนี้ ยังเพิ่มความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในความเสียหายของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงออนไลน์ หากผู้ประกอบการละเลย หรือไม่ดูแลระบบอย่างดีพอ รมวถึงและมีการการป้องกันการโอนเงินแบบผิดกฎหมายของคนร้ายโดยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลด้วย   “รองนายกฯ…

วิเคราะห์สาเหตุประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ประกาศกฎอัยการศึก!

Loading

  นักวิชาการด้านเกาหลีศึกษา วิเคราะห์สาเหตุประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก เป็นเรื่องการเมืองภายใน หลังกระแสความนิยมของพรรครัฐบาลลดลงเรื่อย ๆ   จากเหตุการณ์ ประธานธิบดี ยุน ซอกยอล ประกาศกฎอัยการศึก ไปจนถึงเหตุการณ์ชุลมุนหน้ารัฐสภาของเกาหลี ที่มีประชาชนออกมาช่วยกันต้านทหารที่ออกมาปิดรัฐสภาด้วยการกันทหาร เปิดทางให้ สส.ฝ่ายค้านเข้าสภาไปโหวตคว่ำกฎอัยการศึก ซึ่งเหตุการณ์จบภายในเวลาไม่กี่ ชม. นั้น   ล่าสุดวันนี้ 4 ธ.ค. 2567 รายการเปิดโต๊ะข่าว เลยได้พูดคุยกับ ดร.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเหตุผลของการประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าว   โดย ดร.ไพบูลย์ ระบุว่า อาจเกิดจากประธานาธิบดีมีคะแนนความนิยมลดลงเรื่อย ๆ และสส. จากรัฐบาลก็ได้รับเลือกน้อยลง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ในมือฝ่ายค้าน และทำให้ฝ่ายบริหารไม่พอใจ เพราะไม่สามารถผ่านกฎหมายหลายฉบับได้ โดยเฉพาะร่างกฎหมายงบประมาณต่างๆ จึงอาจเป็นที่มาของการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้   “ตั้งแต่ประธานาธิบดี ยุน คนปัจจุบัน เข้ารับตำแหน่งมาจนปัจจุบัน เข้ามาครึ่งวาระ ประมาณ 2 ปีครึ่งแล้วก็ปรากฎว่าคะแนนความนิยมที่ทำก็ลดลงเรื่อยๆ เห็นได้ชัดเลยคือจำนวน…

เปิดรายได้ธุรกิจผลิตอาวุธ Top 100 โลก ปี 66 บ.สหรัฐ-เอเชียโตเป็นประวัติการณ์

Loading

    Military Expenditure and Arms Production Programme เผยภาพรวมรายได้บริษัทผลิตอาวุธที่ติดอันดับ Top 100 (SIPRI) พบ บริษัทในสหรัฐและเอเชียรายได้โตเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ภูมิภาคอื่นก็เติบโตต่อเนื่อง ผลจากสงครามยังคงคุกรุ่นทั้งในตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครน   ในปี 2566 ผู้ผลิตอาวุธจำนวนมากเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรายได้ของบริษัทผลิตอาวุธ Top 100 ของโลกก็ดีดตัวขึ้นหลังจากลดลงเมื่อปี 2565   บริษัทอาวุธเกือบ 3 ใน 4 มีรายได้จากการจำหน่ายอาวุธเพิ่มขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบแบบปีต่อปี และบริษัทส่วนใหญ่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าอันดับที่ 50 จาก 100   อย่างไรก็ตาม โลเรนโซ สการัสซาโต นักวิจัยจาก Military Expenditure and Arms Production Programme ของสถาบัน Stockholm International Peace Research Institute (SIPRI)…

เรือกู้ภัย Wi-Fi นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของไทย

Loading

เรือกู้ภัย Wi-Fi นวัตกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของไทย ผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยเฉพาะ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) พร้อมได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) เรือลำนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลของผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ขาดแคลนสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในช่วงเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ส่อหมดอนาคต

Loading

  ความวุ่นวายทางการเมืองในเกาหลีใต้ยุติลงระดับหนึ่ง เมื่อกฎอัยการศึกที่ประธานาธิบดีประกาศไม่ได้ไปต่อ สภาลงมติคัดค้านและต้องเคารพตามนั้น อนาคตของประธานาธิบดียุน ซ็อกยอลจะเป็นอย่างไร ต้องจับตา   ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ส่อหมดอนาคต   การเมืองที่ผันผวนอย่างรวดเร็วของเกาหลีใต้หลังการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดียุน ซ็อกยอล แล้วต้องยกเลิกอย่างรวดเร็วเพราะสมัชชาแห่งชาติลงมติคัดค้าน ทำให้อนาคตของยุนตกอยู่ในความเสี่ยง พรรคฝ่ายค้านใหญ่เรียกร้องให้เขาลาออก แม้แต่คนในพรรคเดียวกัน ก็เรียกการกระทำของยุนว่า “น่าสลดใจ” พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ   สหภาพแรงงานเกาหลีใต้จี้ประธานาธิบดีลาออก   สหพันธ์สหภาพการค้าเกาหลี เครือสหภาพแรงงานใหญ่สุดของเกาหลีใต้ สมาชิก 1.2 ล้านคนเรียกร้อง “หยุดงานไม่มีกำหนด” จนกว่าประธานาธิบดียุน ซ็อกยอลลาออก หลังยกเลิกกฎอัยการศึกที่ประกาศใช้ได้ไม่นาน   สหพันธ์กล่าวหานายยน“ออกมาตรการไร้เหตุผลต่อต้านประชาธิปไตย” ที่ประกาศออกไปก็เป็นการ “ประกาศยุติอำนาจตัวเขาเอง”   สหรัฐโล่งอกประธานาธิบดีเกาหลีใต้ยกเลิกกฎอัยการศึก   โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐออกแถลงการณ์ “เรารู้สึกโล่งใจที่ประธานธิบดียุนยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกอันน่ากังวล และเคารพมติของสมัชชาแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลีให้ยุติมัน”   อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐในกรุงโซลเผยว่า ยกเลิกนัดหมายประจำวันในวันพุธ (4 ธ.ค.) แม้ประธานาธิบดียุนยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วก็ตาม เนื่องจาก “สถานการณ์ยังคงเลื่อนไหล”       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา…